15 ธ.ค. 2020 เวลา 08:40 • การศึกษา
ทำไมเราถึงถูกหลอกได้ง่าย?
หลายครั้งที่เวลาเราฟังเพื่อนคนสนิทเล่าเรื่องอะไรบางอย่างให้ฟัง แล้วเรารู้สึกได้ว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อนเราอาจจะไม่ได้เล่าความจริงทั้งหมดให้เราฟัง หรืออาจโกหก เติบเรื่องไปเอง เพื่อให้เล่าสนุกมากขึ้น
แต่กลับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิทคุ้นเคยด้วย คนเหล่านั้นกลับไม่เคยหลอกลวงเราเลย ?
จริงหรือเปล่าครับ?
เป็นไปได้ไหมว่าสิ่งที่คนอื่นบอกเราจะไม่ใช่ความจริง?
แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นทำไมเราถึงไม่รู้สึกว่าถูกหลอกอยู่เลยหละครับ?
Timothy R. Levine ศาสตราจารย์สาขาวิชาการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัย Alabama Birmingham ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า Truth-default theory (TDT) ซึ่งคือทฤษฎีที่ว่าด้วยการรับรู้ความจริงของคนเรา
ถึงแม้จะมีคู่มือจับโกหกตีพิมพ์ออกมามากมายแต่นั่นไม่ได้เปลี่ยนแปลงสภาวะพื้นฐานของพวกเราที่มักจะอยู่ใน truth-default state หรือก็คือการที่เรามักจะชอบคิดไปเองว่าทุกคนนั้นจริงใจและกำลังพูดความจริงกับเรา
เราไม่ได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่คนอื่นกำลังโกหกอยู่ด้วยซ้ำ
เพราะว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เห็นได้ชัดว่าการโกหกหลอกลวงกำลังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้นสมองเราจึงคิดไปเองว่าสิ่งที่เรากำลังได้ยินนั้นเป็นความจริง
การหลอกลวงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนเราจงใจทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจที่บิดเบือนไปเมื่อได้สื่อสารกัน
และถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการโกหกมักจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย(หรือเปล่า?) แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความเป็นไปได้ที่เราจะถูกหลอกกลายเป็นศูนย์ไป
การหลอกลวงจะประกอบไปด้วยข้อความที่สื่อสาร(verbal)และการแสดงออก(non-verbal) ซึ่งตรวจสอบได้ยากมาก(มีการทดลองให้คนธรรมดาและผู้ทำอาชีพที่ต้องตัดสินใจ เช่น ทนาย ผู้พิพากษา ลองดูวีดีโอแล้วให้บอกว่าคนไหนโกหกหรือพูดความจริงอยู่ ผลออกมาแทบไม่ต่างจากเดาสุ่มเลยครับ แสดงให้เห็นว่าคนเรามีความสามารถในการจับโกหกที่ห่วย) นอกจากเราจะรู้อยู่แล้วว่าคนๆนั้นกำลังโกหกอยู่ หรือก็คือตั้งแง่ไว้แต่แรก
แต่ก็ใช่ว่าการที่เราอ่อนแอต่อการรับรู้การโกหกจะเป็นข้อเสียเสมอไป
เพราะเราคิดว่าคนอื่นกำลังคุยเราอย่างจริงใจ จึงทำการสื่อสารทำงานของมันได้ และเหตุผลอีกข้อคือส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะซื่อสัตย์
นอกเสียจากว่าการโกหกจะทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น หรือเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองและคนใกล้ชิด
กลับไปที่ข้อสังเกตตอนต้น เหตุผลที่เราจับโกหกเพื่อนสนิทหรือคนที่รู้จักกันมาเป็นเวลานานได้ก็เพราะ เรามีหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอ เอาเข้าจริงๆถ้าเกิดว่าคนๆนั้นไม่เคยมาสารภาพกับเราตรงๆว่าเคยโกหก หรือมีหลักฐานโต้งๆมาจับ
เราจะแทบไม่สามารถบอกได้เลยว่าคนอื่นกำลังโกหกเราอยู่
การเชื่อในตัวมนุษย์คนอื่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดครับ
แต่ครั้งหน้าเวลาได้ฟังอะไร อย่าลืมเตือนตัวเองนะครับ ว่ามันยังมีโอกาส(ถึงแม้อาจจะไม่มาก)ที่สิ่งที่เราได้ยินอาจจะไม่ใช่ความจริงก็เป็นได้ ...
อ้างอิง
ผมเห็นคำว่า Truth-default theory (TDT) ครั้งแรกมาจากหนังสือ Talking to Strangers โดย Malcolm Gladwell
และสำหรับใครที่อยากอ่านงานวิจัยต่อ
โฆษณา