30 ม.ค. 2019 เวลา 15:49 • ท่องเที่ยว
คุณเคยเป็นโรคนักท่องเที่ยวไหม?
มีเพื่อนคนหนึ่งทะเล่อทะล่า หน้าตาตื่น ระหว่างเดินชมความงดงามของป่าสนเขาบนภูกระดึงอยู่ดี ๆ เธอหันหลังชวนเพื่อนกลับ รั้งอย่างไรก็ไม่อยู่
เธอกลัวอะไรหรือ !!
ความงดงามของป่า เป็นงานศิลปะที่ธรรมชาติรังสรรค์ จิตรกรที่พบเจอถึงกลับอดใจไม่อยู่ จนต้องบรรจงวาดเป็นภาพไว้อย่างงดงามดุจกัน ภาพวาดมากมายกลายเป็นภาพอันยอดเยี่ยมที่ทรงอิทธิพลต่อผู้ชมอย่างมาก
ลองอ่านเรื่องราวอันแปลกประหลาด (Peculiar effect) ของงานศิลปะ..
ผลงานที่ยิ่งใหญ่ สามารถทำให้เราน้ำตาซึม สร้างแรงบันดาลใจ หรือตื่นเต้นได้
สำหรับบางคนที่เข้าชมหอศิลป์ (Art gallery) อาจถูกจู่โจมโดยไม่รู้ตัว ทำให้ตื่นเต้นหรือตกใจ สถานการณ์อย่างนี้เรียกว่า Stendhal Syndrome
ผู้มีอาการดังกล่าว ไม่อาจเข้าใจได้ว่างานศิลป์ที่สวยงามมันอาจทำให้เจ็บป่วยได้ การเสพศิลปะด้วยความเพลิดเพลินเป็นการจุดชนวนให้หัวใจเต้นอย่างรวดเร็วและทำให้ปวดศรีษะ
เหตุการณ์อย่างนี้ นำไปสู่อาการตกใจและหมดสติชั่วครู่
ความสับสน ความจำเสื่อมชั่วคราว และความหวาดระแวง เป็นอาการของ Stendhal Syndrome
บางคนอาจประสาทหลอน คุ้มคลั่ง แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
อิทธิพลของศิลปะดูเหมือนไม่มีข้อจำกัด แม้แต่ พระอาทิตย์ตก คลื่นซัดชายฝั่ง เทือกเขาสูงที่โดดเดี่ยว ศิลปะในธรรมชาติเหล่านี้ สามารถนำไปสู่เงื่อนไขของการเกิดอาการได้ทั้งสิ้น
แต่ต้องขอขอบคุณที่อาการของมันเกิดขึ้นในช่วงสั่น ๆ โดยไม่ถึงกับต้องเยียวยา ...
Credit ภาพ http://The momentum .com
หลังศตวรรษที่ 19 นักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ อ็องรี -มารี เเบล (Henri - Marie Bayl) ใช้นามปากกาว่า Stendhal ในปี 1817 เมื่ออายุได้ 34 ปีเขาไปที่โบสถ์ซานตาคลอส (Santa Croce Cathedral) ที่เมืองฟลอเรนซ์ เป็นครั้งแรกที่เขาเห็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงของ Giotto วาดไว้บนเพดาน
เขาย้อนความหลังว่า “ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันมาจากจิตวิญญาณของฉัน ใจสั่นระรัว เหมือนวิญญาณออกจากร่าง ฉันเดินเหมือนคนที่ตกอยู่ในความหวาดกลัว”
จากประสบการณ์นี้ เขาได้เล่าให้ใครต่อใครได้ฟัง แล้วเรียกอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า “โรคศิลปะ” (Art Disease)
หรือโรคของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Disease)
ต่อมาในปี 1979 ดร. เกรเซียลลา แมกฮีรินี (Greziella Magherini) ได้บัญญัติคำขึ้นใหม่ว่า เป็นอาการสต็องดาล (Stendhal Syndrome) เธอใช้อธิบายอาการของผู้ไปชมภาพที่เมืองฟลอเรนซ์ ที่หลายๆคนจะตกใจและคุ้มคลั่ง หลังจากที่ได้ดูภาพวาดหรือภาพแกะสลักที่มีชื่อเสียงเหล่านั้นแล้ว
ศัลยแพทย์ประสาทเคยบอกว่าไฟโอดอร์ โดสต็อฟสกี้และ มาร์เชล โปรอุสต์ (Fyodor Dostoevsky & Marcel Proust) เคยเป็นโรค Stendhal Syndrome ตอนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์บาเซล (Basel Museum)
แอนนา (Anna) ภรรยาคนที่ 2 ของเขาบอกถึงอาการของสามีของเธอว่า เขาดูเหมือนไม่สบาย เมื่อมองไปที่ภาพวาดพระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน ที่วาดโดยฮานส์ โฮลเบน(Hans Holbein) เขาตกใจกลัวในสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ คือเห็นพระเยซูตริสต์ลงมาจากไม้กางเขน ..
เขายืนต่อหน้าภาพดังกล่าว ตัวแข็งทื่อ ถึง 20 นาที !!!
ภรรยาของเขาสาธยายว่า ใบหน้าของเขามีความทุกข์และหวาดกลัวมาก ในที่สุด เธอต้องดึงแขนของเขาออกไปเสียจากที่นั่น เพื่อให้หายจากความสับสน อาการของเขาค่อยทุเลาลงทีละน้อย แต่ยังกลับไปมองดูอีกครั้งก่อนที่จะเดินผละไป
อิทธิพลของภาพวาดที่ยอดเยี่ยมมีผลต่อ พวกเราอย่างลึกซึ้ง ครั้งหนึ่งไอน์สไตน์ (Einstein) เคยกล่าวไว้ว่า ศิลปะยืนด้วยมือข้างหนึ่งที่ยื่นไปในจักรวาล ส่วนอีกข้างยื่นไปในโลกที่ตัวของพวกเราเป็นเสมือนท่อลำเลียงผ่านพลังงาน (Art is standing with one hand extended into the universe and one hand extend ed into the world and letting ourselves be a corduit for passing energy)
ป่าสนเขาบนภูกระดึง เรียงรายรอบทางเดินด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามแตกต่างกันไป บางแห่งขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ลำต้นสูงเสียดฟ้า บางแห่งอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน มีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นสลับกัน มองดูเหมือนภาพวาดบนผืนผ้า
เสียงลมที่หวีดหวิวผ่านทิวป่าได้ยินมาแต่ไกล...ทำให้อากาศยามเช้าเพื่มความหนาวเย็นมากยิ่งขึ้น
พวกเราต้องเดินตามหลังเพื่อนที่ตกใจกลัวย้อนกลับไปทางที่เพิ่งเริ่มต้นได้เกือบกิโล ก็พบกลุ่มนักท่องเที่ยวสามสี่คนเดินสวนมา ทำให้เธอค่อยสงบลง...
พร้อมกับตัดสินใจชวนพวกเราหันหลังกลับไปยังที่เดิมอีกครั้ง ไปพร้อมกับเพื่อน ๆ กลุ่มใหม่
เดินเที่ยวไปจนไปถึงผาหล่มสักในเวลาเที่ยงวัน ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร !!
พวกเราต่างงุนงงในอาการของเธอจนบัดนี้ !!!
โฆษณา