••09.02.2562
✤งานการเงินและบัญชีต้องละเอียด ไม่ตรวจสอบดีๆ เปิดช่องให้เกิดการยักยอกเงินค่าน้ำประปา เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อใช่หรือไม่? แต่สังเกตดีๆ เป็นการค้าความนะ ฟ้อง 2 ล้านกว่า ได้มารวมๆ 6 ล้านกว่า ลูกจ้างและจำเลยในคดีแพ้ทางเทคนิค รับเคราะห์และความซวยกันไป
👉LINE@ : 🔹 https://goo.gl/LpxiYk
👉f Messenger : 🔹 http://m.me/AJK.sciArtist/
✺เรื่องประมาทเลินเล่อนี่สำคัญ เพราะถึงขั้นเลิกจ้างกันได้ก็จริง แต่แปลกที่ปล่อยให้ค้าความ หากอ่านผ่านๆ ก็คดีแรงงาน หากอ่านลึกๆ มันมีอะไรมากกว่านั้น
⚖️ ผ่าประเด็น บริหาร “ฅน” ชี้ถูกผิด “กฎหมายแรงงาน” ว่าด้วย...คำพิพากษาศาลฎีกาที่นายจ้าง |เจ้าของ |หัวหน้า |ผู้จัดการ |ฝ่ายบุคคล |และตัวลูกจ้างเองควรรู้
✎วันนี้ขอนำเสนอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 16/2560 ซึ่งเป็นทั้งเรื่องข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจศึกษาไว้ อาจารย์มองเห็น 4 ประเด็น อยากให้สังเกตกันหนักๆ เพราะคู่ความไม่ได้ต่อสู้กันไว้
🔸ประเด็นที่ 1 | ไล่ออก (เลิกจ้าง) ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อและศาลก็มองว่ามันใช่ อันนี้ไม่เถียงลูกจ้างผิดล้านเปอร์เซ็น แต่ไม่มีการเอ่ยถึง "ระดับแห่งความเสียหายจากการประมาทเลินเล่อ" เอาไว้ ทั้งๆ ที่ พคร.มาตรา 119 (3) กล่าวไว้
🔹ประเด็นที่ 2 | ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 ล้านกว่าบาท ดันได้ถึง 6 ล้านกว่าบาท ใน Case เดียวกันในศาลแรงงานและศาลสมุทรสาคร มองว่าเป็นกาารค้าความได้ ลูกจ้างและพวก แพ้ทั้งที่ไม่น่าแพ้ แพ้ทางเทคนิค ไม่ยกข้อต่อสู้ไว้เอง
🔸ประเด็นที่ 3 | ห้ามเกรงใจศาล มีอะไรค้านได้ค้านไว้ในสำนวน ยกอะไรขึ้นต่อสู้ได้ให้ยกขึ้นมาต่อสู้ ไม่งั้นเสียสิทธิ ถูกล็อคด้วยเทคนิคกฎหมาย
🔹ประเด็นที่ 4 | อย่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริง มันจบแล้วที่ศาลชั้นต้น ถ้าจะสู้ให้สู้ข้อเท็จจริงให้ตกผลึกให้เยอะ ให้คลุมไว้ จะสามารถนำไปขยายเป็นข้อกฎหมายได้
👨🏻‍🦱| การศึกษากฎหมาย ผ่านคำพิพากษา ก็อย่าปล่อยประเด็นที่ละเลยในการสังเกตทิ้งไป เพราะมันมีอะไรๆ ให้เราเรียนรู้อีกเยอะ ถ้าได้ลงลึกไปเรื่อยๆ
•••✵คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 16/2560 ขอวิเคราะห์โดยนำคำพิพากษาตัวเต็มมาว่ากันเหมือนเคยเป็นข้อๆ ดังนี้
▪️{1} คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษนี้ การประปาส่วนภูมิภาค โจทก์ นางสุดา มีสีผ่อง กับพวก จำเลย  อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) , 225 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย 1,325,344.35 บาท และ 1,306,001.02 บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,095,511.95 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 นั้นได้ขาดนัด ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
▫️{2} ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 1,095,511.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ต้องไม่เกิน 229,832.40 บาท และให้ยกฟ้องโจทก์ ในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่พอใจก็จึงอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
▪️{3} ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 ให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำและความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าจะต้องรับผิดตามฟ้องต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็น ไปตามคำพิพากษา (สังเกตให้ดีขณะนั้นคดีแรงงานจากศาลชั้นต้นสามารถอุทธรณ์ข้ามไปศาลฎีกาได้เลยนะครับ)
▫️{4} ต่อมาศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำและความรับผิดของจำเลยที่ 2 ใหม่ตามที่ศาลฎีกาท่านว่ามา จึงได้พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 1,306,001.02 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,095,511.95 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 มิถุนายน 2550) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ ขณะนั้นอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน ไม่สามารถอุทธรณ์ตรงดิ่งไปศาลฎีกาได้อีกแล้ว
