Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Rathakrit Songsumphao
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2019 เวลา 01:08 • ประวัติศาสตร์
ความเห็นเรื่อง ยุทธหัตถี ๓ ... สัปยุทธ์
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ประมวลเหตุการณ์ ศึกแห่งประวัติศาสตร์
๑. คำให้การกรุงเก่า (ภาพที่๑) ... บันทึกถึงช่วงการทำยุทธหัตถีของ สมเด็จพระนเรศ ไว้น่าสนใจอยู่ ๕ ช่วง ...
..."แล้วก็ให้เอาธงใหญ่มาปักลงตรงหน้าช้างทั้งสอง ทำสัญญาแก่กันว่า ถอนธงขึ้นเมื่อไหร่ ก็ให้เข้าทำยุทธหัตถีกันเมื่อนั้น สัญญากันแล้วก็ต่างพระองค์เปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงเครื่องเกราะตามอย่างวิธีที่จะทำยุทธหัตถี"...
ข้อความนี้ชัดเจนถึง ขนบแบบแผนในการทำยุทธหัตถี มีระเบียบการตกลงเงื่อนไขและแบบแผนการเตรียมตัวต่อสู้ ...
..."พอได้ฤกษ์แล้วต่างพระองค์ก็ให้ถอนธงสัญญานที่ปักไว้ ทั้งสองพระองค์ก็เข้าทำยุทธหัตถีชนช้างกัน(๑)"...
เข้าปะทะสัปยุทธ์กันครั้งแรก
..."ขณะนั้นพระมหาอุปราชาจะเอาจักรขว้างพระนเรศวร พระนเรศวรเห็นดังนั้นจึงตรัสว่า พระเชษฐาทำอะไรอย่างนี้ เห็นจะเคยใช้อุบายทำร้ายเขาอย่างนี้เสมอดอกกระมัง ซึ่งเราพี่น้องมาทำสงครามกันคราวนี้เปน "ธรรมยุทธวิธี" พระเชษฐาจะลอบทำร้ายอย่างนี้ไม่สมควร พระมหาอุปราชาจึงตอบว่า เราลองใจดูดอก มิได้คิดว่าจะเอาจักรขว้างพระน้องจริงๆ ตรัสแล้วต่างพระองค์ก็เข้าทำยุทธหัตถีกันอีก(๒)"...
บันทึกตรงนี้ปรากฏคำว่า "ธรรมยุทธวิธี" ยิ่งตอกย้ำว่า การยุทธหัตถีมีจารีตแบบแผนแน่นอน และ มีการใช้ จักร (ภาพที่๒-๓) ในสนามรบจริง
..."ช้างพระนเรศวรมีกำลังน้อย เสียท่าเบนช้างให้พระมหาอุปราชา พระมหาอุปราชาก็ทรงพระแสงง้าวฟันพระนเรศวร พระนเรศวรหลบทัน แต่ถูกพระมาลาขาดไปประมาณ ๒นิ้ว(๓)"...
จังหวะสำคัญครั้งแรก เป็นทีของพระมหาอุปราชาแต่ทรงพลาด ตรงนี้ขออธิบายว่า มีความเป็นไปได้ ๕ ประการ
- ช้างของพระมหาอุปราชาเข้าชนตรงๆ ส่วนช่างของสมเด็จพระนนเรศก็ถอยตรงๆ ทำให้มีระยะห่างมาก พระแสงง้าวของพระมหาอุปราชาจึงถึงระยะแค่ปลายง้าว (ภาพที่๔)
- พระมหาอุปราชา ทรงตัดสินพระทัยช้า จึงทำให้สมเด็จพระนเรศออกนอกระยะได้
- พระมหาอุปราชา ถูกสมเด็จพระนเรศ กระทำบางอย่างก่อนที่ช้างทรงจะเบนหนี เช่น การโจมตีด้วยความรุนแรงหรือปัดพระแสงง้าวให้เบนออก จึงทำให้ พระมหาอุปราชาโจมตีกลับช้า สมเด็จพระนเรศจึงทรงเอี้ยวตัวหลบได้ทัน
- พระมหาอุปราชา ถูกสมเด็จพระนเรศ กระทำบางอย่างก่อนที่ พระแสงง้าวของพระมหาอุปราชา จะถึงพระองค์ เช่น การโจมตีสวนทันทีเพื่อทำลายจังหวะ จึงทำให้ แนวฟันของพระมหาอุปราชา พลาดเป้า ผนวกกับสมเด็จพระนเรศจึงทรงเอี้ยวตัวหลบได้ทัน
- สมเด็จพระนเรศ ทรงพระปรีชาใช้พระแสงง้าว เบี่ยงแนวฟันของ พระมหาอุปราชาได้อย่างเฉียดฉิว
..."ช้างพระนเรศวร ถอยหลังไปถึงจอมปลวกแห่งหนึ่ง ในป่าพุทรายันได้ถนัด ก็เอาเท้าทั้งสองยันกับจอมปลวก ขยับแทงถูกโคนงาช้างพระมหาอุปราชา ช้างพระมหาอุปราชาเบนท้ายหนี พระนเรศวรเห็นได้ที ก็เอา พระแสงง้าว ฟันพระมหาอุปราชา ขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้าง(๔)"...
การที่ช้างของสมเด็จพระนเรศ แทงงาเข้าโคนงาช้างพระมหาอุปราชาได้ เป็นไปไม่ได้ที่จะแทงได้ตรงๆ เพราะ นั่นหมายถึงช้างของสมเด็จพระนเรศต้องอยู่ข้างล่าง แล้วจะทำให้สมเด็จพระนเรศ ใช้พระแสงฟัน พระมหาอุปราชาไม่ได้ (ภาพที่๕)
ที่วงเล็บตัวเลขไว้ แสดงว่า การสัปยุทธ์ทั้งหมด ก็มีการเข้าทำกันอย่างน้อย ๔ ครั้ง สิ่งที่น่าสนใจอีกส่วนคือ จังหวะการโจมตีเมื่อช้างอีกฝ่ายเบนหนี คือ จังหวะชิงชัยกันโดยแท้
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
๒. คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง ... ในบันทึก ก็กล่าวคล้ายๆกันในภาพรวม แต่มี ๒ จุดที่บันทึกต่างกัน
..."ส่วนพระนเรศวร์กับพระมหาอุปราช ก็เข้าชนช้างชิงชัย แล้วสู้รบฟันแทงกันด้วย พระแสงของ้าว ตามกระบวนเพลงขอ"
บันทึกถึงอาวุธที่ทั้งสองพระองค์เลือก ซึ่งเป็น "พระแสงง้าว ไม่ใช่ พระแสงของ้าว" และใช้วิชาของ้าวโดยเฉพาะด้วย
..."ช้างพระนเรศวร์นั้น ยันต้นพุทราอันนั้นเข้าได้แล้ว จึงชนกระแทกขึ้นไป ก็ค้ำคางช้างอุปราชาเข้า ฝ่ายช้างช้างอุปราชาก็เบือนหน้าไป พระนเรศวร์ได้ทีก็ฟันด้วยพระแสงของ้าว"...
คำให้การขุนหลวงหาวัด บันทึกถึงตรงนี้ละเอียดกว่า เมื่อช้างของพระมหาอุปราชาเบือนหน้าหนี ช้างของพระนเรศจึงได้ทียันต่อจน สามารถเข้า ด้านข้างช้างของพระมหาอุปราชาได้ ซึ่งนั่นจะทำให้ ช้างของพระมหาอุปราชาเสียหลัก และ เข้าระยะง้าวของสมเด็จพระนเรศพอดี (ภาพที่๖)
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ทั้งหมดที่กล่าวมาสำแดงให้เราเห็นว่า "การทำยุทธหัตถี" มิได้วัดกันเฉพาะ ความสามารถของ ขุนศึกบนคอช้าง แต่รวมไปถึง ศักยภาพของช้าง และ ความสามารถควาญช้างด้วย คือ การต่อสู้ชั้นสูงอันเกริกเกียรติโดยแท้
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย