ณ เวลานี้ เดือนกันยายน นับเป็นเวลา 1 เดือนเศษ แล้วที่เกม JRPG ที่มีชื่อว่า Octopath Traveler วางจำหน่าย ซึ่งยอด Digital Sownload + ยอด Shipped units...ในวันที่ 3 สิงหาคม นั้นทะลุ 1 ล้านตลับเป็นที่เรียบร้อย...ซึ่งนับจากวันวางจำหน่ายแล้วเพียง 21 วันเท่านั้น...
.
เรามาดูยอดขายของเกม JRPG 16-bit อื่นๆของค่าย Square Enix เปรียบเทียบกันดีกว่า...
.
- Final Fantasy 4 ยอดขาย 2.1 ล้าน เริ่มจำหน่ายในปี 1991
- Final Fantasy 5 ยอดขาย 2.6 ล้าน เริ่มจำหน่ายในปี 1992
- Final Fantasy 6 ยอดขาย 3.4 ล้าน เริ่มจำหน่ายในปี 1994
.
ในยุคสมัยที่เราไม่จะค่อยมีเกม JRPG สไตล์ 16-bit แล้ว จะเห็นได้ว่ายอดขายของ Octopath Traveler นั้นถือว่าทำได้ดีมาก...อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ Square Enix กล้าที่จะทำเกมในรูปแบบนี้อีกครั้ง ?
.
ทุกอย่างเริ่มต้นมาจากความทรงจำอันหอมหวานในวัยเด็ก...คุณ มาซาชิ ทาคาฮาชิ ผู้พัฒนาเกม Octopath Traveler...ชีวิตวัยเด็กของเขานั้นเติบโตที่โอกินาว่า เขาหลงรักการเล่นเกมตั้งแต่ยังเด็ก โดยวัยเด็กนั้นเขานั่งดูพี่ชายทั้ง 2 ของเขาเล่นเกม Final Fantasy 3 แม้จะไม่รู้เรื่องกับศัพท์ยากๆในเกมอย่าง Chaos , Holy Power แต่เขาก็สนุกสนานที่ได้นั่งดูพี่ชายของเขาเล่นเกมนี้
.
อีกหนึ่งหัวหอกสำคัญของ Octopath Traveler คือ คุณ ยาสึโนริ นิชิกิ ซึ่งความหลงใหลในเกมของเขา ก็เริ่มจากการนั่งดูพี่ชายของเขาเล่นเกม Final Fantasy 4 เช่นกัน “เขารู้สึกช็อกมากตอนที่รู้ว่า Kain หักหลังเพื่อนๆ”
.
หลังจากที่ทั้งสองมาซาชิ (Producer) และ ยาสีโนริ (Composer) ได้ร่วมงานกัน ภารกิจของพวกเขาทั้งสอง คือการปลุกเสกเกมให้มีความสนุกในแบบความทรงจำวัยเด็กอีกครั้ง...Octopath Traveler นั้นถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยอิงจากเกม JRPG 16-bit สมัยก่อน แต่เพิ่มความพิเศษลงไปอีก นั่นคือเขาใส่ความเป็น 2D pixel-art ผสมกับ บรรยากาศฉากที่ใช้ 3D ประกอบ
.
คุณ มาซาชิ กล่าวว่าในยุคสมัยนี้ด้วยเครื่องมือใหม่ๆคุณสามารถจะสร้างสรรค์อะไรก็ได้ แตกต่างจากผู้พัฒนาเกมในสมัยก่อนที่มีข้อจำกัดหลายๆอย่าง ...เขาจึงอยากพัฒนาอะไรที่ต่อยอดเกมสมัย 16-bit ทำให้เหนือกว่าเดิม ซึ่งในที่สุดเขาก็พัฒนาสำเร็จ และเรียกมันว่าเป็นเกมสไตล์ HD 2D...ซึ่งมีความลึกของฉากในแบบ 3D มีแสงเงา มีหน้าชัด หลังเบลอ เป็นต้น
.