▪️{5} ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน วินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในข้อ 2.1 ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานตามฟ้องระงับไปแล้ว โดยโจทก์ได้ให้นายศรัณย์ วงษ์ทองดี และนายประมวล โกฏิเพชร ตัวแทนเก็บเงิน ค่าน้ำประปาของโจทก์ทำหนังสือรับสภาพหนี้อันเกิดจากการเก็บเงินค่าน้ำประปาและยักยอกเงินดังกล่าวไป โดยนายศรัณย์และนายประมวลยอมชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ 735,539.23 บาท และ 2,712,032.50 บาท ตามลำดับ มีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไปตามกฎหมาย และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในข้อ 2.2 ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะเป็นการเอามูลหนี้อย่างเดียวกันเกิดขึ้นในคราวเดียวกันมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินค่าน้ำประปาที่ยักยอกไปคืนจากนายศรัณย์และ นายประมวลไปก่อนหน้าคดีนี้แล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 2 สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ได้นั้น เห็นว่า แม้ปัญหา เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่เป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ (ซวยเลยครับ นี่เป็นการต่อสู้ทางกฎหมายที่ไม่ฉลาด พลาดในเรื่องที่ไม่ต้องจ่ายกลับมาต้องจ่าย เฮ้อ ก็ไม่รู้ว่าจ้างทนายหรือที่ปรึกษากฎหมายที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรึป่าง หรือไม่ได้จ้าง ว่าคดีเอง ผมว่าจะเป๋ๆ แบบนี้ละครับ)
▫️{6} คดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินคืนจากตัวแทนเก็บเงิน 2 คน ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรสาครมีคำพิพากษาให้ชดใช้เงินแก่โจทก์ 2,700,000 บาท และ 730,000 บาท ตามสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 441/2550 และที่ 847/2550 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมูลหนี้ตามฟ้องระงับไปแล้ว (นี่ละครับ พิษสงกฎหมาย ต่อให้ถูกก็เป็นผิดได้ เพราะไม่ปรากฏในข้อเท็จจริงแต่ต้น เพิ่งมานึกออกเนี่ย สายไปแล้ว ควรชนะกลับมาแพ้) และโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ทั้งเมื่อศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมิได้มีประเด็นทั้งสองข้อตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 (มีอะไรอย่าเกรงใจศาลให้มากนัก จนเราแย่ ต้องค้าน ต้องท้วง ไม่งั้นเหมือนคำพิพากษานี้) จำเลยที่ 2 ก็หาได้โต้แย้งไว้ว่าศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนแต่อย่างใด อุทธรณ์ของ จำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย
▪️{7} ส่วนที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในข้อ 3 ว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ 2 เคยทำหนังสือถึงผู้จัดการสำนักงานประปาอ้อมน้อย ในระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ให้ระงับการจ่ายใบเรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาแก่ตัวแทนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจในการระงับการจ่ายใบเรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาเอง ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชี ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่จ่ายและรับคืน รับคืนใบเสร็จรับเงินจากตัวแทนเก็บเงินโดยไม่ได้ตรวจสอบกับทะเบียนคุมการเงิน เป็นเหตุให้ตัวแทนยักยอกเงิน ค่าน้ำประปาไป การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย (อาจารย์กฤษฎ์ : ตาม พคร.