13 ม.ค. 2021 เวลา 07:42 • สุขภาพ
ยังสับสนต่อไปสำหรับประสิทธิภาพวัคซีนโควิด Sinovac
ผลทดสอบยังสวิง 91.25% 78% 65% หรือต่ำกว่า
ประเด็นเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด – 19 “Sinovac” จากประเทศจีน ที่มีผลการทดสอบที่รายงานข่าวออกมาว่ามีประสิทธิภาพต่ำในประเทศบราซิล กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันขึ้นมาอีกครั้งว่า สรุปแล้วจะมีคนไทยได้รับวัคซีนด้อยคุณภาพจริงหรือ? เพราะ Sinovac เป็นหนึ่งในวัคซีนที่จะมีการนำมาฉีดให้กับคนไทยโดยคาดว่าวัคซีนดังกล่าวจะจัดส่งถึงไทย 200,000 โดสในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคมอีก 800,000 โดส และปลายเดือนเมษายนอีก 1 ล้านโดส
ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัดว่า ค่ากลางที่เป็นที่ยอมรับได้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนที่ฉีดให้กับผู้คนหลากชาติพันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของโครโมโซม ชนิดของไวรัส รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยซึ่งแตกต่างกันในแต่ละภูมิประเทศ จะใช้ค่ากลางในการกำหนดว่าประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการป้องกันไวรัสจะอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์
2
กก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่มีวัคซีนใดบนโลกใบนี้สามารถป้องกันไวรัสได้ 100% เพราะร่างกายของมนุษย์มีความซับซ้อนและแตกต่างกันในการรับวัคซีน รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทาน แม้แต่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดกันบ่อยๆ แทบจะทุกปีก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันขนาดนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อบางคนรับวัคซีนเป็นประจำยังสามารถป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ หรือบางคนที่ไม่เคยรับวัคซีนเลยกลับไม่เคยป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ หรือเมื่อป่วยก็สามารถหายได้เองโดยการรักษาตามปกติ
ดังนั้นหากจะหาวัคซีนที่มีผลเป็นเลิศด้วยตัวมันเป็นแบบเต็มร้อยก็คงจะไม่มีบนโลกใบนี้ มีเพียงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้ในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นก็อยู่ที่ความแข็งแรงของแอนติบอดี้ของแต่ละคนแล้วว่าจะแข็งแรงหรือไม่
1
กลับมาที่เรื่องของวัคซีน Sinovac กัน ตอนนี้เท่าที่สังเกตบนหน้าสื่อหลายสำนักมีการนำเสนอประสิทธิภาพของวัคซีนยี่ห้อนี้กันค่อนข้างสั้น และเป็นแหล่งข้อมูลจากที่เดียวกันโดยไม่ได้นำข้อมูลจากการทดสอบในภูมิภาคอื่นๆ มาเปรียบเทียบ โดยเท่าที่เห็นจะเป็นข้อมูลการทดสอบที่ได้ผลไม่ค่อยน่าพอใจนักจากประเทศบราซิล
1
นักวิจัยจากสถาบันบูตันตันในบราซิล เปิดเผยว่า วัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท Sinovac ของจีน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ เพียงร้อยละ 50.4 จากการทดสอบทางคลินิกในขั้นสุดท้าย ซึ่งเน้นทดสอบในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ
2
นั่นเท่ากับว่าประสิทธิภาพของวัคซันต่ำกว่าค่าการป้องกันพึงประสงค์ที่ 60% พูดง่ายๆ คือ แม้จะฉีดหรือไม่ฉีดก็มีสิทธิป้องกันเชื้อได้แค่ 50-50 เท่านั้น
1
ขอย้อนความไปถึงวิธีการผลิตวัคซีนที่เป็นวิธีแบบสากลนิยมกันก่อน ปกติแล้ววัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะผลิตจาก วัคซีนเชื้อตาย หรือ Inactivated Vaccine และวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Sinovac ก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน ซึ่งถ้าพูดกันตามเนื้อผ้าแล้ว มันคือวิธีทั่วไปสำหรับการผลิตวัคซีนที่บริษัทต่างๆ ในโลกนี้ทำกันมานานหลายปี และก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอื่นๆ ได้ดีเรื่อยมา และมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งเพราะมันถูกทดลองมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
2
ส่วนบริษัทอื่นๆ ได้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยนำมาผลิตวัคซีนใดๆ มาก่อนเลย เช่น mRNA Vaccine ของบริษัท Pfizer และ Moderna ซึ่งเมื่อดูประสิทธิภาพของวัคซีนประกอบแล้วก็จะพบว่า วัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงคือระดับ 95%
2
แต่ก็ให้ผลข้างเคียงอาการแพ้วัคซีนที่รุนแรงแตกต่างกันไป ตามข่าวที่นำเสนอออกมาก่อนหน้านี้
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงสงสัยว่า สรุปส่วนวัคซีนของเทคโนโลยีแบบเชื้อตายมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบนั้นหรือไม่? หรือว่าไวรัสโควิด - 19 ไม่เหมาะกับการนำเทคโนโลยีแบบเดิมมาผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้แล้วหรือ?
