1 ก.พ. 2019 เวลา 09:24 • ประวัติศาสตร์
"มัน (อังกฤษ) จะตบหัวแล้วลูบหลัง ยึดมือยึดตีนให้ฝรั่งเศสต่อยจนบอบช้ำแล้วจะได้โถมเข้าหาทั้งคู่!!!
2
https://m.tnews.co.th/contents/341801
แผ่นดินไทยปัจจุบันที่เหลือนี้ ดูให้ดีในประวัติศาสตร์ใหญ่กว่ามาก! ใครเขาพรากดินแดนเรา...เอาไปไหน???
ประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัย ร.4 - ร.5 อาจจะไม่น่าติดตามเท่าสมัยพระนเรศวรฯ พระเจ้าตากฯ
เพราะไม่มีกลิ่นอายของการควงดาบปราบศัตรู
เหมือนที่ดูกันมันส์ๆ ในโรงหนัง!
แต่ใครจะรู้บ้างว่า พ่อ ร.5 ทรงหลั่งน้ำพระเนตรที่
แผ่นดินไทยถูกจับ "ฉีกแขน - ฉีกขา" ไปมากขนาดไหน
ในสมัยรัชกาลที่ 4
ประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้นประสบความสุ่มเสี่ยง
อย่างมากจากการตกเป็นอาณานิคม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงระแวงอยู่ทุกเมื่อ
ว่าอังกฤษจะคืบคลาน ขยายฐานอาณานิคม
จากทางเหนือคืออินเดียและพม่า
และทางใต้คือมลายูเข้าสู่ใจกลางสยาม
จนอาจนำไปสู่ความหมดสิ้นเอกราชของแผ่นดินก็เป็นได้
http://www.victorian-era.org/the-opium-wars.html/second-opium-war
แม้แต่พี่ใหญ่แห่งเอเชียอย่างจีนตอนนั้นยังถูกตะบันหั่นแหลกเมื่อแรกส่งกองทัพเรือเข้าลองเชิงกับอังกฤษ
จนถูกพิชิต "กวาด" กองทัพเรือแทบหมดประเทศภายในวันเดียว!!!
และถูกมหาอำนาจรุม "เคี้ยว" เหมือนเป็นขนมที่เขานิยม
เอามาแบ่งกัน
จากความสุ่มเสี่ยงสุญเสียเอกราชนั้น นำไปสู่การสานความสัมพันธ์กับ "ฝรั่งเศส"
ซึ่งไม่ได้ติดต่อกันมาเป็นร้อยปีนับแต่สมัย "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
เหตุที่ต้องทรงติดต่อไปก็ด้วยเป็นนโยบายหวังใช้มหาอำนาจหนึ่ง มาคานอำนาจกับอีกมหาอำนาจหนึ่ง
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000035676
สยามในเวลานั้นจะไม่ยอมถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว
หรือตกอยู่ภายใต้การครอบงำของรัฐใดรัฐหนึ่ง
เพราะจะต้องทนเสียเปรียบจากการกดขี่ของรัฐนั้น
เหตุผลอีกอันก็คือฝรั่งเศสนี้ก็เคยช่วยให้ไทยพ้น
จากการถูกกดขี่
โดยฮอลันดาและอังกฤษในสมัยแผ่นดินสมเด็จ
พระนารายณ์ฯ มาแล้ว
สยามหวังใช้กลยุทธ์คล้ายกันนี้เพื่อต่อรองกับ
บรรดามหาอำนาจ
ในชั้นต้นฝรั่งเศสไม่ได้เห็นว่าสยามมีความสำคัญอันใด
จึงมีทีท่าวางเฉย
แต่พอได้รู้ว่าอังกฤษส่ง "เซอร์ จอห์น เบาว์ริง"
เข้ามาทำสัญญาทางการทูต
1
ก็เลยต้องส่งทูตเข้ามาพูดคุยกับไทยบ้าง
เพื่อไม่ให้อังกฤษได้ประโยชน์ไปฝ่ายเดียว
http://talltalesfromthetrees.blogspot.com/2010/04/sir-john-bowring-1792-1872-opium-war.html?m=1
และปัญหามันก็เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น
ฝรั่งเศสแผ่อำนาจเข้ามาในเอเชียโดยยึดเวียดนาม (ญวน) ไว้เป็นแห่งแรก
แต่ก็ยังมองว่าอาณานิคมของตัวเองยังเล็กกว่าอังกฤษ
จึงคิดขยายอำนาจมายังเขมรซึ่งเป็นรัฐบรรณาการ
ของสยาม
ที่เรียกว่ารัฐบรรณาการก็เพราะว่าเจ้ากรุงกัมพูชา
ต้องส่งบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ไทยทุกปี
แต่ช่องโหว่มันมีอยู่ว่า
เจ้ากรุงกัมพูชาก็ส่งเครื่องบรรณาการให้กษัตริย์ญวนด้วยเช่นกัน (3 ปีส่งครั้ง)
ประดุจดั่งนก 2 หัว
ก็เพราะด้วยหลัก "ภูมิรัฐศาสตร์" ที่ทำให้เขมรต้อง
หวาดกลัวการรุกรานจากทั้ง 2 ชาตินี้
จึงต้องทำทีเป็นคนดีกับทั้งสองฝ่าย
แต่ยอมจ่ายให้ไทยมากกว่า เพราะแสนยานุภาพทางกองทัพของไทยเหนือกว่าเวียดนาม
https://sites.google.com/site/wwwiamkanlacom/6
มาตั้งแต่ครั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
เป็นแม่ทัพตีกรุงกัมพูชาคืนจากญวนได้
เช่นนี้แล้วกัมพูชาจึงต้องเกรงใจไทยมากกว่า
แต่กลับเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสหาเหตุวิวาทโดยอ้างว่า
ก็เมื่อกรุงกัมพูชาส่งบรรณาการให้ญวน 3 ปีครั้ง
และบัดนี้ญวนอยู่ใต้อาณัติฝรั่งเศส
กัมพูชาทั้งประเทศก็ควรต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย!!!
และเมื่อรัฐบาลไทยไม่ยินยอม
ก็ปิดล้อมด้วยนโยบาย "เรือปืน" เลอ ลูแตง เข้ามาลอยลำอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1435825130
ซึ่งเป็นการรุกล้ำเขตน่านน้ำของสยาม
สยามจึงต้องยอมความ ยกประเทศราชของสยามอย่างกัมพูชาไปให้ฝรั่งเศสครอบครอง
แต่ฝรั่งเศสไม่คิดหยุดแค่สอง หมายครอบครองลาว
ต่อมาซึ่งจะเป็นทางพาไปสู่จีน
นักคิดบางท่านให้ความเห็นว่า ฝรั่งเศสหาญกล้าอุกอาจอย่างไม่กลัวไปชนผลประโยชน์อังกฤษ
เพราะฝรั่งเศสเห็นสยามเป็นจุดยุทธศาสตร์และศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
และสินค้าจากสยามนั้นสามารถส่งต่อออกไปยังพม่า
จีนและประเทศต่างๆ อีกมากมาย
ถ้าฝรั่งเศสยึดสยามเป็นอาณานิคมได้
ก็จะไปเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน
https://www.sarakadee.com/2012/07/04/112-crisis/
จนนำไปสู่การรุกเข้ามาของเรือแองกงสตอง
และเรือโกแมตฝ่าด่านป้อมพระจุลจอมเกล้า
1
ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112
เข้ามาหยุดอยู่กลางพระนคร ทอดสมอรอคำสั่งยิง
พังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอารามหลวง
ข่มเหงเรียกร้องให้สยามทำตามหลักๆ 5 ข้อ
๑) ต้องเพิกถอนสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร
๒) ให้รื้อถอนด่านบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงใน 1 เดือน
๓) ให้จัดการความเสียหายที่เกิดจากการปะทะกัน
๔) ให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ยิงปืนที่ปากน้ำ
๕) ให้ชดใช้ค่าเสียหายฝรั่งเศสเป็นเงิน 2 ล้านฟรังก์
แล้วยังยึดเมืองจันทบุรีและตราดไว้เป็นประกันจนกว่าสยามจะทำตามเงื่อนไขได้ทั้งหมด
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงพยายาม
แก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่
ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น
แต่อังกฤษก็ไม่เหลียวแลเพียงแต่บอกว่าให้สยามยอมตามฝรั่งเศสไปเพราะไม่ใช่ผลประโยชน์ของตน
จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคต
ยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
1
ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสีย
พระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล
ถึงกับร่ำไห้ด้วยความคับแค้นพระราชหฤทัยว่า
https://sites.google.com/site/obpkmnvgdkt/prathesthiy
"มัน (อังกฤษ) จะตบหัวแล้วลูบหลัง ยึดมือยึดตีนให้ฝรั่งเศสต่อยจนบอบช้ำแล้วจะได้โถมเข้าหาทั้งคู่!!!"
แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้
ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า
การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อย
ตามชายพระราชอาณาจักร
ซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น
ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่
รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน
1
จากวิกฤตการณ์ในครั้งนั้น
http://thaitribune.org/contents/detail/309?content_id=20085
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
หรือเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพร ในปัจจุบัน
ได้ทราบถึงความทุกข์ระดมของพระราชบิดาอย่างนั้น
ก็ทรงเจ็บแค้นฝรั่งเศสเหลือขนาด
ถึงกับทรงมีบัญชาให้ทหารในความควบคุมของพระองค์
รวมทั้งตัวพระองค์เอง
1
สักข้อความ "ร.ศ.112" ไว้บนหน้าอก
1
เพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงความเจ็บแค้น
และหน้าที่ของบรรดา "ลูกประดู่" (ทหารเรือ)
ซึ่งจะยอมให้ใครมาล่วงล้ำน่านน้ำและอธิปไตยอีกไม่ได้
https://board.postjung.com/782759
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงพ้นจากอาการประชวร
และทรงได้ไตร่ตรองแนวทางดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างถ้วนถี่
กับบรรดาข้าราชบริพารแล้วนั้น
การดำเนินการทางการทูตครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์
ด้วยการ "เสด็จประพาสยุโรป" ก็เริ่มต้นขึ้น
ทรงดำเนินนโยบาย "เป็นมิตรรอบทิศทาง" กับบรรดาชาติมหาอำนาจที่กำลังมีบทบาทในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็น
รัสเซีย เยอรมันนี และญี่ปุ่น
http://www.koratnextgen.com/ประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่/
ทรงสนพระทัยในการดึงบุคลาการต่างชาติที่มีนโยบายแสวงผลประโยชน์ทางการค้าและศาสนา
แต่ไม่แสวงหาอาณานิคม!
อย่างสหรัฐอเมริกาให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานราชการไทย
ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบราชการที่มีความล้าสมัย
ให้ทัดเทียมกับชาติศิวิไลซ์
ไม่ให้มหาอำนาจไหนมาอ้างยึดครองเพื่อพัฒนา
ความล้าหลังได้
จนสุดท้ายอังกฤษและฝรั่งเศสต้องเกรงใจสยามมากขึ้น
และไม่ต้องการให้มหาอำนาจอื่นอย่างเยอรมันนี และญี่ปุ่นเข้ามายุ่งวุ่นวาย
จึงตัดสินใจให้สยามเป็น "รัฐกันชน" เพื่อไม่ให้คนในความดูแลต้องมีเหตุวิวาทเพราะเขตแดนประชิดติดกัน
นับแต่นั้นสยามก็ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร
https://www.winnews.tv/news/7875
นักวิชาการท่านหนึ่งเคยได้กล่าวถึงสาเหตุที่ไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้มีใจความว่า
"สยามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
"ซึ่งรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก"
"เหตุการณ์นี้สามารถอธิบายได้ว่า"
"ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความปรารถนาของอังกฤษและฝรั่งเศส"
"ที่จะให้มีรัฐกันชนขึ้นระหว่างดินแดนของตนในภูมิภาคดังกล่าว"
"อย่างไรก็ตาม เรื่องราวอาจแปรเปลี่ยนไป"
"ถ้าคนสยามไม่ได้แสดงความเฉลียวฉลาดอย่างน่าทึ่งในทางการทูต!!!"
https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระบรมรูปทรงม้า#/media/ไฟล์%3AKing_Rama_V_Equestrian.jpg
เค้าโครงเดิมจาก
เพ็ญศรี ดุ๊ก : การต่างประเทศกับเอกราช
และอธิปไตยของไทย
สถาบันพระปกเกล้า : วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
เรียบเรียงใหม่โดย
//The Chariot
---------------------------------
ท่านที่มีความสนใจในวิชารัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ / กระทรวงการต่างประเทศ / อาชีพนักการทูต / ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ / วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ
.
ติดตามได้ที fb : รัฐศาสตร์หัวหมอ: พ่อทุกสถาบัน?
ได้แล้ววันนี้!!! https://m.facebook.com/RudtasadHuaMor/ << คลิกเลย!!
---------------------------------
fb : รัฐศาสตร์หัวหมอ: พ่อทุกสถาบัน?
โฆษณา