มาตรา 119 (3) ใช้คำว่า "ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง" แต่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีแรงงาน ไม่วินิจฉัยถึง "ระดับแห่งความเสียหายจากการประมาทเลินเล่อ" เอาไว้ เนื่องจากคู่ความไม่ได้ต่อสู้เรื่องเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (3) ไว้ แต่ถ้าได้ยกขึ้นมาสู้ ความผิดแบบนี้อาจารย์ฟันธงครับว่า "ระดับแห่งความเสียหายจากการประมาทเลินเล่อนั้นเกิดความเสียหายร้ายแรง" ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวแหง๋ เพราะถ้าการกระทำความผิดวินัยฐานประมาทเลินเล่อนั้นเกิดความเสียหายก็จริงแต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง ลูกจ้างถูกไล่ออกก็ยังได้รับค่าชดเชยอยู่ดี แต่ค่าบอกกล่าวนั้นยังไงก็อดครับ) จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร (คดีแรงงานต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงครับ) คงยกเอาข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 2 เคยทำหนังสือถึงผู้จัดการสำนักงานประปาอ้อมน้อย ในระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ให้ระงับการจ่ายใบเรียกเก็บเงินค่าน้ำแก่ตัวแทนขึ้นเป็นอุทธรณ์ ทั้ง ๆ ที่ศาลแรงงานกลางก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วด้วยว่า เป็นการกระทำหลังจากที่จำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบการจ่ายและรับคืนใบเสร็จค่าน้ำ (คือความผิดมันสำเร็จแล้ว ต่อให้มาทักท้วง มาบอก มาทำตัวว่ารู้ผิด มันกลับหลังหันไปแก้ไขสิ่งผิดไม่ได้แล้วครับ)
▫️อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เช่นกัน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 (ผู้พิพากษา : ดำรงค์ ทรัพยผล - อนันต์ คงบริรักษ์ - สุวรรณา แก้วบุตตา)
♦️ครับก็ต้องระวังให้จงหนัก อาจารย์ถือว่าลูกจ้างรายนี้ทำผิดสมควรไล่ออกตาม พคร.มาตรา 119 (3) "ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง" ครับ ฅนฟ้องคือ การประปาส่วนภูมิภาค ฟ้องเรียก 2,631,345.37 บาท + ดอกเบี้ย และชนะคดีนี้ได้คืนมา 6,078,917.10 บาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี จากจำเลยที่ 2) (คิดจาก คำพิพากษานี้ จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย 1,095,511.95 + 229,832.40 + จำเลยที่ 2 ต้องจ่าย 1,306,001.02 + ดอกเบี้ย + คำพิพากษาศาลสมุทรสาคร ตัวแทนเรียกเก็บเงิน ต้องจ่าย  735,539.23 + 2,712,032.50 บาท) ได้ท่วมท้น เกินหนี้ แต่ไม่เกินฟ้อง พอรวมศาลอื่นคดีเดียวกันยอดล้นๆ เลย อย่างนี้จะไม่เรียกว่าค้าความแล้วจะเรียกว่าอะไร❓ คดีนี้ลูกจ้างผิดก็จริง ถูกไล่ออกได้ก็จริง แต่การจ่ายจริงก็ไม่ควรต้องให้จ่าย Over กว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่ให้ข้อต่อสู้ไว้แต่ต้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่สามารถเอื้อมมาอำนวยความเป็นธรรมให้ได้
✎ข้อกฎหมายจากคำพิพากษาศาลฎีกาและเพิ่มเติมจากอาจารย์กฤษฎ์ในการวิเคราะห์ :
⚖️ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 🔹มาตรา 119 (3) (ขอยกมาทั้งมาตรา)
▫️(วรรค 1) : "นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน
    หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
     ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย"
▪️(วรรค 2) : "การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้"
⚖️ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 🔸 มาตรา 31 "ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม"
⚖️ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477 ♦️มาตรา 142 (5) (ขอยกมาทั้งมาตรา)
"คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคําฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทําคําสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จําเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคําสั่งให้ขับไล่จําเลยก็ได้ คําสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจําเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นซึ่งไม่สามารถแสดงอํานาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชําระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้จําเลยชําระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ได้ชําระเสร็จตามคําพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่องคํานวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชําระค่าเช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้จนถึงวันที่ได้ชําระเสร็จตามคําพิพากษาก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชําระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งมิได้มีข้อตกลงกําหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคํานึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดําเนินคดีศาลจะพิพากษาให้จําเลยชําระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องหรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้"
⚖️ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477 🔹มาตรา 225 วรรคหนึ่ง (ขอยกมาทั้งมาตรา) 
(วรรค 1) : "ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย"
(วรรค 2) : "ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้"
♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞
👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
🔻ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
🔻ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง
🔺🅑🅛🅞🅖| http://AJK.bloggang.com
“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
✺Credit : 👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์ S⃕c̫ίArϯίṧt
🕸ωωω.ƘRISZD.ꉓom
📥KDV@KRISZD.com 📧
#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJK_MDC #อาจารย์กฤษฎ์ #AJK #AjKriszd #SciArtist #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย
#ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation #KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ชนะคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติ #คำพิพากษาศาลฎีกา #ฎีกาแรงงาน #แผนกคดีแรงงาน #งานการเงินและบัญชีต้องละเอียด #ไม่ตรวจสอบให้ดีเปิดช่องให้เกิดการยักยอก #เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
Cr. 👨🏻‍🦱| อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ “ผ่าประเด็น บริหาร “ฅน” ชี้ถูกผิด “กฎหมายแรงงาน”
▪️▪️▪️▫️▫️▫️▫️▪️▫️▪️▫️
✎วันนี้ขอนำเสนอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 16/2560 ซึ่งเป็นทั้งเรื่องข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจศึกษาไว้ อาจารย์มองเห็น 4 ประเด็น อยากให้สังเกตกันหนักๆ เพราะคู่ความไม่ได้ต่อสู้กันไว้
🔸ประเด็นที่ 1 | ไล่ออก (เลิกจ้าง) ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อและศาลก็มองว่ามันใช่ อันนี้ไม่เถียงลูกจ้างผิดล้านเปอร์เซ็น แต่ไม่มีการเอ่ยถึง "ระดับแห่งความเสียหายจากการประมาทเลินเล่อ" เอาไว้ ทั้งๆ ที่ พคร.มาตรา 119 (3) กล่าวไว้
🔹ประเด็นที่ 2 | ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 ล้านกว่าบาท ดันได้ถึง 6 ล้านกว่าบาท ใน Case เดียวกันในศาลแรงงานและศาลสมุทรสาคร มองว่าเป็นกาารค้าความได้ ลูกจ้างและพวก แพ้ทั้งที่ไม่น่าแพ้ แพ้ทางเทคนิค ไม่ยกข้อต่อสู้ไว้เอง
🔸ประเด็นที่ 3 | ห้ามเกรงใจศาล มีอะไรค้านได้ค้านไว้ในสำนวน ยกอะไรขึ้นต่อสู้ได้ให้ยกขึ้นมาต่อสู้ ไม่งั้นเสียสิทธิ ถูกล็อคด้วยเทคนิคกฎหมาย
🔹ประเด็นที่ 4 | อย่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริง มันจบแล้วที่ศาลชั้นต้น ถ้าจะสู้ให้สู้ข้อเท็จจริงให้ตกผลึกให้เยอะ ให้คลุมไว้ จะสามารถนำไปขยายเป็นข้อกฎหมายได้
👨🏻‍🦱| การศึกษากฎหมาย ผ่านคำพิพากษา ก็อย่าปล่อยประเด็นที่ละเลยในการสังเกตทิ้งไป เพราะมันมีอะไรๆ ให้เราเรียนรู้อีกเยอะ ถ้าได้ลงลึกไปเรื่อยๆ
➜ C̐ᖇiḉ🄺 ᔓᓮ👉🏻 https://bit.ly/2MVEjPO
โฆษณา