26 ก.พ. 2021 เวลา 00:00 • กีฬา
[ #การเมืองในมุ้งเชลซี ]
ก่อนที่จะมีการปลด แฟร้งค์ แลมพาร์ด ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม บรรยากาศภายในของเชลซีอึมครึมตึงเครียดอย่างมาก
นอกจากนักเตะหลายคนไม่มีความมั่นใจในอนาคตแล้ว ยังเกิดความขัดแย้งระหว่าง แลมพาร์ด กับกลุ่มผู้บริหารด้วย
1
แซม วอลเลซ บรรณาธิการของเดอะ เทเลกราฟ ซึ่งมีเส้นสายรวมถึงแหล่งข่าวอย่างดีในสแตมฟอร์ด บริดจ์นำข้อมูลบางอย่างมาเปิดเผยไว้อย่างน่าสนใจ
เริ่มจากตลอด 18 เดือนบนเก้าอี้กุนซือ แลมพาร์ด ไม่เคยได้พูดคุยสื่อสารโดยตรงกับ โรมัน อบราโมวิช เจ้าของสโมสรเลย ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติมากๆ
1
ที่บอกว่าผิดปกติคือ แลมพาร์ด ไม่ใช่คนอื่นคนไกล เป็นอดีตนักเตะจัดอยู่ในโหมดระดับตำนานขึ้นหิ้ง ไม่ว่าจะจำนวนนัดรับใช้ทีม ยิงประตูได้เป็นกอบเป็นกำทั้งที่เล่นตำแหน่งมิดฟิลด์
1
ร่วม 13 ปีที่รับใช้สิงห์น้ำเงินอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในแข้งที่ อบราโมวิช ประทับใจอย่างยิ่ง
1
แต่พอเปลี่ยนบทบาทมารับงานผู้จัดการทีม กลับไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง เหมือนว่าท่านประธานต้องการรักษาระยะห่าง เพื่อไม่ให้เสียระบบตามนโยบายหรือรูปแบบการบริหาร
1
อบราโมวิช โยนหน้าที่ให้ มารีนา กรานอฟสกาย่า ซึ่งยึดตำแหน่งซีอีโอหรือหัวหน้าผู้บริหาร รวมทั้งเป็นมือขวาที่ไว้วางใจเป็นคนจัดการแทนทั้งหมด
3
พูดง่ายๆคือ กรานอฟสกาย่า เป็นเหมือนผู้นำสารของ อบราโมวิช และ แลมพาร์ด ไปถ่ายทอดอีกทีหนึ่ง
1
สิ่งที่ชัดเจนก็คืออิทธิพลในทีมของ กรานอฟสกาย่า หรือที่ถูกเรียกว่า "นางสิงห์เหล็ก" จึงเหลือล้น บางเรื่องอาจไม่ต้องปรึกษาท่านประธานใหญ่ สามารถตัดสินใจขั้นเด็ดขาดได้เองเลย
3
อย่างไรก็ดี วอลเลซ อ้างว่าเหตุผลที่ แลมพาร์ด ได้มารับตำแหน่ง เพราะช่วงดังกล่าวตัวเลือกมีน้อยมาก แล้วหลายคนก็เชื่อว่าไม่น่าจะอยู่แบบยาวๆ สุดท้ายก็ต้องโดนเชือดอยู่ดี
มันไม่ได้หมายถึงดูแคลนฝีมือการคุมทีมหรอก แต่การเมืองภายในของเชลซีรุนแรงมากๆ ทุกคนต้องพยายามวิ่งเข้าหาหรือโอนอ่อนผ่อนปรนตาม กรานอฟสกาย่า ทั้งสิ้น เพราะรู้ดีว่าได้รับมอบดาบอาญาสิทธิ์มาโดยตรง
1
หากเธอไม่พอใจใครก็จะหาทางเขี่ยทิ้งทันทีไม่มีรีรอให้เสียเวลา ด้วยนิสัยที่เด็ดขาด ตัดสินใจรวดเร็ว ไม่ต้องประนีประนอมให้เสียเวลา
1
แล้ว กรานอฟสกาย่า นี่แหล่ะที่เป็นคนดึง ปีเตอร์ เช็ก อดีตผู้รักษาประตูเข้ามารับบทผู้อำนวยการเทคนิค ซึ่งต้องทำงานร่วมกับ แลมพาร์ด โดยตรง ไม่ว่าจะเรี่องวิเคราะห์ผลงานผู้เล่นหรือให้คำแนะนำต่างๆ
1
