Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JINTANAPHON
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2019 เวลา 12:40 • ประวัติศาสตร์
สวัสดีปีใหม่ 2019 ค่ะ ขอให้เป็นปีที่ดีสำหรับทุกคนนะคะ
วันหยุดที่ผ่านมาได้มีโอกาสพักผ่อนอย่างเต็มที่ด้วยการนอนอยู่บ้านเฉยๆค่ะ 55555 ก็มีดูซีรีย์ทาง Netflix และอ่านหนังสือบ้าง เดาว่าหลายๆคนคงออกไปเที่ยวต่างจังหวัดและใช้เวลากับคนที่เรารักอย่างเต็มที่นะคะ ^^
วันนี้ขอเริ่มต้นโพสแรกของปีด้วยบทความบางบทความจากหนังสือที่ได้อ่านมาช่วงวันหยุด ชื่อหนังสือ “ทำไมต้องรู้ทัน” เราซื้อหนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่ธันวาคมปี 2017 แต่ไม่เคยอ่านจบซักที เพราะเนื้อหาที่แน่นและเป็นประวัติศาสตร์ที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากหนังสือที่อ่านมามากกว่า 800 เล่มและย่อยข้อมูลเหล่านั้นลงหนังสือ “ทำไมต้องรู้ทัน” เล่มนี้เพียงเล่มเดียว ทำให้เนื้อหาทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมดทั้งเรื่องการเงิน การเมือง เศรษฐกิจและอีกหลายๆด้าน ในทุกท้ายบทผู้เขียนจะใส่แหล่งที่มาอ้างอิงไว้ทุกครั้งค่ะ บ่งบอกว่าถ้าเราสนใจในส่วนไหนก็สามารถไปหาต้นฉบับอ่านได้ค่ะ
เรื่องที่อยากมาแชร์วันนี้เป็นเรื่องจุดจบของรถรางไฟฟ้าในสหรัฐที่เคยเป็นที่นิยมมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ในอดีตนั้นรถรางไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากในเมืองต่างๆของสหรัฐฯเพราะขนคนได้มาก ค่าโดยสารถูกและสร้างมลพิษน้อย ในปี 1890 (พ.ศ. 2433) รถรางเดินทางกว่า 2,000 ล้านเที่ยวและเพิ่มเป็น 15.5 พันล้านเที่ยวในปี 1920 (พ.ศ. 2463) แล้วเริ่มลดลงพร้อมๆกับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์
.
สิ่งที่ทำให้การใช้รถรางหมดไปได้แก่ การที่นายทุนอเมริกันกลุ่มหนึ่งตั้งใจวางแผนทำลายธุรกิจรถรางไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อให้ชาวอเมริกันหันไปใช้รถยนต์
.
ในปี 1949 (พ.ศ. 2492) บริษัทเจเนอรัล มอร์เตอร์ (ผลิตรถยนต์) บริษัทแสตนดาร์ดออยล์ (ผลิตน้ำมัน) และบริษัทไฟร์สโตน (ผลิตยาง) ได้ร่วมกันประมูลซื้อกิจการรถรางไฟฟ้าใน 40 เมือง แล้วยุบกิจการทิ้ง!
.
และแทนที่ด้วยรถยนต์โดยสารที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนซึ่งผลิตโดยบริษัทเจเนอรัล มอร์เตอร์ และถูกผูกขาดเชื้อเพลิงจากบริษัทแสตนดาร์ดออยล์ที่ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แตกบริษัทออกมาเป็น 7 บริษัทหรือที่เรียกว่า “กลุ่มเจ็ดนางสาว” ได้แก่ แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวเจอร์ซี แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก แสตนดาร์ดออยล์แห่งแคลิฟอร์เนีย กัลฟ์ออยล์ เท็กซาโก บีพี และเชลล์
.
จากนั้นก็ตามมาด้วยปรากฏการณ์ “ยักษ์ใหญ่กินยักษ์เล็ก” หรือการซื้อและควบรวมเพื่อเพิ่มการถือครองแหลางสำรอง ขยายทุนและลดต้นทุน(ปลดพนักงาน) ซึ่งเริ่มขึ้นโดยเชฟรอนซื้อกัลฟ์ออยล์ในปี 1985 (พ.ศ. 2528) ตามมาด้วยเท็กซาโกซื้อเก็ตตี้ออยล์ โมบิลควบรวมกับซูพีเรียออยล์ บีพีซื้อสแตนดาร์ดออยล์แห่งโอไฮโอ และเอ็กซอนกลืนเท็กซาโกแห่งแคนาดา
.
ในระหว่างปี 1980-2004 (พ.ศ. 2523-2547) ธุรกิจน้ำมันในสหรัฐก็ควบรวมกันกว่า 2,500 แห่งการควบรวมครั้งใหญ่ที่สุดคือระหว่างเอ็กซอนกับโมบิล ตามด้วยบีพีกับโคโนโคและอาร์โค โคโนโคกับฟิลลิปส์และเชฟรอนซื้อเท็กซาโกและยูโนแคล
.
นายเฮนรี่ คิสซิงเกอร์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513) ซึ่งยังเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดในปัจจุบันเคยกล่าวไว้ว่า “ควบคุมน้ำมันคือการควบคุมโลก ควบคุมอาหารคือการควบคุมชาวโลก”
.
ต่อมา อลัน กรีนแสปน อดีตประธาน FED กล่าวหลังจากกองทัพสหรัฐฯบุกอิรักว่า “ทุกคนรู้ดีว่าสงครามในอิรักเป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่” และเขายังเขียนในหนังสือของเขาว่า “โลกกำลังหมดน้ำมันจากฟอสซิล โลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ดูเหมือนพร้อมจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อค้นหาน้ำมันส่วนที่เหลือ”
.
คำกล่าวของบุคคลทั้งสองชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯยืนอยู่บนจุดที่นโยบายต่างประเทศถูกกำหนดด้วยความต้องการน้ำมันตลอดมาและมันน่าจะเป็นเช่นนั้นต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เพื่อการเป็นผู้นำโลกต่อไปอีก 100 ปีตามโครงการ PNAC ที่วางแนวทางไว้ว่าสหรัฐฯ พร้อมจะใช้พลังทุกอย่างรวมทั้งการปฎิบัติงานของ CIA เพื่อเข้าถึงแหล่งพลังงาน ด้วยการมีส่วนร่วมและการรับประโยชน์ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง เอ็กซอนโมบิลและเชฟรอน
หากใครสนใจเรื่องราวในส่วนอื่นๆของหนังสือ สามารถหาซื้อหนังสือมาอ่านต่อได้นะคะ น่าจะยังมีขายอยู่ตามร้านหนังสือทั่วไป แต่หลังๆมาเราเองก็ไม่ค่อยเห็นหนังสือเล่มนี้วางขายแล้วเหมือนกันค่ะ ...... น่าแปลกมาก
9 บันทึก
25
2
10
9
25
2
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย