17 ม.ค. 2021 เวลา 05:50 • ธุรกิจ
2022 อวสานมนุษย์เงินเดือน
4
กระแสเลิกจ้าง ปรับลดพนักงานเริ่มมาตั้งแต่ปี 2018 อันเนื่องมาจากกระแส Technology Disruption แต่ที่หนักจริงๆ ก็ปี 2020 ที่ผ่านมาจากกระแส COVID-19 อย่างที่ทราบๆ กันดีนี่แหละครับ
1
เมื่อรายได้ขององค์ธุรกิจต่างๆ หายไป แต่รายจ่ายบางรายการกลับไม่ลด ผลที่เกิดขึ้นก็คือการขาดทุนมหาศาล อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะได้เห็นกัน ชนิดที่หลายๆ ธุรกิจ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ต้องทยอยปรับตัว และหากปรับตัวไม่ได้ก็ต้องปิดตัวไป .. เมื่อเป็นเช่นนี้ค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องปรับลดเพื่อความอยู่รอดขององค์กรนั่นก็คือ payroll หรือค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานนั่นเอง
3
แน่นอนมุมมองของพนักงานหรือลูกจ้าง กับ องค์กรหรือนายจ้างนั้นย่อมแตกต่างกัน ในส่วนของพนักงานนั้น องค์กรจะมีผลประกอบการดีหรือร้าย องค์กรมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้พวกเขาเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน แต่หากผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นมา พวกเขาย่อมอดคิดไม่ได้ว่าพวกเราช่วยบริษัทให้ร่ำรวยขึ้นมาขนาดนี้แล้วพวกเราจะได้อะไรกลับมา .. ส่วนมุมมองขององค์หรือนายจ้างนั้นก็คือถึงแม้บริษัทจะประสบปัญหาการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลังอย่างไร ก็ต้องหาเงินมาจ่ายและดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้พนักงานหรือลูกจ้าง นับเป็นภาระที่หนักอึ้งของผู้ประกอบการเลยทีเดียว
3
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของพนักงานประจำก็คือเมื่อพวกเขาทำงานในองค์กรไประยะหนึ่ง พนักงานส่วนหนึ่งก็จะเริ่มเข้าสู่ auto-pilot mode หรือทำงานไปตาม routine หรือตามระบบและข้อจำกัดขององค์กร ไฟที่เคยลุกโชนอยากทำอะไรที่นอกเหนือขีดจำกัด ก็ค่อยๆ กลายเป็นเหมือนส่วนหนึ่งในสายการผลิตขององค์กร .. นั่นคือสิ่งที่แตกต่างเป็นอย่างมากจากการจ้างคนนอก outsourcing services หรือ freelancers ในลักษณะเป็น project หรือเป็นงานๆ ไป เพราะแน่นอนว่าผลตอบแทนของคนเหล่านี้จะมาจากผลสำเร็จของงานโดยตรง ยิ่งงานดี ยิ่งจบเร็ว ยิ่งจะได้เงินเร็ว และได้รับงานต่อเนื่อง
7
แล้วพนักงานแบบไหนที่จะถูกพิจารณาปรับออกก่อน
1. งานที่ถูกทดแทนได้ด้วยระบบ office automation หรือ cloud services หรือทดแทนได้ด้วยเครื่องจักรกลการผลิต: ได้แก่ พนักงานธุรการ พนักงานบัญชี พนักงานในสายการผลิต และอื่นๆ
3
2. หน่วยธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้: ในส่วนนี้รวมถึงธุรกิจที่เคยเป็นดาวเด่น แต่กลับมีรายได้ลดลงอย่างมากจนถึงขั้นไม่สามารถสร้างรายได้ในปัจจุบัน ได้แก่พนักงานทุกส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตและขายสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่พนักงานระดับล่างไปจนถึงระดับผู้บริหาร
5
3. มนุษย์ทองคำค่าตัวแพง: ณ จุดนี้ มนุษย์ทองคำที่เคยรุ่งเรื่องมีหลายองค์กรแย่งตัวกัน กำลังเข้าสู่สภาวะจมไม่ลง อยู่ดีๆ จะยอมลดค่าตัวลงไปได้ยังไงในเมื่อภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนทางสังคมไม่สามารถลดลงได้
6
4. พนักงานที่ทัศนคติไม่ดีเข้าข่ายมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ: เอาเป็นว่าไม่ต้องบรรยายว่าเป็นแบบไหนบ้างก็แล้วกันนะครับ เชื่อว่าคงนึกภาพออกกัน
5
5. พนักงานที่โชคร้าย: อันนี้หมายถึงพนักงานที่ได้เข้าข่ายข้อ 1-4 ข้างต้นแต่โชคร้าย แพ้ภัยการเมือง หรือไม่เป็นที่พึงพอใจของฝ่ายบริหารด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่
9
ดูๆ ไป ทุกคนก็อาจเข้าข่ายพนักงานที่อาจถูกพิจารณานะครับ แล้วมนุษย์เงินเดือนควรทำตัวอย่างไรล่ะ? ...
3
1. เลิกทำตัวเป็นมนุษย์เงินเดือน: เลิกคิดซะว่าคุณมีอาชีพที่มั่นคงและนั่งรอรับเงินเมื่อถึงสิ้นเดือน คิดว่าทำอย่างไรถึงจะช่วยหารายได้ สร้างธุรกิจอื่นๆ ให้กับองค์กรได้ถึงแม้ไม่ใช่หน้าที่ของคุณ หรือถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในส่วนหารายได้ เปลี่ยนมาอยู่ใน survival mode พนักงานประเภทนี้นอกเหนือจากจะช่วยองค์กรได้ถึงแม้อาจจะเพียงเล็กน้อย แต่ก็ช่วยสร้างความโดดเด่นในฐานะพนักงานที่ทุ่มเทและซื่อสัตย์ต่อองค์กร
นอกจากนี้การคิดแบบนี้ยังช่วยให้คุณได้ฝึกทักษะการนำพาองค์กรให้อยู่รอด ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว คุณก็จะได้ประสบการณ์ในการเรียนรู้จากมัน ... สุดท้ายไม่ว่าคุณจะอยู่รอดหรือไม่ คุณก็จะมีทักษะนี้ติดตัว ทักษะที่คุณได้เรียนรู้ ทั้งๆ ที่มีคนจ้างให้คุณทำอยู่ โดยไม่ต้องควักกระเป๋า หรือล้มลุกคลุกคลานด้วยตัวเองครับ
16
2. ค้นหาตัวเองให้เจอ: หาให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณจะทำหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข และสร้างรายได้ไม่ว่าจะเป็น active หรือ passive income เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ... เพราะไม่แน่ว่าการเกษียณนั้นจะมาหาคุณก่อนที่จะได้ตั้งตัวครับ
8
3. เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ: เมื่อคุณค้นหาตัวเองเจอแล้ว ทักษะอะไรจะพาคุณไปถึงจุดนั้นได้ เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้ครับ
5
4. ไม่แนะนำให้หารายได้พิเศษเพิ่มเติม*: หากคุณยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ก็ถือว่าโชคดีกว่าประชากรอีกกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ การพัฒนาตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คุณช่วยองค์กรและช่วยตัวเองในอนาคตได้ แต่หากคุณเริ่มหันเหความสนใจมาหารายได้เสริมแล้วมันอาจเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้คุณถูกพิจารณาปลดออกได้เร็วขึ้นเป็นพิเศษ เพราะ คุณจะเริ่มมีสมาธิกับงาน หรือจะมีความคิดที่จะช่วยบริษัทนอกเหนือจากหน้าที่ได้น้อยลง และอย่าลืมว่าความลับไม่มีในโลก หัวหน้างานหรือผู้บริหารอาจไม่พอใจสิ่งนี้ และถึงแม้คุณจะหารายได้นอกเหนือเวลางานได้ก็จริง แต่นั่นก็จะแย่งเวลาในการพักผ่อนของคุณและอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานได้
*ทั้งนี้ยกเว้นกรณีที่บางองค์กรยินยอมให้พนักงานหารายได้เสริมอื่นๆ ได้นะครับ
11
ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะไม่มีมนุษย์เงินเดือนอีกต่อไป แน่นอนทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นส่วนที่สำคัญขององค์กร องค์กรย่อมต้องประกอบด้วยคน แต่แน่นอนว่าทุกองค์กรจำต้องปรับตัวเป็น Lean Organization หรือจ้างคนเฉพาะที่จำเป็น ดังนั้นในโลกยุคนี้ ยิ่งมีพนักงานงานประจำน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูงย่อมถือว่าเป็นข้อได้เปรียบครับ
1
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มมนุษย์เงินเดือนราว 33 ล้านคนของประเทศที่ยังอยู่ในระบบการจ้างงานหรือไม่ การค้นหาตัวเอง และการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ย่อมมีความจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไปในโลกยุคนี้ ... นั่นก็เพราะว่า รู้อะไร ไม่สู้รู้งี้ ครับ 😉
2
โฆษณา