2
ถ้ามีคำถามแบบนี้ ผู้เขียนบอกเลยว่าไม่สามารถฟันธงได้ว่า แบบไหนดีกว่าหรือไม่ดีกว่ากัน เพราะไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่ถ้าหากดูจากข้อมูลผลการทดสอบวัคซีนของ Sinovac ก็ยังคงมีความสับสนในเรื่องประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปเมื่อนำไปทดสอบในหลายๆ ประเทศ โดยมีตัวเลขของประสิทธิภาพการทดสอบวัคซีนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากประเทศต่างๆ ดังนี้
- บราซิล : มีประสิทธิภาพป้องกันฉีด 1 เข็มป้องกันได้ 50.4% ฉีดครบโดสที่ 2 เข็ม ป้องกันได้ 78% จากจำนวนอาสาสมัครในการทดลอง 13,000 คน (ยังคงรอข้อมูลเพิ่มเติมอีกเพื่อแถลงผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ)
- ตุรกี : มีประสิทธิภาพในการป้องกัน 91.25% และป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ 100% จากจำนวนอาสาสมัครในการทดลอง 7,371 คน
- อินโดนีเซีย : มีประสิทธิภาพในการป้องกัน 65% จากจำนวนอาสาสมัครร่วมทดลอง 1,620 คน
2
ข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศยังคงรอการแถลงจากรัฐบาลบราซิลเพิ่มเติมว่าจะมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะแถลงในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น
ปัจจุบัน Sinovac นำส่งวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศแล้วกว่า 4.5 ล้านโดส ภายใต้การอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อกลางปีที่แล้วและมีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนให้กับผู้คน 50 ล้านคนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่ง Sinovac สามารถผลิตได้มากกว่า 600 ล้านโดสต่อปีที่โรงงานผลิตในประเทศจีน และได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศต่างๆ ที่กำลังดำเนินการทดลองวัคซีนอยู่ได้แก่ บราซิล ตุรกี อินโดนีเซีย และจะจัดหาสิงคโปร์ และฮ่องกงเพิ่มเติมต่อจากจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับบราซิล เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการแพร่ระบาดหนักที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐ และอินเดีย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 200,000 กว่าราย และมีผู้ติดเชื้อสะสมแล้ว 7.8 ล้านคน แต่ผลสำรวจจากสำนักโพลในบราซิลระบุว่า ประชาชนชาวบราซิเรียนมีความปรารถนาต่อการฉีดวัคซีนลดลง จากเดิมทีเคยมีผลสำรวจในเดือนสิงหาคมปี 2020 พบว่าประชาชนเต็มใจจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ที่ 89% แต่ผลสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมลดลงเหลือแค่ 73% เท่านั้น เนื่องจากไม่มั่นใจในรัฐบาลว่าจะสามารถหาวัคซีนที่ดีพอตามที่ประชาชนพอใจ รวมทั้งความไม่มั่นใจต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู ที่ดำเนินมาตรการป้องกันผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้นการระบาด โดยบอกประชาชนว่าไม่ต้องสวมหนากากอนามัย ไม่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ต้องปฎิบัติตามวิธีการป้องกันสุขอนามัยใดๆ อย่างที่หลายประเทศทำกัน จนสุดท้ายการแพร่ระบาดก็รุนแรงอย่างที่เราเห็นข่าวว่าหลุมฝังศพในประเทศแทบจะไม่พอที่จะฝังร่างผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิต
1
ส่วนการฉีดวัคซีนในประเทศบราซิลจะเริ่มต้นฉีด 45 ล้านโดสแรกในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งมีสิทธิว่าจะได้รับเสียงต่อต้านไม่น้อย
อย่างไรก็ตามการตั้งข้อสังเกตจากนานาชาติเกี่ยวกับวัคซีนของจีนที่เกิดความสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความปลอดภัยและการทดสอบที่น้อยกว่าจากบริษัทในซีกโลกตะวันตก การรวบรวมข้อมูลมีความเสี่ยงที่จะทำลายความไว้วางใจในภาพลักษ์ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สัญญาว่าจะแบ่งปันกับคนอื่นๆ ทั่วโลกในฐานะที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ
สุดท้ายตอนนี้โฆษกของ Sinovac ก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเลขจากการทดลองในบราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย และกล่าวเพียงว่าบราซิลน่าจะเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้เท่านั้น
1
โฆษณา