20 พ.ย. 2018 เวลา 08:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวที่น่าสนใจของประสาทวิทยา#Neuroscience
สูญเสีย (ส่วนหนึ่ง) ของจิตใจของคุณไป PART 1
“การผ่าศึกษาด้วยความระมัดระวังเป็นดั่งฐานมั่นที่ทำให้เกิดภาพอันชัดเจนขึ้นของกายวิภาคฯสมอง ก้อนเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่บนสุดของไขสันหลังนั้นถือได้ว่าเป็นโครงสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ซีกสมองที่มีลักษณะเป็นรอยย่นทั้งสองฝั่ง ซึ่งแต่ละฝั่งถูกแบ่งออกเป็นหลายบริเวณย่อยๆ”
ทั้งหมดนี้เป็นดั่งป้ายกำกับที่คอยเตือนให้เกิดความระมัดระวังที่มักพบเจอได้บ่อยในภาษาละติน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจสำหรับนักศึกษาผู้เรียนรู้เรื่องราวของสมองในยุคปัจจุบัน
โดยช่วงแรกๆนั้นนักกายวิภาคศาสตร์ได้เห็นส่วนของสมองที่เรียกว่า เวอร์มิส (vermis) (ซึ่งดูคล้ายกับหนอน) ส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) (ซึ่งดูคล้ายกับม้าน้ำ) ส่วนของคอลลิคูลัส (Colliculus) (ที่คล้ายกับเนินเขาลูกเล็กๆ) หรือแม้กระทั่งส่วนของทาลามัส (thalamus) (ที่เปรียบเสมือนดั่งห้องนอน)
คำถามได้ถูกผุดขึ้น “การกระทำที่ต่างออกไปเพียงเล็กน้อยคือการกระทำในสิ่งที่แตกต่างไปอย่างนั้นเลยเชียวหรือ?”
การเคลื่อนย้ายนำชิ้นส่วนของสมองออกมาเป็นดั่งการบอกใบ้กร่ายๆ ให้ทราบได้ว่า บางครั้งบางคราวเหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการประสบอุบัติเหตุหรือจากตัวโรค
การจับคู่ระหว่างบางส่วนที่ขาดหายไปกับการทำงานที่สูญเสียไปไม่ได้เป็นสิ่งสุดท้าย
การนำตัวจุดสตาร์ทเครื่องยนต์ออกเป็นการทำให้รถหยุดอยู่นิ่งๆ ได้ แต่การทำงานของสมองมิอาจเทียบได้กับการขับเคลื่อนยานพาหนะ
แต่ถึงกระนั้นการทำแผนที่ในส่วนที่ทำงานบกพร่องไปของสมองก็สามารถแสดงให้เห็นถึงบริเวณต่างๆที่เกี่ยวโยงกับกิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างเฉพาะตำแหน่งในสมองส่วนซีรีบลัม (หรือในภาษาไทยที่เราเรียกสมองส่วนนี้ว่า “สมองใหญ่”)
ในปี ค.ศ. 1861 พอล โบรคา (Paul Broca) ได้นำเสนอกรณีศึกษาซึ่งเป็นผู้ป่วยชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเล่นว่า “แทน (Tan)” นอกเหนือไปจากคำๆเดียวที่เขาสามารถพูดได้ แทนสูญเสียความสามารถในการพูดไป 21 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเขาจะยังสามารถสาปแช่งได้อยู่ในยามที่มีบางอย่างมายุให้เขาโกรธ
หลังจากที่แทนเสียชีวิตไปแล้ว โบรคาได้พบกับรอยโรค ณ ตำแหน่งทางด้านหน้าของสมองซีกซ้าย
สำหรับในกรณีอื่นๆที่มีความคล้ายคลึงกันนี้อย่างโรคหลอดเลือดสมองหรือแม้กระทั่งรอยแผลคล้ายถูกกรีดแทงที่ปรากฏในสมอง ทำให้เขาได้ทราบถึงผลที่เกิดขึ้นตามมานั้นก็คือ การสูญเสียความสามารถในการพูด หรือที่ศัพท์เฉพาะใช้คำว่า aphasia (อ่านว่า อะ-ฟา-เซีย)
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราได้ทราบว่า ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการที่ตำแหน่งของสมองที่มีชื่อว่า โบรคา (Broca’s area) ได้ถูกทำลายลงไป
ไม่นานนับจากนั้น ในทศวรรษที่ 1870 คาร์ล เวอร์นิเก (Carl Wernicke) แห่งเยอรมนีได้นิยามการแบ่งประเภทของ aphasia สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการพูด แต่มิอาจสามารถเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน ซึ่งเขาได้ระบุตำแหน่งของรอยโรคที่เป็นคนละตำแหน่งกันกับที่ พอล โบรคา ได้ค้นพบ ตำแหน่งใหม่ที่ว่านี้รู้จักกันในนามว่า Wernicke’s area
อ้างอิงรูปภาพ: https://owlcation.com/social-sciences/cognitive-neuropsychology-broca-wernicke
อ้างอิง: Turney J. (2018). losing (part of) your mind, Cracking neuroscience (pp. 14-15): Octopus publishing group Ltd.
โฆษณา