13 ม.ค. 2021 เวลา 03:23 • การศึกษา
ทำไมคนเจนวาย(Gen Y)ไม่ยอมแต่งงาน❓
ได้อ่านข่าวเมื่อไม่กี่วันมานี้ เกี่ยวกับรายงานจำนวนประชากรล่าสุดของประเทศเกาหลีใต้ที่พบว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่เกาหลีใต้มีจำนวนประชากรลดลง...😬
1
ครับ อ่านไม่ผิด ประชากรเกาหลีลดลง
โดยลดลงไปประมาณสองหมื่นคนเศษ
1
สาเหตุที่ประชากรเกาหลีใต้ลดลง ก็ด้วยสาเหตุง่าย ๆ ว่ามีคนตายมากกว่าคนเกิด
1
อัตราคนตายไม่ได้สูงขึ้นเพราะโควิดหรืออะไร อัตราการตายตามธรรมชาติก็เพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ที่ทำให้ตัวเลขประชากรรวมลดลง เป็นเพราะเกาหลีมีอัตราการเกิดที่ต่ำมาก....
1
..
ปัญหาประชากรลดลงแบบเกาหลี ยังไม่มีในบ้านเรา แต่ปัญหาคนเกิดน้อยเป็นปัญหาที่มีในบ้านเราเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศอย่างสิงค์โปร์ ญี่ปุ่นหรือในยุโรป
1
สาหตุที่ประเทศเรามีอัตราการเกิดต่ำก็ด้วยสาเหตุหลัก ๆ สองข้อคือ..
1).คนแต่งงานช้า มีลูกน้อยหรือไม่
ก็ไม่มีลูกเลย
2).คนไม่ยอมแต่งงาน
1
..
1
ปัญหาอัตราการเกิดต่ำอันเนื่องมาจากประชากรไทยไม่ยอมแต่งงานหรือแต่งงานแล้วมีลูกน้อย มีนักวิชาการได้ทำการวิจัยแบบเจาะลึก จึงพบสาเหตุที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ...
📌ประชากรไทยเจนวาย(Gen Y)ไม่ยอมแต่งงาน..😓
ถามว่าทำไมการที่ประชากรเจนวายไม่ยอมแต่งงานถึงมีผลต่ออัตราการเกิดที่ต่ำของประชากรไทยในปัจจุบัน ?
สาเหตุที่ต้องชี้เป้าไปที่ประชากรเจนวาย(GenY)เป็นหลัก ก็เพราะว่าประชากรเจนเนอเรชั่นวายเป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ.2523 - 2546
เป็นคนที่มีอายุระหว่าง 17 - 40 ปี
ซึ่งตรงกับวัยเจริญพันธุ์พอดี
1
คนในวัยนี้นอกจากเป็นกำลังหลักของกำลังแรงงานในการสร้างผลิตภัณฑ์ของประเทศแล้ว ยังควรเป็นช่วงวัยที่มีการสร้างครอบครัว มีลูก อีกด้วย
แต่จากผลการวิจัยของ
ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เจ้าของผลงานการวิจัยเรื่องทัศนคติต่อการมีลูกของประชากรเจนเนอเร
ชั่นวายและบทความทางวิชาการเรื่อง ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
กลับพบว่า...
คนเจนวาย(Gen Y)ไม่ยอมแต่งงาน
3
ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเจนเนอเร
ชั่นวาย(Gen Y)ไม่ยอมแต่งงานก็คือ.........วิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
1
ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากคนรุ่นก่อนของคนเจนวายมีหลายอย่าง
โดยเฉพาะมุมมองการมีครอบครัว
ที่คนเจนวายมองว่าการมีครอบครัว
มีต้นทุนที่สูงมาก
2
ซึ่งต้นทุนการมีครอบครัวที่ถูกมองว่าแพง ก็มาจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
ซึ่งไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนเจนวาย เกิดจากการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมที่ถูกยกระดับขึ้นผ่านเทคโนโลยี สินค้าและค่านิยมโดยรวม
..
2
⭐ค่านิยมครอบครัวเดี่ยว ทำให้การมีครอบครัวต้องมีความพร้อมเรื่องบ้าน เรื่องรถ
3
⭐ค่านิยมเรื่องการใช้สินค้าเทคโนโลยี การที่ต้องมีแฟชั่นและความบันเทิง
⭐ค่านิยมเรื่องการศึกษาและสุขภาพที่มีระดับสูงขึ้น
1
⭐ค่านิยมเรื่องการเดินทางและการท่องเที่ยว
⭐ค่านิยมรักอิสระ ไม่ชอบการผูกมัด
1
สิ่งที่คนเจนวายคิดถึงเป็นลำดับต้น ๆ ในชีวิตคือความมั่นคงทางการเงิน การดูแลพ่อ แม่ สุขภาพและการท่องเที่ยว
10
แทบไม่มีเรื่องการมีครอบครัวอยู่ในหัวเลย...
1
ค่านิยมและการลำดับความสำคัญในลักษณะนี้ของคนเจนวาย
ล้วนเป็นสิ่งที่มีต้นทุนสูงมาก
..
ทำไมต้นทุนเหล่านี้ถึงสูง?
..
1
เหตุที่ต้นทุนการมีไลฟ์สไตล์ตาม
ค่านิยมเหล่านี้มีมูลค่าที่สูงก็เพราะว่า..
ช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
รายได้เฉลี่ยของคนไทย โตไม่ทันค่าใช้จ่ายเฉลี่ยมาโดยตลอด..😬
1
คนไทยเรามีรายได้เฉลี่ยเติบโตเพียงแค่ 14 % ในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
แต่เรามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยโตขึ้นถึง 24 %
เรามีช่องว่างที่วิ่งตามไม่ทันถึง 10 %
3
..
