29 ม.ค. 2019 เวลา 13:19
7 ประโยคโลกต้องรู้ (เรื่องยา)
เรื่องจริงไม่อิงนิยาย 😄
www.drugbasic.com
หนึ่ง - Liver & Kidney function is normal, the process of eliminating medication from the body is normal.
ขอเริ่มด้วยประโยคที่ว่า ถ้าตับ ไต ของเราทำงานเป็นปกติ กระบวนการขจัดยาออกจากร่างกายก็เป็นปกติ
จากประโยคคลาสสิคที่ได้ยินเสมอ
“กินยาตัวนี้ นาน ๆ จะเป็นอะไรมั๊ยคะ “ ประโยคด้านบน คือ คำตอบ
ไม่ต้องกังวลมากไปค่ะ การกินยาต่อเนื่องนาน ๆ ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับคนที่ตับไตไส้พุงปกติ
แต่สำหรับยาบางตัวนั้น เช่น แก้อักเสบลดปวด ไม่ว่าใครก็ตาม ต้องระวังมากหน่อย เพราะ ทานต่อเนื่องนาน ๆ อาจส่งผลต่อกระเพาะอาหารได้
สอง - Do not share medicines with others, even if we are friends.
ห้ามทุกคนแบ่งยากันกินโดยเด็ดขาด เป็นเบาหวานเหมือนกัน ความดันสูงเหมือนกัน เป็นเพื่อนกันหวังดีแบ่งยาให้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไป รพ. แบบนี้ไม่ถูกต้อง
ยาเหล่านี้ แพทย์พิจารณาจ่ายตามสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ยาใครยาคนนั้นค่ะ
สาม - Please don't store the medicine at the refrigerator door.
www.drugbasic.com
อย่าเก็บยาไว้ที่ฝาตู้เย็น เนื่องจากเป็นส่วนที่คุมอุณหภูมิได้ยาก เพราะอุณหภูมิจะแกว่งไป-มา จากการที่เราเปิด-ปิดตู้เย็นในแต่ละครั้ง
และไม่ควรไว้ใต้ช่อง freeze ด้วย แนะนำว่า ใส่ตะกร้าเล็ก ๆ แยกสัดส่วนแล้วเก็บไว้ช่องเย็นบริเวณด้านใน ที่อุณหภูมิ 2-8 C จะดีที่สุด
สี่ - Do not leave the medicine bottle in the car.
www.drugbasic.com
อย่าวางขวดยาทิ้งไว้ในรถ เพราะอุณหภูมิในรถสูงกว่าอุณหภูมิห้องปกติค่อนข้างมาก
ยิ่งในหน้าร้อนด้วยแล้ว อาจสูงถึง 39-40 C ได้เลย อันตรายอย่างยิ่งต่อการเสื่อมสภาพของยา และยาบางชนิดอาจเกิดการหลอมละลายได้ เช่น ยาเหน็บทวาร
ห้า - Expensive medicines may not always be good for us.
ยาที่มีราคาแพง อาจจะไม่ใช่ยาที่ดีสำหรับเราเสมอไป
ยาที่ดีไม่ใช่ยาที่ราคาแพง แต่ควรเป็นยาที่ถูกกับโรค ถูกกับอาการที่เราเป็นอยู่ กินแล้วไม่แพ้ และทำให้อาการเจ็บป่วยของเราค่อย ๆ ดีขึ้น หายวันหายคืน นั่นต่างหาก คือ ยาที่ดีสำหรับเรา
ปล. กฎทุกกฎมีข้อยกเว้นนะคะ อาจจะมีบ้างบางกรณีไปเจอ "ยาดี ที่มีราคาแพง" เช่น พวกยาต้านมะเร็ง ยาฆ่าเชื้อไวรัส (ถ้าเจอแบบนี้ อย่าว่ากันนะ)
หก - Drug allergy is not hereditary.
การแพ้ยาไม่ส่งต่อทางพันธุกรรม มีหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการแพ้ยาเป็นกรรมพันธ์ แม่แพ้ตัวไหน ลูกจะแพ้ด้วย
จริง ๆ แล้ว การแพ้ยาเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของบุคคลเท่านั้น ไม่มีใครสามารถบอกได้ด้วย ว่าเราจะแพ้ยาตัวนี้หรือไม่ ของแบบนี้ต้องคอยสังเกตุอาการเองค่ะ
แต่สิ่งที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ ใครที่มีประวัติเป็นลมพิษบ่อย ๆ & เป็นโรคหืด จะมีโอกาสแพ้ยามากกว่าคนทั่วไป เพราะ คนเหล่านี้เป็นโรคแพ้สารต่าง ๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น ยิ่งต้องระวังให้มากขึ้น
เจ็ด - Pharmacists don’t know all medicines in this world.
เภสัชกรทุกคนไม่ได้รู้จักยาทุกตัวในโลกใบนี้ เพราะ ยาบางตัวก็ไม่ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย
แต่โปรดกรุณาอย่าเข้าใจผิด คิดว่าเภสัชกรคนนั้นไม่เก่งไม่รู้จริง เพราะทุกคนจะทราบว่า จะสามารถหาข้อมูลที่คุณต้องการ ได้จากแหล่งไหน ที่ใดบ้าง
สุดท้ายนี้ อยากขอย้ำอีกสักครั้งว่า
“มีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร” นะคะ 😄😄
โฆษณา