10 ม.ค. 2021 เวลา 04:16 • ธุรกิจ
ถึงคราว “อียู” ต้องมาเล่นบทหัวหน้าฮัน ลงทุนในสตาร์ทอัพด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก
อย่าพึงงงไปนะครับ สหภาพยุโรปไม่ได้จะผันตัวไปเป็นดาราที่ไหน หรือไปแอบดูซีรี่ย์ดังใน Netflix มาแต่อย่างใด พวกเขากำลังจะทำอะไร แล้วสตาร์ทแบบไหนที่พวกเขาจะลงทุน วันนี้ “Innowayถีบ” จะพาไปดูพอร์ทโฟลิโอของอียูกัน
€€ สหภาพยุโรปกับสตาร์ทอัพ €€
ในความเป็นจริงแล้วประเทศในสหภาพยุโรปหลายๆประเทศก็ให้การสนับสนุน สร้างความร่วมมือทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน เพื่อทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเหล่านี้สร้างตัว เป็นพลังของเศรษฐกิจใหม่ โดยประเทศอย่าง เยอรมัน ฝรั่งเศสและอังกฤษมีการสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรงให้แกโดยเฉพาะสตาร์ทอัพในสายดิจิตอล
นอกจากประเทศใหญ่ๆแล้ว ประเทศเล็กๆอย่างเอสโตเนีย เดนมาร์ก ก็เป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าบริษัทที่มีไอเดียใหม่ๆล้ำๆที่น่าสนใจมากมาย
สตาร์ทอัพในกลุ่มเทคหรือดิจิตอลของยุโรป แม้จะเยอะแต่ยังเล็กเมื่อเทียบกับทางอเมริกา cr: CBinsights
€ Pivot - เมื่อแนวทางแบบเดิมใช้ไม่ได้ ก็ถึงเวลาเปลี่ยน €
โดยปกติแล้วอียูให้การสนับสนุนเงินในรูปแบบเงินทุนให้เปล่าแก่นักวิจัยเป็นจำนวน 10,000 ล้านยูโรต่อปี ซึ่งในความเป็นจริงก็เกิดดอกออกผลอยู่พอสมควร แต่ทางอียูสังเกตเห็นสตาร์ทอัพที่นำความรู้ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์นั้นได้รับการลงทุนจาก venture capital (VC) มีน้อยกว่า 3-4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับที่อเมริกาหรือแม้กระทั่งทางเอเชีย
ส่งผลให้สตาร์ทอัพในฝั่งยุโรป โดยเฉพาะบริษัทนวัตกรรมที่เป็นกลุ่ม deeptech เช่นการแพทย์ วิศวกรรม อวกาศ วัสดุศาสตร์ เติบโตได้ช้าและสุดท้ายต้องย้ายฐานไปอยู่ที่อื่น
การลงทุนครั้งนี้ทางอียูหวังจะช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนและร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น อียูจัดสรรเงิน 3,000 ล้านยูโรเป็นเงินตั้งต้นให้กับกองทุน โดยกองทุนจะลงทุนและถือหุ้นในบริษัทระหว่าง 10-25% (โดยเปิดช่องให้สามารถจะถือสูงสุดถึง 50%) โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพที่เพิ่งก่อตั้ง ยังไม่มีการระดมทุมในระดับ series A มาก่อน
บริษัทที่สนใจจะต้องผ่านการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อได้รับเงินส่วนแรก พวกเขามีเวลา 18 เดือนในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีให้สมบูรณ์มากขึ้น เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามาเพิ่ม ซึ่งถ้าทำไม่ได้พวกเค้าก็อาจจะไม่ได้รับเงินลงทุนในส่วนที่เหลือ (เรียกได้ว่าอียูมากแบบนักลงทุนจริงๆงานนี้)
€€ CorWave สตาร์ทอัพแรกที่กองทุนของ EU ลงทุน €€
CorWave เป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทำการพัฒนาระบบปั๊มเพื่อใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจขั้นรุนแรง ที่กล้ามเนื้อของหัวใจไม่มีแรงมาพอจะบีบเลือดส่งไปยังอวัยวะที่สำคัญต่างๆ อย่างตับ, ไต ซึ่งส่งผลให้ผูป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาอีก ซึ่งโดยปกติการรักษาโดยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับ หรือได้รับมันเวลา
อุปกรณ์ที่เรียก Left Ventricular Assist Device (LVAD) เป็นตัวช่วยพยุงให้ผู้ป่วยสามารถใข้ชีวิตอยู่ได้เป็นปกติมากขึ้น โดยจะทำหน้าที่แทนหัวใจห้องซ้ายในการสูบฉีดเลือด ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ป่วยทำการติดตั้ง LVAD มากกว่า 9000 ราย
สำหรับ CorWave สิ่งที่พวกเขาพัฒนาก็คือการทำปั๊มให้สามารถทำงานได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งหัวใจสำคัญก็คือเมมเบรน (membrane) ที่อยู่ภายใน ซึ่งบริษัทได้ค้นคว้าพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์และจำลองการเคลื่อนไหวของปลาในทะเล ทำให้ปั๊มทำงานได้เหมือนหัวใจจริงๆ ทั้งการความเร็วในการไหลและจังหวะ
LVAD ติดตั้งที่หัวใจของผู้ป่วย Cr: CorWave
เรียกว่าเป็นการปรับตัวขององค์กรยักษ์ใหญ่อีกแห่งที่ให้ความสำคัญกับบริษัทเกิดใหม่(สตาร์ทอัพ) โดยเข้ามามีบทบาทเชิงรุกในการผลักดันบริษัทเหล่านี้ให้เติบโต กลายเป็น Unicorn ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกต่อไป
จะสำเร็จหรือไหม เราคอยติดตามชมกันต่อไป
European Innovation Council makes first equity investments in start-ups, https://sciencebusiness.net/, 07 Jan 2021
โฆษณา