เหตุที่ค่าใช้จ่ายเราสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้เป็นเพราะเราไม่ใช่ประเทศเจ้าของเทคโนโลยี เราเป็นประเทศที่พึ่งภาคเกษตรกรรม ภาคบริการ(การท่องเที่ยว)และอุตสาหกรรมรับจ้างผลิตเป็นหลัก ทำให้ค่าตอบแทนเราต่ำกว่าอีกหลายประเทศ
5
แต่ในส่วนค่าใช้จ่ายของเราแทบไม่แตกต่างจากประเทศเหล่านั้นเลย
เราซื้อรถยนต์สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เราใช้สินค้าแบรนด์เนม สินค้าเทคโนโลยี สินค้าความบันเทิงระดับโลก เรามีต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาที่สูงมาก
1
..
1
คนเจนวายมองว่า คนที่มีลูกก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกโดยเฉพาะการศึกษา เพราะทราบดีว่าการศึกษาที่ดีคือแต้มต่อของการแข่งขันที่สำคัญในอนาคตของลูก
2
แต่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่า
การศึกษาที่ดีนั้น มีราคาแพงมากในบ้านเรา
5
ลองไปถามคนชั้นกลางดูก็ได้ว่า...
คุณคิดว่าการเลี้ยงลูกหนึ่งคน ตั้งแต่เกิดจนจบมหาวิทยาลัย คิดว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่?
เขาจะตอบคุณว่า....."เป็นล้าน"😓
1
..
อาจารย์บอกอีกว่า ต้นต่อของปัญหาไลฟ์สไตล์ราคาแพงมันคือวิธีคิดที่ทุกคนมักใช้วิธีหารายได้วิ่งไล่ตามค่าใช้จ่าย
ทุกคนต่างคิดว่า ชีวิตที่ดีขึ้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นก็ต้องหารายได้ให้มากขึ้นตามไปด้วย
1
ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไล่ตามกันไม่ค่อยทัน
1
การเพิ่มรายได้เพื่อไล่ตามค่าใช้จ่าย
ใช้ไม่ได้กับทุกคนและไม่ยั่งยืน
สิ่งที่อาจารย์พบจากงานวิจัยก็คือ..
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย ทุกคนต่างบอกว่าค่าใช้จ่ายลูกแพงหมด เพราะทุกคนต่างสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก เรียกว่าสุดแค่ไหน เอาแค่นั้น ทุกคนยอมเป็นหนี้เพื่อลูกได้ ว่างั้นเถอะ
2
..
อาจารย์ได้เล่าเคสหนึ่งที่สะท้อนสภาพสังคมการเลี้ยงลูกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ว่า..
1
คนมีลูกไม่ได้เลี้ยงลูก แต่ต้องหาเงินเพื่อให้คนอื่นช่วยเลี้ยงลูก
..
3
อาจารย์เล่าว่า..
มีครอบครัวมีการศึกษาดีครอบครัวหนึ่ง สองสามี ภรรยา ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทั้งสองคน เพื่อหาเงินมาจ้างแม่บ้านชาวพม่าเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้าน
ส่วนแม่บ้านชาวพม่าเองก็มีลูก
แต่ก็ต้องส่งลูกกลับไปพม่า เพื่อฝากให้พ่อ แม่ที่พม่าช่วยเลี้ยง ตัวเองจะได้มีเวลาทำงาน(เลี้ยงลูกคนอื่น)เพื่อหาเงินส่งไปเป็นค่าใช้จ่ายให้พ่อ แม่ที่ช่วยเลี้ยงลูก(ตัวเอง)
1
พ่อ แม่คนไทย หาเงินจ้างแม่บ้านพม่า เลี้ยงลูก
แม่บ้านพม่า หาเงินด้วยการเลี้ยงลูกคนไทย เพื่อส่งให้พ่อแม่ที่พม่าช่วยเลี้ยงลูกตัวเอง
1
ต่างคน ต่างทำงานหาเงินเพื่อให้คนอื่นช่วยเลี้ยงลูกตัวเอง...
1
..
อาจารย์สรุปสาเหตุของปัญหาประชากร ในตอนท้ายว่า..
ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ ไม่ใช่เพราะคนแต่งงานช้า มีลูกน้อย หรือไม่ยอมแต่งงานเท่านั้น ทั้งหมดมันคือปลายเหตุ
แต่ต้นเหตุเป็นเพราะสภาพครอบครัวไทยในปัจจุบันมีความสุขน้อยลง ต่างคนต่างอยู่ ต่างทำงาน พ่อ แม่ ลูก มีเวลาอยู่ด้วยกันน้อยมาก
การจะมีครอบครัวที่ดี มีความพร้อมและมีความสุขต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก
เลยทำให้คนจำนวนมากเลือกที่จะไม่มีครอบครัวดีกว่า..
4
..
เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาประชากรจึงไม่ใช่การบอกให้คนรีบไปแต่งงานแล้วรีบมีลูกซะ เดี๋ยวภาครัฐจะช่วยค่านั่น ค่านี่ ลดภาษีโน่น นี่ ให้...
แบบนั้น มันไม่ได้ผล..
2
การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน น่าจะเป็นการเอื้อให้คนรุ่นใหม่เกิดวิถีชีวิตที่สมดุลย์มากขึ้น ตรงตามความเป็นจริงไม่วิ่งตามกระแสจนเกินพอดี
3
หากต้นทุนการมีครอบครัวที่มีความสุขมันถูกลง....เมื่อไร
ถึงตอนนั้น การมีคู่ การมีลูก ก็คงไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรงคนไทย คุณว่าไหมครับ..?
3
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา