27 ม.ค. 2019 เวลา 13:49 • ประวัติศาสตร์
EP.8-8 เมื่อสยามเข้ามาเล่นการเมืองในยุโรป โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายราชวงศ์ ผ่านทางราชวงศ์เยอรมนี ทำให้ชาวยุโรปเริ่มนิยมชมชอบสยามมากขึ้นในเวทีการเมืองโลกขณะนั้น
3
สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปมักจะมองข้ามเสมอๆ คือ เหตุผลด้านจิตใจที่สมาชิกของพระราชวงศ์ต่างๆในยุโรปเชื่อมโยงถึงกันอยู่เป็นนิตย์ เหตุผลทางจิตใจได้กลายเป็นความรู้สึกเอื้ออาทรระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์ของยุโรป เกิดจากความผูกพันทางเครือญาติที่แม้จะเป็นคู่แข่งกันในทางการเมืองอย่างเอา เป็นเอาตายก็ตาม
3
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนกรุงออสโล, นอร์เวย์ เมื่อปี C. 1897
แต่เพราะความผูกพันของญาติพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ได้กลายเป็นสายใยให้ผู้นำประเทศต่างๆ มีความเคารพยำเกรงและถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แม้นว่าจะไม่แสดงออกในสายตาคนนอกทั่วไป แต่หากพิจารณาแบบคนวงในแล้ว จะพบว่าการสมาคมและงานสโมสรที่จัดขึ้นตามราชสำนักต่างๆ เช่น งานอภิเษกสมรส งานรับศีลมหาสนิท งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานฉลองสิริราชสมบัติ งานฉลองคริสต์มาส แม้แต่งาน พระบรมศพ เมื่อราชนิกุลทั้งหลายถูกเชื้อเชิญมามหาสมาคม ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล และอุปถัมภ์ค้ำชูกันและกัน
การสืบสันตติวงศ์ของเจ้านายจากราชวงศ์ใหญ่ๆ 2 สาย ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงอยู่ คือ ราชวงศ์อังกฤษและราชวงศ์เดนมาร์ก เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดระบบเครือญาติขึ้นในหมู่ราชวงศ์ของยุโรป
1
ทางสายราชวงศ์ของอังกฤษ ซึ่งก็คือราชวงศ์วินด์เซอร์นั้น มีองค์ประธานของราชวงศ์นี้ก็คือ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย (Queen Victoria) ควีน ทรงเป็นประมุขของประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ และทรงครองราชย์ยาวนานถึง 63 ปี (C.1838-1901) ซึ่งยาวนานที่สุดในโลกขณะนั้น
เครือข่ายราชวงศ์จากสายของพระนางเริ่มจากการที่อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเยอรมันพระนามว่า เจ้าชายอัลเบิร์ต (Princess Albert) ทำให้พระราชโอรสและพระราชนัดดาของควีนวิกตอเรีย มีความผูกพันกับเยอรมนีอย่างเหนียวแน่น
3
ภาพถ่ายราชวงศ์ยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
และยิ่งหยั่งลึกลงไปอีกเมื่อพระราชธิดาของควีนวิกตอเรียพระองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงวิกทอเรีย (Princess Victoria) อภิเษกสมรสกับกษัตริย์เยอรมันคือ ไกเซอร์ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 (Kaiser Frederick III) ทำให้พระราชธิดาของควีนวิกตอเรีย มีตำแหน่งเป็นถึงจักรพรรดินีแห่งเยอรมนี ซึ่งต่อมาได้ให้กำเนิดพระราชโอรสเป็นไกเซอร์เฮล์มที่ 2 ผู้ยิ่งใหญ่และเป็นตัวเอกของตอนนี้
