22 ม.ค. 2019 เวลา 18:17
……………3.เรื่องเล่าจากคลองบางกอกน้อย...ในครั้งที่ผมเกิดนั้นบ้านเมืองก็ยังอยู่ในความจำของสงครามโลกครั้งที่2ที่เลิกไปเมื่อปี 2488 บ้านที่อยู่ของผมในครั้งนั้น อยู่ปากคลองภาวนา ห่างจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย สัก 3 กม กว่าๆ เพราะคลองบางกอกน้อย ยาวประมาณ 4 กม ถึงวัดสุวรรณคีรี ถือเป็นสิ้นสุดคลองบางกอกน้อย ที่แยกไปคลองชักพระ หรือคลองบางระมาด ไปคลองมอญ ...อีกสายหนึ่งมาทางบางกรวย ไปออกคลองอ้อมนนท์....
และบ้านใกล้กับสถานีรถไฟบางกอกน้อยเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ ความจำแถวนี้ยังไม่เลือน แม่และยายจะเล่าเรื่องสงคราม ในยามที่คุยรำลึกถึงความหลัง ที่ฝังใจในหลายตอน กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้พวกเราที่มีผมกับพี่ชาย ที่วัยไล่เลี่ยกัน ถึงความน่ากลัวในครั้งที่ผ่านมา กับ บ้านที่ใกล้กับสถานีรถไฟบางกอกน้อย ที่ทั้งญี่ปุ่น และ เชลยสงคราม ได้ลงมาอาบน้ำ ใช้น้ำในคลองบางกอกน้อยนี้ ........
...........ความจำของแม่และ ยาย ที่เล่า เช่น แม่ยาย และ ยายทวด พายเรือไปขายของที่คลองบางหลวง คือของสวน ไปขายที่คลองบางหลวง เพื่อไปขายพืชผล ที่ปากคลองบางหลวง ผ่านหน้าอู่เรือพระราชพิธี เรือที่แม่และยายพายเรือ ผ่านเพื่อออกปากคลองบางกอกน้อย จะไปคลองบางหลวง เห็นทหารญี่ปุ่น มาอาบน้ำตรงบันไดปูน ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ของอู่เรือพระราชพิธี..วันนี้ก็ยังอยู่ น่าจะสร้างมาพร้อมกับสถานีรถไฟ ตอนที่ผมยังเด็ก เป็นที่ขนแร่ จากรถไฟมากองไว้ มะพร้าว จากภาคใต้ ของไทย....
....ทหารญี่ปุ่นจะคุม เชลยพันธมิตร มาทำงานที่นี่ โดยผูกล่ามติดต่อกัน หรืออาบน้ำ ก้ผูกโยงกันอย่างนี้ละ บริเวณนี้จะอยู่ตรงหน้าหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่มองเห็นจากด้านคลองบางกอกน้อย วัดอัมรินทราราม ที่รอดจากการทิ้งระเบิดของพันธมิตร ...และทหารญี่ปุ่นจะเรียบร้อยมาก ดูไม่น่ากลัวเท่าไร .....อย่างที่แม่และ ยายเล่าไว้ .......
............แต่ที่น่ากลัว ก็จากพันธมิตรนี่ละ ...ที่แม่และ ยายกลัว เพราะพันมิตรใช้เครื่องบินมาทิ้งระเบิด สถานีรถไฟบางกอกน้อยและที่อื่น แต่ เครื่องบินเมื่อจะบินผ่าน ก็ต้องได้ยินเสียงไซเรน ที่เรียกว่า “ หวอ “ เมื่อได้ยินเสียงไซเรน ดังมาแต่ไกล แสดงว่าฝ่ายพันธมิตร จะนำระเบิดมาทิ้งที่สถานีรถไฟ ก็จะเล่าเรื่องต้องวิ่งเข้าสวน หลบไป ถ้ากลางคืนก็ต้องดับไฟ มืดมองไม่เห็นตัวกัน ขนาดกินข้าวก็ต้องหลบทุกครั้ง ไม่รู้จะไปไหน ห่วงบ้าน และคนที่อยู่แถวนี้ก็ไม่ได้ไปไหน เมื่อเครื่องบินมา ก็จะเรียกกันหลบเข้าสวนหลังบ้าน จึงไม่กลัว ถ้าหิวข้าวก็ถือจานชามไปด้วย....
การทิ้งระเบิดสะพานของพันธมิตร
สร้างทางรถไฟมาเมืองกาญจนบุรี
.. ถ้ากลางวัน ก็ต้องหาใบไม้ ไปคลุมตัว ตามที่ยายและ แม่เล่า บางคนไปหลบในท้องร่อง ก็ต้องใช้ใบไม้พรางกาย กลัวเครื่องบินเห็น จะทิ้งระเบิดลงมา.....นี่ ความกลัว ของแม่ ยาย และ ยายทวด.....
...............ต่อมาเมื่อผมโตขึ้นมาหน่อย และ เข้าใจบ้าง จึงเริ่มขัดแม่บ้าง...ว่าจริงๆแล้ว แม่ไม่ต้องวิ่งหรอก นั่งอยู่กับที่นี่ละ บ้านเรา เขาจะมาทิ้งบ้านเราทำไม ให้เปลืองระเบิด..เขามี เรื่องที่จะนำไปทิ้งที่หมายที่ทหาร ญี่ปุ่น ชุมนุมอยู่ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อยที่จะไปเมืองกาญจนบุรีนี่ละ ภารกิจเขาหลักๆ คือขอเมืองไทยเป็นทางผ่าน เพื่อจะสร้างทางรถไฟไปพม่า ที่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว อ.เมือง..จ.กาญจนบุรี ที่ห่างจากบ้านผมที่ท่าม่วงวันนี้ไปประมาณ สิบกว่ากิโลเมตรเอง....
เชลยสร้างทางรถไฟกาญจนบุรี
.....ตอนนั้นผู้คนกลัวแต่เครื่องบิน..บางคนสติแตกจากที่ยายเล่าให้ผมฟังว่าพอเครื่องบินๆผ่านตกใจ ร้องไห้ โดดลงน้ำลงท่า วิ่งเตลิดหายไปในสวน หากันไม่เจอ กว่าจะเจอหมดแรงนั่งหลับคาสวนที่ลึกเข้าไปข้างใน เป็นเรือกสวน ที่เสมือนป่ามากๆ ต้นไม้ต้นโตๆ และอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงไม่อดอยากแต่อย่างใด ....
……การวิ่งไปหลบในสวนหลังบ้าน จึงต้องทำกันทั้งกลางวันกลางคืน .ทำแบบนี้ละเป็นปีๆ กว่าสงครามจะสงบ ในปี 2488..ที่จริงไม่ต้องหลบไปเลย ให้ลำบาก นอนไปเรื่อยๆ หรือ นั่งเล่นทำอะไรก็ทำไป เพราะสภาพบ้านเรือน ไม่น่ามาทิ้งให้เปลืองระเบิดจริงๆ ยิ่งบินผ่านสวน มองไม่เห็นอะไร นอกจากต้นไม้ รกๆ เขียวๆ ติดต่อกันไปทั้งผืน พอจะเห็นบ้านเรืองสองข้างลำคลอง แต่ก็ยังห่างๆ กัน ไม่ใช่ติดกันแบบทุกวันนี้................
คลองบางกอกน้อย..และคลองอื่นๆสองฝั่งคลองจะมีต้นไม้เป็นสวน หนาแน่นเช่นนี้ไปหมด..เครื่องบินไม่สามารถเห็นเบื้องล่างได้ชัดเจนนัก
.....ครั้งนั้นตามสถานที่ราชการและ สถานที่สำคัญ..จะมีสิ่งก่อสร้างเพื่อหลบภัย..เช่นหน้าอำเภอบางกอกน้อยยังเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นปูนรูปสี่เหลี่ยม..มีช่องเข้าออกสองข้าง..เพื่อให้คนเข้าไปหลบภัย..ด้านบนปลูกดอกแพรเซี่ยงไฮ้ในตอนเด็กของผมมีมานาน.แต่ไม่ได้สังเกตุว่าหายไปตอนไหนก็ไม่รู้..อีดที่ก็สถานีรถไฟหัวลำโพง..ที่กลมๆ..เป็นโดมหน้าสถานี..วันนี้ไม่มีแล้ว..เป็นที่เรียบๆปูหญ้าที่แม่ค้าส้มตำมาขาย....
กลมๆนี่คือ ที่หลบภัยหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
.........อีกทั้งสงครามที่เกิดคนไทย จะรู้เรื่องแต่ ญี่ปุ่น และ พันธมิตรเท่านั้น ...ไม่ได้รู้เรื่องเยอรมัน และ ชาติอื่นเลย ว่าเป็นมาอย่างไรและสงครามครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหาร คือจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่สิ้นพระชนม์ในปี 2489 หลังสงครามสงบ เพียง 1 ปี ...
.................และผู้คนส่วนใหญ่ถ้ากลัวก็หลบไปอยู่ต่างจังหวัด มีบางส่วน ที่ยังอยู่บ้านที่เดิม อย่างแม่และยาย รวมทั้งยายทวด .ก็อยู่บ้านที่บางกอกน้อย จนสงครามสงบ .
........สงครามโลกที่มาเกี่ยวกับไทย เริ่มจากปี 2484 – ปี 2488 และในปี 2485 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ ที่แม่เล่า ว่าน้ำท่วมไปทั่ว กรุงเทพ เคยพายเรือจากบ้านปากคลองภาวนาบางกอกน้อย ไปท่าพระจันทร์ ออกสนามหลวง และ ผ่านไปราชดำเนิน ไปลานพระรูป ดูการร้องเพลงเรือกัน...สนุก ...ว่างก็พายเรือไปเที่ยวในช่วงน้ำท่วมและ สงครามครั้งนั้น...และความบันเทิงอื่น ก็ไม่มีในยามสงครามนี้ ....
ภาพถ่ายในปี.พศ.2485..น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ..ผู้คนก็พายเรือเล่นเพลงเรือ.มีความสุข..ระหว่างสงคราม
.....................เป็นอันว่า คนไทย ไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ขอให้สนุกไว้ก่อนเถอะ...เล่าจากเรื่องเก่าที่แม่และยายเล่า ตอนที่สงครามสงบ เกิดก่อนผมเกิด 5 ปี และ อีกสักสามสี่ปี ผมก็เริ่มรู้เรื่องและ มีความจำกับภาพเก่าๆความเป็นอยู่และ เรื่องต่างๆ จะได้ถ่ายทอดผ่านบล็อกนี้ละครับ......
ประชาสัมพันธ์ในการเตรียมตัวรับภัยจากสงคราม
ภาพถ่ายการทิ้งระเบิดสะพาน
สภาพสะพานพระราม6..หลังจากโดนระเบิดในสงครามโลกครั้งที่2..แต่การสัญจรไปมา..ก็ยังปกติดี
โฆษณา