น่าสนใจคือ เช็ก กับ แลมพาร์ด กอดคอฝ่าฟันอุปสรรค อีกทั้งเดินหน้าล่าความสำเร็จร่วมกัน 10 ปีเต็ม น่าจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันพอสมควร
1
อย่างไรก็ดีเมื่อ เช็ก หวนคืนสู่เดอะ บริดจ์อีกครั้ง มิตรภาพหนหลังดูเหมือนจางลงไป เขาโดน กรานอฟสกาย่า ดึงตัวมาทำงานนี้ ฉะนั้นจึงคล้ายเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
1
อย่างที่ วอลเลซ บอกไว้ไม่มีผิดหรอก กรานอฟสกาย่า มีอำนาจมากสุดในทีม เป็นรองเพียงแค่ อบราโมวิช ทุกคนจึงต้องซ้ายหันขวาหันตามนั้นห้ามหืออือ
ในสายตาคนนอก เช็ก น่าจะสนับสนุน แลมพาร์ด แต่คนในจะรู้เลยว่าไม่ใช่อย่างนั้น เพื่อนรักต้องมาหักกันเองในหลายเรื่อง
เช็ก รับคำสั่งโดยตรงมาจาก กรานอฟสกาย่า แบบไม่มีบิดพลิ้ว บางเรื่องหาก แลมพาร์ด ไม่เห็นด้วย ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
1
เคยมีข่าวว่าการเสริมผู้เล่นในตลาดฤดูร้อนที่เพิ่งผ่านไป แลมพาร์ด แทบไม่ได้นักเตะที่ต้องการเลย น่าจะมีเพียงแค่ เบน ชิเวลล์ คนเดียวชอร์ตลิสต์ไปแล้วได้รับการตอบสนอง
1
ที่เหลือเป็นการดำเนินงานเองของ กรานอฟสกาย่า เกือบทั้งสิ้น นั่นจึงสร้างความหงุดหงิดให้ แลมพ์ส พอสมควร
1
ในเมื่อเขาเป็นคนต้องใช้งานผู้เล่น แต่ไม่ได้เลือกเฟ้นด้วยตัวเอง การทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจจึงเป็นไปได้ยาก
กรอบของการเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลสโมสรคือจะสามารถเลือกนักเตะเองได้ มีสิทธิ์จัดการตามความเหมาะสม รวมถึงในส่วนทีมเยาวชนก็ต้องมาร่วมดูแล
แต่นั่นคือรูปแบบบริหารยุคเก่า ปัจจุบันสโมสรในอังกฤษอิงแนวทางจากภาคพื้นยุโรปมาเยอะ การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น
แลมพาร์ด เองคงทำงานด้วยความอึดอัด ไม่ได้รับการสนุนจากเบื้องบน เพื่อนอย่าง เช็ก ก็กลายเป็นคนอื่น เหมือนไม่รู้จักกัน นักเตะบางคนก็แข็งขืนไม่ค่อยเชื่อฟัง
ผลกระทบกระแทกถึงฟอร์มในสนามอย่างจังด้วย ซึ่งคนรับผิดชอบเป็นใครไม่ได้เลยนอกจาก แลมพาร์ด นั่นเอง
1
ไม่ผิดนักหากจะบอกว่าเขาเหมือนตัวคนเดียวในทีม มันเคว้งคว้างล่องลอยไร้หลักยึดของจริง
1
แน่นอนมันน่าผิดหวังตอนโดนปลดกลางอากาศ แต่เมื่อเดินออกมาแล้วคงรู้สึกปลอดโปร่งหายใจคล่องกว่าเดิม
2
หลังจากเดินออกจากเดอะ บริดจ์แล้ว แลมพ์ส ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว มีรูปให้เห็นประปรายว่ายิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนคนมีความสุขดี
2
การขี่หลังสิงห์แล้วคอนโทรลให้ก้าวย่างอย่างราบรื่นไม่ใช่เรื่องง่าย
และยากยิ่งกว่านั้นคือจะลงมาอย่างไร เพื่อให้เจ็บตัวน้อยสุดหรือไม่โดนสิงห์แว้งมาขย้ำซะก่อน
โธมัส ทูเคิ่ล ผู้มาแทนเริ่มต้นผลงานหรูหราไม่เบา ถึงตรงนี้ 8 นัดทุกรายการยังไม่รู้จักแพ้ ชนะถึง 6 เกมด้วยกันที่เหลือเสมอ 2
