31 ม.ค. 2019 เวลา 17:22
4.เรื่องเล่าจากบางกอกน้อย .....
..................ตอนที่ผมเกิดในปี 2493 หลังสงครามสงบสัก 5 ปี ในสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ที่เป็นนายกรัฐมนตรี รอบสองคือ .8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 และรอบแรกกของท่านคือ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ในช่วงประเทศไทย ประสบเหตุการณ์สำคัญ กับภายในและ สงครามโลก ที่ยาวนาน..ข้าวยากหมากแพง เพราะสงครามจากภายนอก เสื้อผ้า อาหาร เครื่องนุ่งห่ม มีราคาแพงและหาได้ยากยิ่ง และ ภัยจากน้ำท่วม ในปี พศ .2485 ผู้คนทั่วไป ที่ไม่มีอาหารจะลำบากในความเป็นอยู่อย่างมาก แต่สำหรับครอบครัวผม บ้านอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตอนนั้น กุ้งปลา หาได้ง่ายมาก ในคลองก็มีอาหาร สวนหลังบ้าน ก็ยังมีผลไม้ให้ได้กิน ถึงขายไม่ออก แต่ก็มีกินไม่ขัดสน ไม่ได้ลำบากอะไร ..........
แต่ควันหลงของสงคราม ที่มีติดต่อกันมาหลายปีในยุโรป จากเยอรมันบุกโปแลนด์ และชาติที่เข้าร่วมสงคราม ก็เพิ่มมากขึ้น..ตามแต่เหตุการณ์จะพาไป แต่สงครามสำหรับประเทศไทย คนไทยจะรู้จักแต่ประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น จากแม่และ ยายเล่า ที่กลัวเครื่องบิน จะนำระเบิดมาทิ้งใส่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย คือถ้าได้ยินเสียงสัญญา เป็นอันว่าจะต้องวิ่งเข้าไปหลบในสวน ทั้งๆที่ผมว่า ..ไม่จำเป็นต้องวิ่งเลย ทำอะไรก็ทำไป เขาไม่มาทิ้งใส่ให้เปลืองระเบิด และ นอกภาระกิจของเขาหรอก...นี่กับเหตุการณ์ ในเมืองกรุง ในครั้งนั้น .....
.............แต่วันนี้ผมย้ายครอบครัว มาอยู่เมืองกาญจนบุรี ได้พบปะกับผู้คนที่เกิดทันสงครามโลก กับทหารญี่ปุ่น ที่เหมือนน่ากลัวในการบอกเล่ากันต่อๆมา ....แต่ที่เมืองกาญจนบุรี กับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เป็นเรื่องที่มีประวัติศาสตร์ เป็นภาพยนตร์ก็หลายสิบเรื่อง กับสะพานนี้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด..สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่โครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี
ฝั่งข้าางหน้าในครั้งนั้นเป็นป่าดงดิบ..สัตว์ป่าชุกชุม
............ในครั้งนั้น ตรงนี้เป็นป่าจัดว่าดงดิบ มีเสือ สัตว์ป่า มากมาย ตามที่คนเก่าๆเล่ากัน แต่วันนี้ ฝั่งเมืองที่ตั้งสถานีรถไฟ ที่เมื่อก่อนเรียกกันซะน่ากลัว ว่า .” ทางรถไฟสายมรณะ “ ที่เป็นที่ผู้คนไปท่องเที่ยว มีร้านค้า ร้านอาหาร แพ คึกคักมากมาย อีกฝั่งจะเป็นเหมือนป่าๆสักหน่อย แต่ก็มีหมู่บ้านเงียบๆหน่อย แต่วันนี้มีวัดจีนและเจ้าแม่กวนอิม อยู่ฝั่งขวาของสะพาน ที่เมื่อก่อนจะสร้างเสร็จ ชาวเมืองกาญ ก็เปิดชุมนุม แต่ก็ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และ พื้นที่ดินด้านใน ก็เริ่มขยายตัว ความเจริญเข้ามาแล้ว ไม่น่าเชื่อ ว่าระยะเวลา ประมาณ 70 ปี จากป่าดงดิบ มีไข้ป่า และ ป่าไม้ สัตว์ป่า จะเป็นสังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปได้ขนาดนี้ ......
วันนี้ฝั่งที่ข้ามไป.มีวัดจีนเจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่..ไม่น่ากลัวเช่นในครั้งนั้น
…..ลุงๆที่เล่าเรื่องในครั้งนั้น ว่าติดตามพ่อแม่ นำขนม อาหารไปขาย ทำเงินได้มาก เพราะเมือก่อน ชาวบ้านที่นี่ ก็ไม่น่าจะมีรายได้อะไร กับเมืองกาญจนบุรี การไปขายกับทหาร ญี่ปุ่น ที่เรียบร้อย ไม่ได้น่ากลัว อย่างที่เล่าต่อกัน หรือ เราไม่ได้ไปมีส่วน อื่นใด นอกจากการไปขายของเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ...
