11 ม.ค. 2021 เวลา 10:51 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา App Store และ Google Play ห้างดิจิทัล 3 ล้านล้าน
7
รู้หรือไม่ว่าในปี 2020 ผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนบนโลกของเรา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากถึง 2.4 แสนล้านครั้ง
(ตัวเลขอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ App Annie)
ในขณะที่โลกของเรา มีผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนประมาณ 3.5 พันล้านคน
4
นั่นเท่ากับว่า ผู้ใช้งานหนึ่งคน จะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
"โดยเฉลี่ย" แล้ว 69 ครั้ง ต่อปี หรือราว 6 ครั้ง ต่อเดือน
และที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน กับ ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน
มีตัวกลางหลักๆ เพียง 2 ตัว คือ App Store และ Google Play..
1
ซึ่งตอนนี้ก็ดูเหมือนว่า ทั้งคู่กำลังจะกลายเป็น “ห้างค้าปลีกดิจิทัล” ที่แม้จะมีคนละสาขา แต่ก็เป็นสาขาที่ทรงพลังพอ ที่จะรองรับลูกค้าได้จากทั่วทุกมุมโลก
ที่บอกว่าเหมือนห้าง ก็เพราะว่า
โลกในยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน หรือ ธุรกิจอะไร
ก็มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน แล้วนำเข้าไปอยู่ใน App Store และ Google Play
ส่วนผู้ใช้งานก็จะเข้ามาเลือกซื้อ
หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ต้องการไปใช้นั่นเอง
ตัวอย่างใกล้ตัวเราก็คือ ธนาคาร ในประเทศไทย
ที่ไม่ว่าเราจะใช้บริการธนาคารอะไร
แอปพลิเคชันของธนาคารนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่า สมุดบัญชีธนาคารเสียอีก
ซึ่งนอกจากธนาคารแล้ว ธุรกิจในอีกหลายอุตสาหกรรม
ก็มีจุดหมายปลายทาง ที่อยากจะเข้าไปอยู่ ณ ห้าง App Store และ Google Play ไม่ต่างกัน
นั่นจึงเป็นที่มาที่ว่าทุกวันนี้ หลายบริษัทได้พัฒนาสินค้า และบริการ ให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสภาพอากาศ เช็กสุขภาพ ลงทุน แต่งรูป ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม รวมถึงหาคู่ ได้บนสมาร์ตโฟน
1
ซึ่งห้าง 2 แห่งนี้ ก็น่าจะเป็นห้างที่มีจำนวนร้านค้า ลูกค้า และเงินหมุนเวียนมากที่สุดในโลก
ในขณะที่ทั้งคู่ ก็มีส่วนแบ่งรายได้มาจากการที่ผู้ใช้งานเสียเงินดาวน์โหลดแอป และซื้อของภายในแอปพลิเคชัน นั่นเอง
ในปีที่ผ่านมา รู้หรือไม่ว่า การใช้จ่ายของผู้ใช้งานสมาร์ตโฟน
ผ่าน App Store และ Google Play มีมูลค่าสูงถึง 111,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.34 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเติบโตถึง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
3
ซึ่งปริมาณการใช้จ่ายที่ว่านี้ ถูกคาดการณ์มาจาก
มูลค่าการซื้อสินค้าภายในแอปพลิเคชัน หรือที่เรียกกันว่า in-app purchases
และมูลค่าการสมัครสมาชิกบริการรายเดือนบนแอปพลิเคชัน เท่านั้น
1
ซึ่งทั้ง 2 Store ยังมีรายได้มาจากส่วนอื่นอีก เช่น รายได้จากการให้เช่าพื้นที่โฆษณาร้านค้าในหน้าแรกของ Store และในรายการค้นหาแอป
จากตรงนี้จะเห็นได้ว่า
ยิ่งมีผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน
หรือผู้ใช้งานเข้ามาเยี่ยมชม เลือกซื้อของในห้างมากเท่าไร
ทาง App Store และ Google Play ก็จะยิ่งได้รับส่วนแบ่งจากการขายของ รวมถึงการเช่าพื้นที่โฆษณาร้านค้าในหน้าแรก หรือในหน้าค้นหา มากเท่านั้น
ซึ่งนอกจากมูลค่าในส่วนนี้แล้ว
มูลค่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละแอปพลิเคชัน
เช่น การโฆษณาบน Facebook และ YouTube
หรือ มูลค่าการซื้อขายของบนอีคอมเมิร์ซ อย่าง Lazada และ Shopee
ก็ยังเต็มไปด้วยเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล
2
ถึงตรงนี้ เราก็น่าจะสรุปได้ว่า App Store และ Google Play
ถือเป็นธุรกิจเสือนอนกินบนโลกดิจิทัล ที่มี “เวลา” เป็นเพื่อน
เพราะทั้งคู่จะเติบโตขึ้นในทุกๆ นาที ที่มีผู้ใช้งานจ่ายเงินให้กับแอป หรือนักพัฒนานำสินค้าและบริการ มาลงเพิ่มขึ้น
2
ก็น่าคิดเหมือนกันว่า หาก Apple หรือ Google
แยกธุรกิจดังกล่าวออกมาจดทะเบียนเป็นอีกบริษัท
นักลงทุนจะให้มูลค่ากับทั้งสอง ห้างค้าปลีกดิจิทัลนี้ มากขนาดไหน
แต่ในทุกธุรกิจมันก็มีความเสี่ยง
ซึ่งถ้าถามว่า ความเสี่ยงของ App Store และ Google Play คืออะไร?
คำตอบก็น่าจะเป็น วันที่คนทั่วโลก เลิกใช้สมาร์ตโฟน..
โฆษณา