นอกจากนี้พระราชธิดาอีกองค์หนึ่งของควีน พระนามว่า เจ้าหญิงอลิซ( Princess Alice) ก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเยอรมันอีกองค์หนึ่งคือ ดยุคแห่งเฮ็สส์(Duke of Hesse) มีพระราชธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงเล็กซานดร้า(Princess Alexandra) ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีของ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (zar Nicholas II) แห่งรัสเซีย ทรงพระนามว่า Empress Alexandra Feodorovna
Prince Albert Victor of Wales and Princess Alexandra of Greece
ยิ่งไปกว่านั้นพระปิตุลาองค์หนึ่งของควีนวิกทอเรียก็ทรงเป็นกษัตริย์แห่งเบลเยี่ยม (King Leopold II) แล้วควีนวิกทอเรียยังมีพระราชนัดดาอีกถึง 4 พระองค์ ที่เสวยราชย์สมบัติขึ้นเป็นกษัตริย์ของยุโรป ได้แก่
จักรพรรดิรัสเซีย (zar Nicholas II)
กษัตริย์โปรตุเกส (King Carlos I)
กษัตริย์อังกฤษ (King George V)
และกษัตริย์สเปน (King Alphonso XIII)
แถมยังมีพระราชนัดดาอีกองค์หนึ่ง (Princess Maud) ได้รับสถาปนาเป็นพระราชินีของกษัตริย์นอร์เวย์ (King Haakon VII)
1
ดังนั้น ควีนวิกตอเรียจึงเป็นพระญาติผู้ใหญ่อันดับ 1 ของราชสำนักยุโรป มีสมญานามแบบไม่เป็นทางการว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" (Grandmother of Europe)
ส่วนพระญาติผู้ใหญ่อันดับ 2 ของยุโรป ได้แก่ ราชวงศ์เดนมาร์ก องค์ประธานของพระราชวงศ์นี้ คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 (King Christian IX) เจ้าของสมญานามว่าสมเด็จปู่แห่งยุโรป" (Grandfather of Europe)
1
Queen Victoria
จากการที่พระราชธิดา 2 พระองค์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระราชินีอังกฤษ (Queen Alexandra) และจักร พรรดินีรัสเซีย (Empress Marie Feodorovna) นอกจากนี้พระราชโอรสองค์หนึ่ง ยังได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งกรีซ (King George I) อังกฤษและเดนมาร์กจึงทวีความสำคัญขึ้นเป็นศูนย์กลางของราชสำนักยุโรปที่สยามให้ความสนใจตลอดมา
พระราชวงศ์จักรีด้วยความเป็นราชสำนักเก่าแก่ และมีชื่อเสียงของเอเชียหาทางผูกสัมพันธไมตรีกับเครือข่ายราชวงศ์ยุโรปมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเชี่ยวชาญด้านการทูต ทรงใช้พระราชสาส์นของพระองค์เป็นทั้งเครื่องมือ และใบเบิกทางมา ยังควีนวิกตอเรีย
King Christian IX of Denmark
โดยทรงทดลองใช้คำลงท้ายพระนามว่า “พระเชษฐาของท่าน” เพื่อทดสอบสถานะและการยอมรับ ซึ่งควีนวิกตอเรียก็ทรงตอบกลับมาแบบมีนัยยะเช่นกันว่า “พระกนิษฐภคินีของท่าน” เป็นอันว่าใช้ได้ผล ซึ่งหมายความว่า อังกฤษได้ให้การยอมรับสยามไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงว่าเหตุผลทางด้านความรู้สึก เป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่เชื่อมสายใยแห่งราชวงศ์เอาไว้ซึ่งมิอาจมองข้ามจุดนี้ไปได้
ซึ่งพระราชสาส์นของรัชกาลที่ 4 ทรงใช้คำพูดเหมือนคนในราชวงศ์ยุโรปด้วยกันเองคุยกัน แตกต่างจากพระราชสาส์นของประเทศอื่นๆที่อยู่นอกทวีปยุโรป ซึ่งมักจะใช้คำลงท้ายด้วยถ้อยคำที่แสดงถึงความเคารพ และแสดงความยำเกรงในอำนาจของอังกฤษ ทำให้ส่งผลต่อทางจิตวิทยาว่า ผู้ที่ส่งสาสน์มานั้นเป็นผู่ที่ต่ำต้อยกว่า
1
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2(sar Nicholas II) เเละ พระราชีนีอเล็กซานดรา (Alexandra Feodorovna) on May 26, 1896