ล่าสุดการเข่นแอตเลติโก้ มาดริด จ่าฝูงของลาลีกาลงได้ พร้อมทั้งเป็นฝ่ายไล่กดอยู่เกือบข้างเดียว สะท้อนอย่างดีแล้ว
1
อีกทั้งกุนซือเยอรมันผ่าตัดสไตล์การเล่นใหม่ แทบไม่หลงเหลือรูปแบบเดิมของ แลมพาร์ด ให้เห็นเลย
1
การต่อบอลเท้าต่อเท้าอันแม่นยำ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เพรสซิ่งอันเข้มข้น ล้วนแต่นำมาสู่เชลซีในยุคนี้ทั้งสิ้น
1
ทูเคิ่ล เปรียบเสมือนผู้มากอบกู้ ดึงความเชื่อมั่นที่เคยหายไปกลับคืนมาอีกครั้ง ซีซั่นนี้เรื่องลุ้นแชมป์ลีกคงยาก ได้แค่ประคองติดท็อปโฟร์
ความหวังอันเรืองรองจึงส่งไปยังฤดูกาลหน้า ไม่ต้องห่วงเลยว่าเชลซีคงจะจัดหนักอีกครั้งในเรื่องงบประมาณเพื่อประเคนให้ ทูเคิ่ล โดยเฉพาะ
3
แม้ข่าว โรมัน อบราโมวิช เทงบประมาณ 260 ล้านปอนด์ที่เพิ่งถูกโหมไปจะดูโคมลอย ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือนัก แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้เช่นกัน
1
มันชัดเจนเลยว่าเป้าหมายคือการกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ การใช้เงินมหาศาลหว่านในตลาดซื้อขายผู้เล่นในซัมเมอร์ที่แล้ว ชนิดที่แคร์โควิด-19 พอบอกได้ในระดับหนึ่ง
ชื่อของ เออร์ลิ่ง ฮาแลนด์ หรือ แยน โอบลัค จึงโผล่มาเป็นตัวละครสำคัญ ท่ามกลางความคาดหวังของกองเชียร์
อย่างที่เรารู้กัน ทูเคิ่ล เองเป็นคนหัวแข็งพอตัว มีอีโก้อยู่ภายใน เชื่อมั่นในแนวทางของตน แล้วเมื่อมาเจอกับคนที่แข็งเหมือนกันอย่าง กรานอฟสกาย่า อาจเข้าอีหรอบเดิม
3
เชลซีมีกำลังทุนและทรัพยากรนักเตะที่พร้อม อุปสรรคอยู่ที่รูปแบบบริหารของ อบราโมวิช ที่มักก่อให้เกิดการเมืองภายใน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ยุค โชเซ่ มูรินโญ่ คุมแล้ว
นี่คือแบบทดสอบสำคัญของ ทูเคิ่ล หลังได้รับบทเรียนมาพอสมควรกับปารีส แซงต์ แชร์กแมง ว่าจะจัดการรับมืออย่างไร
1
นอกจากต้องทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ทูเคิ่ล ยังต้องจับทิศทางการเมืองภายในทีมให้ถูกอีกต่างหาก ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้งานเดินอย่างราบรื่น
การเมืองภายในนี่แหล่ะที่อาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้โครงสร้างการทำงานมีปัญหา ไม่อย่างนั้นเชลซีอาจประสบความสำเร็จมากกว่าที่เคยในยุคของ อบราโมวิช
ทูเคิ่ล จะนั่งเก้าอี้ผู้จัดการทีมได้กี่ปี ลองมาทายดูกันดีกว่า
1
.
ทุกท่านสามารถติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ ..
.
และเพิ่มเพื่อนไลน์แอด "เพื่อเด้งเตือน" ให้คุณได้อ่านก่อนใคร กดที่ลิงค์นี้ครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา