21 ธ.ค. 2020 เวลา 11:47 • สุขภาพ
องค์กรแรงงานเมียนมาร้องรัฐบาลเจรจากับไทยรับแรงงานอีก 6 หมื่นคน
หลังแรงงานที่ทำสัญญากับนายจ้างยังตกค้างในประเทศ
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ระลอกใหม่ที่กำลังกลามไปหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อมาจากพื้นที่ย่านมหาชัย จ.สมทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งงานและแหล่งรวมตัวของแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาที่มากที่สุดในประเทศ ทำให้วันนี้มหาชัยกลายเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะแพร่เชื้อไปทั่วประเทศ
นับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดของไวรัสในช่วงแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในอันดับสูงติด Top 10 ของโลก แรงงานชาวต่างด้าวจากเพื่อนบ้านต่างทยอยเดินทางข้ามพรมแดนออกจากประเทศไทย เพื่อกลับไปยังประเทศของตัวเองที่เวลานั้นมีอัตราการติดเชื้อต่ำกว่า จนประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว
แต่ในวันที่ประเทศไทยสามาควบคุมการแพร่ระบาด และจัดการกับไวรัสได้ดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนเรียกได้ว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะเกือบปกติ 100% แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ต่างก็พยายามจะไหลทะลักกลับเข้ามาในประเทศไทย ทั้งที่แบบถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามา เนื่องจากว่าการกลับไปยังประเทศของตัวเองนั้นเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เลวร้ายกว่า ระบบสาธารณะสุขที่ย่ำแย่ และไม่มีงานซึ่งมีรายได้ดีเท่าที่ประเทศไทยทำ การอพยพย้ายถิ่นอีกครั้งจึงเกิดขึ้น จนพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสปะปนเข้ามาในราชอาณาจักรจากแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ของมหาชัย
ทั้งนี้ยังมีแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาอีกมากมายที่ติดข้างในประเทศ ไม่สามารถข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศไทยได้ จนองค์กรแรงงานพม่าออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลพม่า ซึ่งนำโดยนางอองซาน ซูจี เปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย เพื่ออนุญาตให้แรงงานกว่า 60,000 คน สามารถเดินทางเข้าไปทำงานในประเทศไทยได้
นาย U sien Htay ผู้อำนวยการองค์กรเครือข่ายสิทธิแรงงานเมียนมา (MWRN) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ทั้งในไทยและเมียนมาแถลงว่า “หากรัฐบาลพม่าไม่สามารถโน้มน้าวรัฐบาลไทยเพื่ออนุญาตให้แรงงานชาวเมียนมาเข้าไปทำงานในประเทศไทยได้ ทางการเมียนมาควรคืนเงินในการทำสัญญาจ้างงานให้กับแรงงานเหล่านั้น”
1
"ตอนนี้มีแรงงานชาวเมียนมากว่า 60,000 คน ที่ทำสัญญากับนายจ้างชาวไทยผ่านเอเจนซี่ไปแล้ว และขณะนี้พวกเขาก็ยังคงติดค้างอยู่ในประเทศไม่สามารถเดินทางเข้าไปทำงานในประเทศไทยตามกำหนดได้ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ซึ่งพวกเขาต้องกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าดำเนินการดังกล่าว และไม่สามารถชำระหนี้คืนได้หากยังไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่ประเทศไทย”
“รัฐบาลเมียนมาต้องหารือกับรัฐบาลไทยเพื่อขอความร่วมมือ หรือไม่ก็ต้องคืนเงินค่าดำเนินการดังกล่าวให้กับแรงงานเหล่านั้น ปัจจุบันแรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความยากลำบาก มีแรงงานบางส่วนไม่ได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง และไม่สามารถเปลี่ยนไปทำงานที่อื่นได้ บางคนถึงขนาดถูกนายหน้าโกงเรื่องการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน”
“สถานการณ์ในตอนนี้เลวร้ายอย่างมาก แต่ก็ยังมีสิ่งที่ดีก็คือ รัฐบาลไทยอนุญาตให้แรงงานที่วีซ่าหมดอายุสามารถทำงานในไทยต่อไปได้อีก 2 ปี”
1
ปัจจุบันมีแรงงานชาวเมียนมาที่ทำงานในประเทศต่างๆ กว่า 4 ล้านคน และครึ่งหนึ่งคือทำงานอยู่ในประเทศไทย โดยข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ระบุว่า มีแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านสัญชาติต่างๆ ทั้ง เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมายทั้งสิ้น 2,814,481 คน (เมษายน 2563)
โดย 10 จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานมากที่สุดได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร 722,158 คน
2. สมุทรสาคร 245,737 คน
3. นครปฐม 219,499 คน
4. ปทุมธานี 167,009 คน
5. นนทบุรี 166,005 คน
6. สมุทรปราการ 153,426 คน
7. ชลบุรี 139,877 คน
8. สุราษฎร์ธานี104,185 คน
9. เชียงใหม่ 96,511 คน
10. ภูเก็ต 56,298 คน
ปัจจุบันประเทศเมียนมามีผู้ป่วยโควิด - 19 สะสมอยู่ที่ 116,134 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 2,443 ราย และมีอัตราการติดเชื้ออย่างรวดเร็วเนื่องจากระบบสาธารณะสุขที่ล้าหลัง และสุขอนามัยที่ค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานสากล
ติดดตามข่าวสารดีๆ จาก Reporter Journey ในช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่:
โฆษณา