.......แต่ก็มีขบวนการที่มีบันทึกไว้ เรียกว่าขบวนการไทยถีบ การลักทรัพย์ยามสงครามในเวลาเดียวกัน.... ก็เกิดขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนไทยด้วยกันเอง เรียกว่า ขบวนการไทยถีบ ขบวนการนี้ทำหน้าที่ดักปล้นของเล็กของน้อย ยุทธปัจจัยต่าง ๆ ของกองทัพญี่ปุ่น ไปซ่อนตามป่าเขา โดยเฉพาะการตัดขบวนรถไฟขณะลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ ให้ขาดจากกัน อีกทั้งบางครั้งยังแอบเข้าไปลักลอบขโมยดาบซามูไรของทหารญี่ปุ่นในเวลาหลับอีกด้วย เรียกว่า ไทยลักหลับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ขบวนการนี้บางครั้งขโมยแม้แต่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยเอง เช่น ลวดทองแดง สายโทรศัพท์ เป็นต้น อีกทั้งขบวนการเสรีไทยก็ไม่ได้นับขบวนการไทยถีบเป็นแนวร่วมแต่อย่างใด…..
...........นอกจากนี้ มีการปล้นทหารญี่ปุ่นกันอย่างหนัก ซึ่งมีทั้งใช้การปล้นสะดมด้วยการรมยาให้หลับ ที่สุดมีแม้แต่การปล้นในเวลากลางวัน โดยที่โจรถึงกับทักทายทหารญี่ปุ่นก่อนลงมือปลดทรัพย์ทรัพย์และอาวุธ หรือ ปล้นทหารญี่ปุ่นด้วยไม้ตะพดชิงเอาอาวุธปืนไปได้ โดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน
................หลังสงคราม ตำรวจต้องระดมกำลังปราบปรามบรรดาโจรผู้ร้ายซึ่งมีอาวุธที่ชิงมาจากทหารญี่ปุ่น และ บรรดาเสือร้ายต่าง ๆ เช่น กรณีการถล่มชุมโจรที่บางไผ่ ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปากท่อ ราชบุรี และ จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ ปี พ.ศ. 2490 กว่าจะราบคาบ ก็กินเวลาหลายปี .........
..........และ ภาพยนตร์สงคราม เช่น THE LONGEST DAY.ในชื่อไทย วันเผด็จศึก The Bridge on the River Kwai (สร้างในปี 1957/พ.ศ. 2500).ชื่อไทย “ สะพานข้ามแม่น้ำแคว “ ที่ต้องไปถ่ายทำที่ประเทศลังกา เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยนั้นไม่ยอมให้ถ่ายทำในประเทศไทย ที่ตัวผมได้ทันได้ดูในครั้งนั้น และครั้งนั้น..
ภาพยนตร์สงครามได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวกับสะพานนี้ และ เรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้
............นอกจากภาพยนตร์ต่างชาติ ยังมีภาพยนตร์ไทย ที่เคยเป็นภายนตร์ที่เมื่อสมัยปี 2549ในชื่อเรื่องไทยถีบ ที่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นขบวนการ ขโมยของญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ได้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ยุคท้ายๆ ของไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถานที่นี่ ...
ที่ในครั้งนั้นในปี 2538 ในปีที่ประเทศไทยจะเข้าภาวะฟองสบู่แตก เคยมีเรื่องขุดทองทหารญี่ปุ่น ที่ว่ามีสมบัติที่ทองผาภูมิ คือทองเป็นขบวนรถไฟ ที่สส.คนหนึ่งว่าค้นเจอมีรางรถไฟในที่สันนิฐาน ว่าตรงนี้ เป็นที่ๆญี่ปุ่นนำทองมาเก็บไว้ มีรางรถไฟบางส่วนที่หลงเหลือ เป็นเค้ามูล ว่าจะนำมาใช้หนี้ให้ประเทศชาติได้ มีการขุดค้นที่ถ้ำลิเจีย ที่มีพระยันตระอยู่ ที่มีข่าวดังนาน ก่อนปี 2540 และ หลังจากนั้น ในปี 2548-49 ที่นายกคนดังยังตื่นเต้น ว่าจะไปเปิด ณ.จุดที่ว่านั้นอีก.แต่ผลก็ไม่มีอะไร ได้พบแต่รางรถไฟ เท่านั้นเอง ............
ในปี2538.ได้มีการตื่นข่าวเรื่องขบวนการขนทองใส่ตู้รถไฟมาไว้ที่ถ้ำลิเจีย..แถว..อ.ทองผาภูมิเป็นข่าวใหญ่เป็นเดือนๆติดต่อกัน
..................เล่าเพลิน จากบางกอกน้อย บ้านเก่าที่ตัวผมเคยอยู่ จนมาสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่วันนี้ บ้านผมก็ไม่ไกลเท่าไรเลย ที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว กลายเป็นสภาพเมือง ที่จะมีไข้ป่า สัตว์ร้ายชุกชุม และ ปาดงดิบ ไม่มีแล้ว และ ที่นี่ สำหรับทหารญี่ปุ่น ดูดีในสายตาชาวบ้าน ไม่น่ากลัว และ ผู้เคยพบรับรู้ในครั้งนั้น....ว่าทหารญี่ปุ่นไม่น่ากลัว อย่างที่กล่าวอ้างกันสืบมานาน.....
โฆษณา