25 ธ.ค. 2020 เวลา 04:11
เงินบาท Strong ขนาดนี้.....หรือเราจะได้เห็น Capital control ฝันร้ายของนักลงทุน🤔🤔🤔
เพราะเห็นเงินบาท Strong ขนาดที่พี่ลูกเกดยังต้องเรียกแม่ขนาดนี้ เห็นทีไม่รู้ว่าแบงค์ชาติจะทำอะไรได้อีกไหม นอกจากจะลดดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยนโยบายเองก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินที่ 0.5% แล้ว แบบนี้แบงค์ชาติเองก็เหลือกระสุนอยู่แค่ไม่กี่นัด แล้วมันจะมีวิธีไรได้อีกไหมละ
1
เพราะก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ความคืบหน้าของวัคซีนและการอัดฉีดเงินจากมาตรการของแบงค์ชาติ+รัฐบาลทั่วโลก ทำให้กระแสเงินไหลกลับเข้ากลุ่มประเทศ Emerging (กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่) หลังจากหนีออกกันอย่างเป็นบ้าเป็นหลังช่วงเดือนมีนา แล้วทีตอนนี้กระเหี้ยนกระหือรืออยากกลับเข้ามาตั้งแต่มีข่าววัคซีน ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว
2
กระแสเงินที่ไหลเข้าไทยอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยที่พึ่งพาการส่งออกถึง70%ถึงกับต้องเอาเท้าก่ายหน้าผาก เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าจนทำให้สินค้าส่งออกไทยดูราคาแพงขึ้นทั้งๆที่คุณภาพเหมือนเดิม ผู้ส่งออกก็ปรี้ดๆๆ ดาหน้าออกมาให้แบงค์ชาติช่วยทำไรสักอย่างก่อนที่เศรษฐกิจจะพังไปมากกว่านี้ ซึ่งพอลองมาคิดดูแล้ว ถ้าแบงค์ชาติหวงกระสุนลดดอกเบี้ย อยากเก็บเอาไว้ก่อน มันพอจะมีมาตรการอะไรอีกไหมที่ทำได้
2
ซึ่งก็ทำให้นึกถึงวิธีการนึงที่ไทยเองเคยใช้ แล้วก็มีหลายๆประเทศที่ใ้ช้โดยเฉพาะ ประเทศใน Emerging market ซึ่งนั้นก็คือ Capital control หรือก็คือการควมคุมกระแสเงินที่จะเข้าประเทศ
1
แล้ว Capital control มันคือไร?
มันก็คือข้อจำกัดต่างๆ ที่ไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างง่ายๆ ซึ่งมาตรการก็มีได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะการเก็บภาษี หรือข้อห้ามไม่ให้ลงทุนในสินทรัพย์บางประเภท เช่นอาจจะมีกำหนดไว้เลยว่าเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนระยะไม่เกิน1ปี จะโดนภาษี 10% แต่ถ้ามาลงทุนเกินปี จะโดนภาษีแค่2%เลย แต่ถ้าเกิน3ปีจะไม่โดนภาษีเลย เป็นต้น
ซึ่งย้อนกลับไปวันที่ 18 ธันวาคม 2006 แบงค์ชาติ เคยออกมาตรการ Capital Control ระดับซุปเปอร์ไซย่าขั้น3 เพื่อฟาดกลับเงินเก็งกำไรที่เข้ามาในประเทศ เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งต่อเนื่อง
1
ผู้ว่าแบงค์ชาติผู้หญิงคนแรก ธาริษา
ซึ่งมาตรการยาแรงเบอร์นี้คือ เงินทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศทั้งหมด จะต้องถูกหักออก 30% เพื่อแช่อยู่ในบัญชีเฉยๆ(ดอกเบี้ยก็ไม่ให้ด้วยนะเออ) ทำให้เหลือเพื่อใช้ลงทุนต่อในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้เพียง 70% ความผียังไม่พอเพียงเท่านี้ เพราะถ้านักลงทุนจะนำเงินออกก่อน1 ปี ไอ้30%ที่ถูกหักเอาไว้เนี่ย จะได้คืนแค่ 20% ส่วนอีก10% อดได้คืนค่ะ แต่ถ้านักลงทุนนำเงินออกหลังจาก 1 ปี จะได้เงินคืนเต็มจำนวน
1
และหลังจากสิ้นเสียงการประกาศมาตรการ ตลาดทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ก็กลายเป็นผีบ้าโดยทันที SET ร่วงไปทันที15% นักลงทุนทั้งไทยและเทศต่างกันสาปส่งแบงค์ชาติและรัฐบาลจนพริกและเกลือขาดตลาด แล้วสักพักเหมือนรัฐได้สติ จึงประกาศข้อยกเว้นเพิ่มให้กรณีเอาไปลงทุนตลาดหุ้น ไม่ต้องโดนหัก30%จ้าาาาาา//อิหยังว่ะ ยกเว้นให้เฉพาะตลาดหุ้นซะงั้น
4
ยายแย้มเผาพริกเผาเกลือ
เห็นเรื่องราวแบบนี้ คนอาจจะงงว่า ดบสท.ทำไมเธอสนับสนุนมาตรการแบบนี้ละ เธอไม่สนับสนุนการเปิดเสรีได้อย่างไร มันทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อตลาดทุนน่ะจ้ะ?!?!?!?! ใจเย็นก่อนนะจ้ะแม่จ๋า
