6 ก.พ. 2019 เวลา 04:43 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดกระบี่กระบอง
"การรำ" ในขนบธรรมเนียมการเล่นกระบี่กระบอง จะบังคับเพลงประกอบแต่ละอาวุธให้ถูกต้อง เพราะท่าทางและจังหวะในการรำ จะต้องสอดคล้องไปกับจังหวะของดนตรี ก่อให้เห็นภาพที่ อ่อนช้อย เข้มแข็งและสง่างาม ซึ่งในส่วนของ "คณะศรีไตรรัตน์" ยึดใช้เพลงประกอบท่ารำดังนี้
- อาวุธ กระบี่ต่อกระบี่ หรือ ดาบเดี่ยวต่อดาบเดี่ยว ใช้เพลง "กระบี่ลีลา"
- อาวุธ สองมือต่อดาบสองมือ ใช้เพลง "โยนดาบ"
- อาวุธ ดาบดั้ง-ดาบเขน-ดาบโล่ ใช้เพลง "สมิงทอง"
- อาวุธ ง้าวต่อง้าว ใช้เพลง "ชมดง"
- อาวุธ พลองต่อพลอง ใช้เพลง "ลงสรง"
- อาวุธ ไม้สั้น ใช้เพลง "แขกมอญ"
การรำ มีความสำคัญในการเรียนรู้วิชาดาบไทย เพราะลักษณะการเคลื่อนไหวของการรำ จะสอดคล้องกับการใช้ต่อสู้ หลายสำนักยังตีความหมายท่ารำไปในเชิง แบบฝึกหัดของการใช้เชิงต่อสู้ แต่สำหรับ "คณะศรีไตรรัตน์และสถาบันศาสตรายุทธ์" มองว่า "การรำ" คือ การอบอุ่นร่างกายและฝึกฝนทักษะการใช้ร่างกาย อีกทั้งคตินิยมในการรำ ยังต้องการให้ผู้ฝึกได้สำแดงให้เห็นทักษะขั้นสูง ในการใช้ร่างกายตามหลักวิชา "สามเหลี่ยม" ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะอีกด้วย
โฆษณา