26 ก.ย. 2018 เวลา 14:20
ว่ากันด้วยปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียม
ช่วงนี้เวลาผมอ่านข่าวหรือบทความ มักจะมีการพูดถึงปัญหาถึงความไม่เท่าเทียมอยู่เสมอ ว่าเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนในหลายประเทศทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างอเมริกา และประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย
โดยมักจะยกประโยคที่คลาสสิคคือ ในปัจจุบันคนรวยส่วนน้อย 10% ครอบครองความมั่งคั่ง 70% ของทั้งโลก บ้างก็ว่าถ้าไม่ได้รับการแก้ไขต่อไป ระบบทุนนิยมจะล่มสลาย ทุกอย่างจะเป็นไปตามคำทำนายของ คาร์ล มากซ์
ความเห็นส่วนใหญ่ ก็มักจะเห็นไปในทางเดียวกันว่า ทุนใหญ่ในสังคมจะกวาดทรัพยากรของประเทศไปหมด คนรวยจะรวยยิ่งขึ้นเรื่อยๆ คนจนก็จะยิ่งจนลงเรื่อยๆ
แต่ในความเห็นผม ผมว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องความไม่เท่าเทียม (inequality) แต่เป็นปัญหาเรื่องความยากจน (poverty) และถ้าจะให้เจาะจงไปอีกก็คือปัญหาเรื่องความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) ไม่ใช่ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty)
ก่อนอื่นต้องอธิบายความหมายของความยากจนแต่ละชนิดดูก่อน แบบแรกคือความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) หมายถึงภาวะ ที่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในการมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา
แบบที่สองคือ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) หมายถึงรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่จะมีระดับคุณภาพชีวิตเหมือนคนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆ
ที่ผมให้ความสำคัญกับ ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) มากกว่าเพราะมันคือความยากจนจริงๆ เพราะมันหมายถึงเวลาคุณหิวคุณไม่สามารถหาซื้ออาหารได้ ไม่มีบ้านอยู่ก็ต้องนอนข้างถนน แต่ในขณะที่ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) เป็นความยากจนที่เกิดจาก “การเปรียบเทียบ”
สำหรับผม ผมว่าผมไม่มีปัญหาอะไรนะ ถ้าผมสามาถหาซื้อข้าวกะเพราไข่ดาวมาทานได้ ขณะที่คนส่วนใหญ่ทานไข่ปลาคาร์เวียร์ ผมสามารถมีบ้านหลังเล็กๆอยู่ได้โดยไม่ทุกข์ร้อนอะไร ในขณะที่คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในคฤหาสน์หรู
เราควรจะมีปัญหากับคนรวยก็ต่อเมื่อเค้าใช้ความมั่งคั่งแล้วส่งผลกระทบต่อคนอื่นเช่น การกว้านซื่อที่ดินทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นเพื่อที่จะได้สร้างบ้าน คอนโด ราคาแพง ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถหาที่พักราคาถูกได้ อย่างที่เกิดขึ้นในหลายๆประทศเช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ รวมถึงบางพื้นที่ในกรุงเทพด้วย หรือ การใช้อำนาจผูกขาดสินค้าบางอย่างทำให้ราคาสินค้าราคาแพง ค่าครองชีพราคาแพง ถ้าเป็นอย่างนี้รัฐก็ควรต้องเข้าไปช่วยเหลือแทรกแซง
รูปข้างล่างนี้คือตัวอย่างของ “ห้องพักโลงศพ” ของคนจนในฮ่องกง ซึ่งมีขนาดเล็กมาก
ถ้าเป็นไปได้ รัฐควรจะจัดหาที่พัก อาหาร ระบบสุขภาพ การศึกษา ที่มีมาตรฐานให้สำหรับคนกลุ่มนี้ (absolute poverty)
สอดคล้องกับหลายๆประเทศที่มีการทดลองใช้การให้เงินเดือนเพื่อให้เพียงพอที่จะเลี้ยงชีพ หรือ universal basic income แต่สำหรับผม ผมคิดว่าการให้ปัจจัยพื้นฐานโดยตรงไปเลย เช่น การสร้างหอพัก โรงอาหาร ฯลฯ น่าจะดีกว่าการให้เป็นเม็ดเงิน เพื่อป้องกันการใช้เงินไม่ตรงตามจุดประสงค์ เช่น เอาเงินไปซื้อเหล้า บุหรี่ หรือการเล่นพนันเป็นต้น
ส่วนปัญหาเรื่องจะทำให้คนขี้เกียจขึ้นมั้ย คนจะไม่ยอมทำงานมั้ย นั่นคงเป็นประเด็นที่จะถกเถียงกันได้อีกยาว ซึ่งแน่นนอนการที่จะทำแบบนี้ได้ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และไม่น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้ช่วงเวลาเร็วๆนี้
กล่าวโดยสรุป ความเห็นส่วนตัว ผมเห็นว่าความไม่เท่าเทียมที่เกิดจาก"การเปรียบเทียบ”นั้นไม่ใช่ปัญหา ความไม่เท่าเทียมที่เป็นปัญหาคือ การทำให้คนจนไม่มีโอกาสได้เข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิตที่จำเป็น
การที่คนรวยยิ่งรวยขึ้นเท่าไหร่ไม่สำคัญ แต่คนที่เหลือควรต้องต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่สามาถหาปัจจัยพื้นฐานมาดำรงชีวิตได้ ไม่ใช่มาบอกว่าคนรวยยิ่งรวยขึ้นนั้นทำให้ฉันจนลง
ฉันจนเพราะคนรวยขับเบนซ์ ส่วนฉันขับโตโยต้า ฉันจนเพราะใส่นาฬิกา casio ขณะที่คนอื่นใส่ rolex หรือฉันจนเพราะมีเงินเดือน 50,000 บาท ในขณะที่คนอื่นมีเงินเดือน 150,000 บาท
“การเปรียบเทียบ” ทำให้ทุกวันนี้เราไม่รู้จักพอ ดิ้นรน เป็นทุกข์ มานักต่อนักแล้ว
เราสามรารถเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาตัวเองได้แต่ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองเป็นทุกข์
อย่างผมก็มี warren buffet เป็นเป้าหมาย ผมไม่ได้หมายถึงจะมีเงินให้ได้เท่าเขา ผมอยากใช้ชีวิตให้ได้อย่างเขา มีปัญญาที่ดี มีความสุขในการลงทุน มีอิสรภาพทางการเงิน มีอิสระจากวัตถุสิ่งของต่างๆ และได้ใช้ทรัพยากรที่ตัวเองมีช่วยเหลือคนอื่น
ในขณะที่ปัจจุบันผมก็ยังสามารถมีความสุขระหว่างทางได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้บรรลุเป้าหมายก่อนแล้วถึงจะมีความสุข
แล้วคุณล่ะครับ วันนี้คุณเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่นบ้างมั้ยครับ
และคุณรู้สึกยังไงกับมันบ้างครับ
โฆษณา