22 ธ.ค. 2018 เวลา 04:47 • ประวัติศาสตร์
“ถ้านกแก้วไม่ร้องเพลง ข้าจะฆ่ามัน” โอดะ โนบุนางะ
5
“ถ้านกแก้วไม่ร้องเพลง ข้าจะบังคับให้มันร้อง” โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ
“ถ้านกแก้วไม่ร้องเพลง ข้าจะรอจนกว่ามันจะร้อง” โตกุงาวะ อิเอยาสึ
นี่เป็นสามแนวคิดใหญ่ที่สะท้อนตัวตนของสามผู้นำที่รวมแผ่นดินในญี่ปุ่นยุคเซ็นโกคุได้สำเร็จ แต่ที่จริงแล้ว อาจจะไม่มีแนวคิดไหนผิดหรือถูกทั้งหมด
ของโนบุนางะอาจจะดูโหดเหี้ยม แต่มันก็เข้ากับสถานการณ์ช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นแตกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ มีแต่การรบราฆ่าฟันทุกวัน เรียกว่าแผ่นดินลุกเป็นไฟก็ว่าได้ ถ้าไม่มีโนบุนางะที่มีแนวคิดเด็ดขาดว่า "เผาให้เหี้ยน ฆ่าให้เรียบ" ก็คงไม่ทำให้ศัตรูที่มีกำลังเหนือกว่าในช่วงเวลานั้นเกรงกลัวได้ เขาก็คงเอาตัวรอดมาขึ้นมาท่ามกลางศัตรูที่มีกำลังมากกว่าได้เช่นกัน
ขณะที่ฮิเดโยชิขึ้นมาเป็นใหญ่ต่อจากโนบุนางะ เขามีบทเรียนจากตอนโนบุนางะที่สร้างศัตรูไว้มากเกินไปมาแล้ว ก็ลดการฆ่าฟันศัตรูลง แต่มาใช้วิธีบีบศัตรูให้เข้าร่วมแทน เรียกง่ายๆว่า ฮิเดโยชิคือคนที่ชอบมากหากเจอศัตรูที่เก่งกาจ เพราะเขาจะคิดเสมอว่าถ้าทำให้ฝ่ายยอมแพ้ได้ เขาก็จะได้ลูกน้องที่เก่งกาจมาเพิ่มด้วย
พอถึงยุคของอิเอยาสึ สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปอีก เพราะอำนาจเก่าของฮิเดโยชิแม้จะมั่นคง แต่ก็เมื่อฮิเดโยชิทำผิดพลาดเรื่องสงครามเกาหลี ภายในก็เริ่มแตกแยก อีกทั้งผู้สืบทอดเองก็ยังเด็กมาก สิ่งที่อิเอยาสึต้องทำก็คือ เฝ้ารอโอกาส ระหว่างนั้นก็สร้างบารมี หาพรรคพวกเพิ่ม แล้วเมื่อโอกาสมาถึง เขาก็ไม่พลาดที่จะคว้าไว้
เรื่องของทั้งสามคน ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ดีสำหรับทุกคนในการทำงานและใช้ชีวิตเลยครับ
ถ้าสนใจเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับประวัติศาสตรสามก๊ก จีน และญี่ปุ่น กับแนวคิดต่างๆ สามารถติดตามได้ที่เพจ https://m.facebook.com/SamkokSengoku/
#ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
#เซ็นโกคุ
#โนบุนางะ
#ฮิเดโยชิ
#อิเอยาสึ
โฆษณา