ซึ่งการทำแบบนี้คนอาจจะงงว่า สรุปแล้วแกชอบเงินทุนจากต่างประเทศไหมเนี่ย ซึ่งด้วยเกียรติของเนตรนารีก็ต้องบอกว่าชอบค่ะ แต่เราชอบคนที่จะอยู่กับเรานานๆ ไม่ใช่เข้ามาสั้นๆแบบค้างไม่กี่คืน อันนี้เราไม่ยอมค่ะ//อันนี้พูดถึงเงินทุนต่างประเทศใช่ม่ะ😅
1
เพราะเอาจริงๆ เงินเข้าประเทศเราก็ชอบอยู่แล้วแหละ แต่ถ้าเข้ามาสั้น แล้วทำให้ตลาดในประเทศพังพินาศก็ไม่ไหวนะแม่ เช่นบางประเทศมีกระแสเงินจากต่างประเทศเข้ามาอย่างรุนแรงและรวดเร็ว มีเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก จนทำให้ราคาบ้านสูงมากจนคนในประเทศซื้อไม่ได้ แล้วไอ้พวกเงินลงทุนต่างประเทศแบบสั้นๆ พอเจออะไรตกใจหน่อย ก็คือหนียิ่งกว่าเจอผีชัตเตอร์ ขายบ้านมือ1 ประหนึ่งเจอผีในนั้นด้วยราคาเน่าหนอน ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนสามารถก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นชอบเงินทุนต่างประเทศค่ะ แต่ชอบยาวๆ
2
และอีกอย่างที่หลายคนชอบอ้างหลักการขององค์กรนานาชาติอย่าง IMF เนี่ย ก็ต้องบอกเลยว่า ตอนที่ IMF ถือกำเนิดในช่วงปี 1944-1945 โดย2ตัวพ่อ คุณ Keynes และ Harry Dexter White เนี่ย เค้าสร้างบนไอเดียที่ว่าการเปิดการค้าแบบเปิดเสรีมันจะมาพร้อมๆกับ Capital control ไม่งั้นเสถียรภาพของเงินทุนของแต่ละประเทศจะเกิดได้ยาก
1
White คนซ้าย Keynes คนขวา
แต่มันมาเริ่มเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ที่กระแสทุนนิยมกลายเป็นกระแสหลัก คนเริ่มมีแนวคิดที่ว่านอกจากการค้าที่เสรีด้วยแล้ว เงินทุนเองมันก็ต้องเสรีด้วยสิ ไม่ใช่แค่เรื่องการค้าขายที่จะเสรีเพียงอย่างเดียว ทำให้ IMF ที่นำโดยเมกามองว่า ประเทศที่อยู่ใน Emerging market เนี่ยก็ควรจะเปิดเสรีด้านเงินทุนด้วยเช่นกัน ส่งผลให้กระแสเปิดเสรีเงินทุนเป็นประหนึ่ง สรณะที่พึ่งที่ระลึกของหลายๆประเทศ ในขณะนั้น
1
แต่มุมมองของ IMF ต่อ Capital control ก็ต้องมาเปลี่ยนอีกครั้งนึงเมื่อเกิดวิกฤตในเมกาปี 2008 ที่ลามไปทั่วโลก และต้นตอไม่ได้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศ Emerging เลยยยยย แต่ดันมาโดนผลกระทบ ส่งผลให้มีเงินไหลออกจากกลุ่มประเทศ Emerging แบบจุกๆ จนในที่สุดกระทบกับเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างรุนแรง และในคราวนั้นแหละ เราก็เห็นหลายๆประเทศ ใช้มาตรการ Capital control ในหลายรูปแบบ เบาบ้าง หนักบ้าง เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤต
ช่วงวิกฤต การใช้ Capital control ก็สูงขึ้น
และหลังจากนั้นแหละ ที่ IMF ได้หันมามอง Capital control ใหม่ และรับรู้ว่าเป็นเครื่องมีในการเอาตัวรอดของหลายๆประเทศ
มิหนำซ้ำ งานวิจัยใน IMF เองยังบอกเลยว่า การใช้ Capital control เนี่ยแหละ จะช่วยให้ท้ายที่สุดสามารถเปิดเสรีเงินทุนได้จริงๆ
เพราะงั้นส่วนตัวแล้ว ดบสท. อยากให้มี Capital control ระดับซอฟๆ เพื่อเป็นเครื่องมือให้แบงค์ชาติได้ใช้เวลามีเงินทุนเข้าประเทศเยอะๆ และถึงแม้ว่า IMF เองในปัจจุบันจะยังไม่สนับสนุนให้ใช้ Capital control ในช่วงเวลาปกติ เพราะนางสนับสนุนให้ใช้ช่วงวิกฤต แต่เอาจริงๆ ใช้ตอนนั้นก็คือช้าไปแล้ว การใช้นโยบายตอนวิกฤตมันบ่ทันนะแม่ ถึงตอนนั้นก็พังไปแล้วนะแม่ ดังนั้นไทยเองควรมี Capital control บ้างกรุบกริบในช่วงที่ไม่ใช่วิกฤต เช่นอาจจะมีมาตรการที่จำกัดไม่ให้คนต่างประเทศเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์แบบเก็งกำไรได้ง่าย ว่าซั่น
2
อีกอย่างนะ ดบสท. เชื่อว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวมาก ไม่ใช่ Capital control หรอก แต่เป็นความไม่แน่นอนของมาตรการ เพราะงั้นแบงค์ชาติเองควรออกมาตรการ Capital control แบบซอฟๆ แต่มีแบบแผนชัดเจน ไม่ใช่เหมือนเมื่อก่อนที่ว่า ออกมาตรการวันจันทร์ วันอังคารเปลี่ยนเป็นอีกอย่าง กลับไปกลับมาบ่ได้นะแม่😆
3
(Paper ใน IMF ที่เริ่มพูดถึง Capital control https://ieo.imf.org/en/our-work/Evaluations/Completed/2020-0930-imf-advice-on-capital-flows)
โฆษณา