แต่เดิมที Square Enix มักจะพัฒนาเกม ตามความต้องการของเกมเมอร์ทั่วโลกเป็นหลัก...แต่บางเกมก็ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น เกม Bravely Default ที่เดิมทีตั้งใจพัฒนามาเพื่อคนญี่ปุ่น กลับกลายเป็นว่าเกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากเกมเมอร์ชาวต่างชาติ
.
จึงเป็นที่มาว่าทำไม Octopath Traveler นั้นก็จะพัฒนามาเพื่อตอบสนองความต้องการของเกมเมอร์ชาวญี่ปุ่น ไม่อิงตามมาตรฐานเกมเมอร์จากตะวันตก
.
ยอดดาวน์โหลดเดโม่ทดลอง เป็นตัวพิสูจน์ว่าพวกเขาคิดถูก เดโม่ได้รับการดาวน์โหลดไปมากกว่า 1.5 ล้านครั้ง และได้รับ Feedback ที่ดีกลับมาทั้งจากเหล่าเกมเมอร์ชาวญี่ปุ่น และเกมเมอร์ตะวันตก...
.
กล่าวไปถึงจุดเริ่ม ช่วงที่เกมนี้เริ่มพัฒนานั้น ทางทีมคิดเพียงแค่ต้องการทำเกมสำหรับเครื่องพกพา และยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะไปลงในแพลตฟอร์มไหน ประกอบกับเวลานั้นเครื่อง Nintendo Switch ยังเป็นแค่เครื่อง Prototype อยู่ ซึ่งพวกเขาไม่รู้เลยว่าฮาร์ดแวร์ของเครื่องจะออกมาในรูปแบบใด...
.
พวกเขาคิดแค่เพียงว่า พวกเขาต้องทำเกม “ที่ดี” ออกมาแล้ว พวกเขาเชื่อว่าเหล่าเกมเมอร์นั้นจะกล้าตัดสินใจทดลองเล่นเกมของพวกเขา
.
และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเวลานี้เครื่อง Nintendo Switch นั้นติดลมบนเป็นที่เรียบร้อย...ในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ยอดขายเครื่อง Nintendo Switch ทะลุหลัก 20 ล้านเครื่องเป็นที่เรียบร้อย...ทำให้โอกาสที่เกม Octopath Traveler จะทะลุ 2 ล้านนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมเลย...(สู้ๆ)
.
ในความเห็นของแอดแล้ว เกมนี้เป็นเกมที่ดีเกมหนึ่งเลยทีเดียว เชื่อว่าหลายท่านที่ได้ลองเล่นแล้วน่าจะมีความเห็นตรงกัน ทั้งบทที่เข้มข้น การพัฒนาระบบต่อสู้ Turn-base ที่เหนือกว่าเดิม ผสานกลับกลิ่นอายของแฟนตาซียุคเก่าในภาพ 2D HD ที่สวยงาม และเพลงที่ไพเราะ ...แม้ว่าเกม JRPG ที่แอดเริ่มต้นเล่นเกมแรกจะเป็น Final Fantasy 7 แต่เกมในสไตล์ 16-bit แบบนี้ก็ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว
.
แน่นอนว่าลงข้อมูลเกี่ยวกับ Octopath Traveler ร้าน Toy’s R Salt ก็ไม่พลาดที่จะนำของสะสมที่หายากมาก (Sold out ทุกเว็บ) มาจำหน่ายให้กับเหล่าสาวกของเกมได้เลือกดูกัน...
1. แผนที่โลก Octopath World Map สกรีนลงบนผ้าภาพชัดเจนสวยงามราคา 690 บาท รวมส่ง
2. กระเป๋า Octopath Traveler Canvas Tote Bag สกรีนลายตัวเอกทั้ง 8 ตัวจากเกม 990 บาท รวมส่ง...สินค้าลิขสิทธิ์แท้จาก Square Enix หายากแบบนี้ไม่ควรพลาด...
.
อย่าพลาด !! กด Like เพจเพื่อติดตามบทความที่หลากหลาย ของสะสมสำหรับสาวกเกม อนิเมะ คอมมิก ซีรี่ส์ จาก Toy’s R Salt นะครับ..
.
ช่องทางติดต่อแอดเกลือที่ดีที่สุด LINE@ : toyrsalt
.
.
Reference