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 “ทฤษฎีเครือข่ายราชวงศ์” ถูกนำกลับมาใช้อีกเป็นการภายในแบบเงียบๆ เช่น ในกรณีงานพระราชพิธีโสกันต์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศนั้น รัชกาลที่ 5 โปรดให้อัครราชทูตเยอรมัน ได้ถวายทรงเจิมสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทำให้ราชทูตปลาบปลื้มมาก และรายงานทันทีไปให้ไกเซอร์ทรงทราบ ทำให้มีพระราชสาส์นเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“หม่อมฉันตระหนักดีว่า เป็นการแสดงออกถึงความเป็นมิตร ที่พระองค์ประทานให้แก่หม่อมฉัน และอาณาจักรเยอรมัน และเพื่อแสดงไมตรีจิต หม่อมฉันขอรับพระราชโอรสของพระองค์เป็นอัศวินชั้นหนึ่ง ด้วยเครื่องราชอิศริยาภรณ์อินทรีแดง การที่ราชสำนักสยามเรียกร้องความสนใจจากไกเซอร์ โดยดึงคนนอกที่เป็นเพียงชาวต่างชาติ (ทว่าเป็นชายเยอรมัน และเป็นผู้แทนของไกเซอร์) ให้เข้ามามีส่วนในงานพิธีของราชสำนัก นับเป็นความพยายามที่จะทำให้ทฤษฎีเครือข่ายราชวงศ์เป็นจริงเป็นจังขึ้น
และก็ดูจะได้ผล
King Mongkut of Siam (Thailand) in French Uniform 1865
เพราะในไม่ช้าไกเซอร์ก็ทรงเชื้อเชิญให้รัชกาลที่ 5 ทรงส่งพระราชโอรสเข้ามาศึกษาวิชาทหารในเยอรมนี ซึ่งวิชาการทหารของ เยอรมนีก็เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรปว่าทันสมัย และพัฒนาที่สุด ทั้งยังเป็นแฟชั่นของสมเด็จเจ้าฟ้าชายทั้งหลายภายในราชสำนักยุโรป ที่มักจะถูกส่งเข้าไปเรียนทางด้านนี้มากกว่าด้านอื่นๆ
ในยุคที่ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (C. 1893) เมื่อสยามถูกคุกคามด้วยกำลังทหารจากฝรั่งเศส จนทำให้เกิดการเสียดินแดน และค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล
ในปี C.1894 รัชกาลที่ 5 จึงทรงตอบรับคำเชิญของไกเซอร์ โดยโปรดให้ส่งสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เสด็จไปศึกษาวิชาทหารแบบเยอรมัน ทรงทำคะแนนได้ดีเยี่ยม ในภายหลังก็ได้รับพระราชทานตำแหน่งนายร้อยเอก ในกรมทหารราบรักษาพระองค์ของเยอรมนี เฉกเช่นเจ้านายเยอรมันในราชสำนักของไกเซอร์
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
และด้วยการดำเนินนโยบายแบบเสมอต้นเสมอปลายของสยาม ภายหลังการเสด็จประพาสเยอรมนีครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 (C.1897) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ (C.1908) ไปศึกษาวิชาการทหารเรือตามลำดับ
การที่กองทัพเรือเยอรมันเข้ามามีบทบาทในกิจการทหารเรือสยามและพระวิสัยทัศน์ของรัชกาลที่ 5 ย่อมชี้ให้เห็นแนวโน้มของสยามในความนิยมเยอรมัน และสถานะพิเศษของราชวงศ์จักรีในระบบเครือข่ายราชวงศ์ยุโรป ที่มีเยอรมนีเป็นศูนย์กลาง
ภายหลังทัศนนิยมของทั้ง 2 ราชสำนักจูนกันได้ที่รัฐบาลสยามก็ได้ทาบทามที่จะส่งบุตรหลานเจ้านาย และขุนนางเข้ามาเรียนวิชาทหารที่เยอรมนี และจากการที่ไกเซอร์ทรงตอบสนองนโยบายของรัชกาลที่ 5 อย่างเต็มที่ รัฐบาลเยอรมันจึงตกลงรับคนไทยอื่นๆ ที่มิใช่พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 โดยมีเงื่อนไขที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ
Wilhelm II, Emperor of Germany
“ รัฐบาลสยามจะไม่ส่งเจ้าหน้าที่ และนักเรียนทหารเรือไปศึกษาในกองทัพเรือของประเทศอื่นๆ เพราะรัฐบาลเยอรมันเกรงว่า ความลับด้านความมั่นคงของเยอรมนีจะรั่วไหลออกนอกประเทศ”
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าความอนุเคราะห์เช่นนี้เป็นกรณีพิเศษจริงๆ ซึ่งเยอรมนีไม่เคยมอบให้แก่ชาติใดนอก จากประเทศสยามและโรมาเนีย ซึ่งนิยมเยอรมนีอยู่เพียง 2 ประเทศในโลก ณ ช่วงเวลานั้น
ดังนั้น อานิสงส์ของเครือข่ายราชวงศ์ยังจุนเจือไปยังเจ้านาย และลูกหลานขุนนางสยามในสมัยนั้น ทำให้นายทหารเรือสยามจำนวนมากจบการศึกษาในระบบทหารเรือเยอรมัน (นอกเหนือจากบรรดาพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5) มากถึง 24 คน ซึ่งมากกว่าชาติยุโรปใดๆในสมัยเดียวกัน
1
สมเด็จกรมเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อทรงรับราชการในกองทัพเรือ
เกลียวใจที่ผูกมัดจิตใจระหว่างรัชกาลที่ 5 กับไกเซอร์มีปรากฏให้เห็นตลอดรัชกาลนี้ ค่านิยมและคุณสมบัติอันโดดเด่นของเยอรมนีเป็นเหตุผล และความเพียงพอสำหรับสยามที่จะดำเนินนโยบายเข้าข้างเยอรมนี ดังพระราชปรารภต่อไปนี้
“หม่อมฉันประทับใจในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเยอรมัน ซึ่งมีการปกครองอย่างดีเลิศ เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทุกสิ่งต้องพิเศษสุด ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางด้านศิลปะ ด้านวิทยาศาสตร์และการอุตสาหกรรม ฉะนั้นหม่อมฉันจะเว้นเสียมิได้ที่จะต้องแสดงความยินดีต่อพระองค์ที่ได้ทรงเป็นผู้ปกครองของชาติที่มีความยิ่งใหญ่เช่นนี้”
เพื่อนที่ซื่อสัตย์ของพระองค์
(พระปรมาภิไธย) จุฬาลงกรณ์”
พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งไกเซอร์เองก็ทรงหยอดมาในลายพระหัตถ์ฯ ตอบองค์รัชกาลที่ 5 ว่า
“ขอให้พระองค์ทรงเชื่อว่า หม่อมฉันมีความสนใจในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศของพระองค์ไม่น้อยไปกว่าพระองค์”
เมือง Scharnhorst ศูนย์กลางกองทัพเรือของเยอรมนี
สำหรับชาวสยามแล้วมิตรภาพจากเยอรมนีเป็นสิ่งจับต้องได้ง่าย มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในขณะที่ไมตรีจิตจากรัสเซีย หรือจากอังกฤษ- ฝรั่งเศส ที่ช่วยกันตั้งสยามเป็นรัฐกันชนนั้น เป็นเพียงนามธรรมและความหวังลมๆ แล้งๆ ที่เข้าใจได้ยาก
อาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ไทยมีไกเซอร์เยอรมัน เป็นจุดเชื่อมต่อเครือข่ายราชวงศ์ และบันไดไต่ไปสู่ผู้กำหนดนโยบายการเมืองโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 อันได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย
เรือรบเยอรมันบิสมาร์ก หนึ่งในเรือรบที่มีชื่อเสียงที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองมีระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 50,000 ตัน และเป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เข้าประจำการในสมัยนั้น
เพราะไกเซอร์ทรงเกี่ยวดองเป็นลูกหลานของทางอังกฤษ ทั้งยังเป็นญาติพี่น้องรุ่นเดียวกันกับ ทางรัสเซีย ดังนั้น การที่สยามได้อยู่ข้างเดียวกับไกเซอร์ แถมยังสนิทสนมอยู่กับทางราชสำนักอังกฤษและรัสเซียทำให้มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่พระราชวงศ์สายยุโรปปัญหาต่างๆ ของสยามมักถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงและเป็นประเด็นในวงสนทนาของเจ้านายตามราชสำนักยุโรปโดยที่เรา เองแทบจะไม่รู้ตัว
Reference
โฆษณา