2 ธ.ค. 2018 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไข่ออนเซ็น กับ จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง
วันก่อนได้ไปกินไข่ออนเซ็นแล้วก็เลยสงสัยจังเลยว่า ทำไมต้องเรียกไข่ออนเซ็นด้วยนะ แล้วก็สงสัยต่อไปเรื่อยๆค่ะ วันนี้ครูเมย์เลยขอมาเล่าคุณสมบัติของไข่ออนเซ็นซักหน่อย
1. ไข่ออนเซ็นจะมีลักษณะไข่แดงแข็งหน่อยๆ ไข่ขาวนิ่ม เพราะเกิดจากการไปแช่บ่อออนเซ็นที่อุณหภูมิไม่ร้อนจัด ไข่แดงสุกที่อุณหภูมิไม่เกิน 65องศาค่ะ ส่วนไข่ขาวจะสุกที่ประมาณ 70องศาขึ้นไป ถ้าไปแช่ในบ่อประมาณไม่เกิน 70 องศา เราจะได้ไข่แดงสุกหน่อย และไข่ขาวสุกน้อยหน่อยค่ะ
2. ไข่ออนเซ็นสามารถต้มในน้ำร้อนน้ำท่วมแค่ครึ่งไข่พอ เอาห่อทิชชู่ห่อไข่เอาไว้ จะได้ร้อนทั่วๆ เวลาทำก็คือ ต้มน้ำให้เดือด พอเดือดปุ๊บ ปิดไฟ ใส่ใข่ ปิดฝา รอ 13 นาที (ก็แล้วแต่หม้อด้วยนะคะ)
3. ไข่ออนเซ็นเขย่าแล้วไม่มีเสียงแบบไข่ดิบนะเออ
4. ไข่ออนเซ็นปั่นแล้วไม่หมุนเป็นลูกข่าง แต่ไข่ต้มจะหมุนติ้วเลย ... เอาไว้ใช้เวลางงว่าไข่ใบไหนต้มแล้ว ยังไม่ต้ม ต้มแบบไม่สุกได้ค่ะ
เหตุผลก็คือ วัตถุจะหมุนรอบจุดศูนย์กลางมวลเสมอค่ะ เวลาไข่ยังเป็นของเหลวเนี่ย มวลมันก็ขยับไปมา เวลาหมุนรอบจุดศูนย์กลางมวลก็จะลำบาก เลยหมุนไม่ได้ค่ะ
อ้อ แถมนิดนึง ทำไมไข่เวลาหมุนแล้วมันถึงตั้งได้ แต่เวลาตั้งเฉยๆตั้งไม่ได้ ? ก็เพราะว่าการหมุนมีความเฉี่อย .. เฉี่อยในทางวิทยาศาสตร์แปลว่าไม่อยากเปลี่ยนแปลง พอเค้าให้หมุนก็หมุนอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเดิมทีมันไม่หมุนมันก็ไม่หมุนอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งมีแรงภายนอกมากระทำค่ะ
ส่วนสุดท้ายครูเมย์ทำไข่ออนเซ็นได้ไหม มาลุ้นใน VDO นะคะ :)
มาคุยกันต่อได้ที่ 
โฆษณา