15 พ.ย. 2018 เวลา 06:37 • สุขภาพ
#ภัยร้ายที่มาพร้อมความหวาน
น้ำตาล จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่แม้ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่หากบริโภคในปริมาณมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า คนทุกเพศทุกวัยจึงควรลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง
น้ำตาลแบบไหนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ?
น้ำตาลเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต โดยปกติจะพบน้ำตาลได้ในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นต้น ซึ่งอาหารดังกล่าวล้วนประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่สำคัญต่อร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน เส้นใยอาหาร หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น การบริโภคน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีอยู่ในอาหารแบบไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตจึงมักไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันมักเติมน้ำตาลลงในอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนม เพื่อปรุงแต่งรสชาติให้หวานถูกปากผู้บริโภค โดยน้ำตาลที่ใช้ในการประกอบอาหารโดยทั่วไป คือ น้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทราย ในประเทศไทยสามารถผลิตน้ำตาลชนิดนี้ได้จากการแปรรูปอ้อย ซึ่งหากกินเข้าไปในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน
น้ำตาลที่มากเกินไปเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) จึงแนะนำให้ผู้ใหญ่และเด็กบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม/วัน
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำตาลโดยประมาณในเครื่องดื่มที่คนทั่วไปนิยมบริโภค มีดังนี้
ชาเขียว 500 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 14.5 ช้อนชา
กาแฟสด 475 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10.5 ช้อนชา
น้ำอัดลม 450 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10.75 ช้อนชา
นมเปรี้ยว 400 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 19 ช้อนชา
ชานมไข่มุก 350 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 11.25 ช้อนชา
น้ำผลไม้ 200 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 6.25 ช้อนชา
น้ำตาลอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร ?
-น้ำหนักเพิ่ม
-ระดับพลังงานแปรปรวน
-เสี่ยงเกิดสิว
-หน้าแก่ก่อนวัย
-เซลล์อาจเสื่อมสภาพ
-เสี่ยงโรคซึมเศร้า
-เสี่ยงโรคเบาหวาน
-เสี่ยงโรคหัวใจ
-เสี่ยงไขมันพอกตับ
-เสี่ยงมะเร็ง
#น้ำมันรำข้าว #น้ำมันรำข้าวจมูกข้าว
#ความดัน #ไตรกลีเซอไรด์ #ไขมันในเลือดสูง #มะเร็ง #เบาหวาน
#ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าว
โฆษณา