13 ก.พ. 2019 เวลา 16:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อยากเล่าเรื่องรถไฟฟ้า..... ภาค 4
ภาค 3 ลุงเล่าเรื่องข้อดี ข้อด้อย ของรถไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ รถแต่ละระบบต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน สมัยนี้เราจะห่วงเรื่องคุณภาพอากาศ คุณภาพชีวิต การลดมลพิษต่างๆ ซึ่งต่างจากคนสมัยก่อนที่อาจจะไม่ได้คิดเรืองนี้มากมายนัก ทำให้รถไฟฟ้าเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
2
วันนี้ลุงจะเล่าว่ารถไฟฟ้ามีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เราสามารถแบ่งรถไฟฟ้าได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.รถไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV)
2.รถไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (Plug-In Electric Vehicle : PHEV) และ
3.รถไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV หรือ EV) แต่บางที่เขาจะเพิ่มรถไฟฟ้าแบบ Fuel Cell (Fuel Cell Electric Vehicle : FCEV)เข้ามาอีกแบบหนึ่ง
1
ก่อนจะมาดูรถแต่ละประเภทว่าต่างกันยังไง
ลุงอยากพูดถึงคำว่า "ไฮบริด" สักหน่อย คำๆนี้แปลตรงๆตัวว่าลูกผสม รถไฮบริดคือรถที่สามารถใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานได้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป รถแท็กซี่ในบ้านเราที่ใช้น้ำมันเบนซินคู่กับ LPG หรือ NGV เมืองนอกเขาก็เรียกว่ารถไฮบริดเหมือนกันนะ แต่บ้านเราคำว่า "รถไฮบริด" จะหมายถึงรถที่มีทั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์รวมอยู่ในคันเดียวเท่านั้น
กลับมาต่อเรื่องรถไฟฟ้าแบบแรก รถไฟฟ้าแบบไฮบริด: HEV รถแบยนี้ก็คือ รถไฟฟ้าแบบที่ขายอยู่ในบ้านเราตอนนี้ เช่น Toyota Camry Hybrid , Prius Hybrid หรือ Honda Accord Hybrid เป็นรถที่มีทั้งเครื่องยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ แต่จะใช้เครื่องยนต์เป็นหลักในการทำงาน ตัวรถมีถังน้ำมันสำหรับเติมพลังงานให้กับรถ แต่ไม่มีที่เสียบสายไฟจากภายนอกเข้ามาชาร์จแบตเตอรี่ แบตเตอรรี่จะชาร์จโดยใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ไปขับเจนเนอเรเตอร์ หรือบางส่วนของการชาร์จ ได้จากการเบรคของรถ (หรือเรียกว่า Regenerative Braking เรื่องนี้จะหาโอกาสมาเล่าให้ฟังทีหลังนะ)
3
ช่วงที่รถออกตัวและวิ่งที่ความเร็วต่ำๆจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนให้รถวิ่ง เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วสูงและคงที่จะใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนแทน รถไฟฟ้าแบบนี้มีข้อดี คือประหยัดน้ำมันกว่ารถเครื่องยนต์ เพราะช่วงที่รถออกตัวหรือความเร็วต่ำ มอเตอร์ไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนรถดีกว่าเครืองยนต์ สังเกตุง่ายๆจากเวลาที่เราขับรถในเมืองที่รถวิ่งๆหยุดๆ รถยนต์จะกินน้ำมันมากกว่าวิ่งในถนนโล่งๆต่างจังหวัด แสดงว่าเครื่องยนต์ไม่เหมาะกับการใช้งานที่วิ่งๆหยุดๆ
1
รถไฟฟ้าแบบที่สอง PHEV หรือ รถไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริค รถแบบนี้เติมน้ำมันก็ได้ และชาร์จไฟจากสายไฟภายนอกก็ได้ ตัวรถมีทั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงและปลั๊กไฟที่ตัวรถเพือเสียบสายไฟจากบ้านหรือสถานีเข้าชาร์จแบตเตอรี่ในรถ ในรถยังคงมีทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนHEV แต่จะใช้มอเตอร์เป็นหลักในการขับเคลื่อนให้รถวิ่งและใช้เครื่องยนต์น้อยลง รถบางรุ่นออกแบบให้เครื่องยนต์จะทำหน้าที่ชาร์จแบตเตอรี่เท่านั้น เช่น Nissan Note E-Power เมื่อเทียบกับรถ HEV แล้ว รถ PHEV มีเเครืองยนต์เล็กกว่า แต่มอเตอร์และแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่กว่า HEV มาก
5
รถไฟฟ้าแบบที่สาม BEV : Battery Electric Vehicle เป็นรถไฟฟ้า 100% ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน ในรถไม่มีเครื่องยนต์ ไม่มีถังน้ำมัน พลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถมาแบตเตอรี่เท่านั้น ซึ่งต้องชาร์จจากระบบไฟฟ้าในบ้าน ที่ทำงานหรือในสถานีอัดประจุ รถไฟฟ้าในยุโรปและอเมริกา ส่วนใหญ่จะเป็น BEV แทบทั้งนั้น
1
ส่วนรถไฟฟ้าแบบสุดท้าย : FCEV หรือ Fuel Cell Electric Vehicle ก็เป็นรถไฟฟ้า 100% เหมือน BEV ไม่มีเครื่องยนต์ มีแต่มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งที่ทำให้ FCEV ต่างจาก BEV คือพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในรถ จะได้มาจาก Fuel Cell หรือเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งเจ้าเซลล์เชื้อเพลิงนี้สามารถผลิตไฟฟ้าจากการทำปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจน และ ไฮโดรเจนแรงดันสูง เจ้าสองธาตุนี้คือ องค์ประกอบของน้ำ หรือ H2O บางคนเลยบอกว่า เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าจากน้ำได้ รถ FCEV มีทั้งที่มีแต่ FUEL CELL เท่านั้น ไม่มีแบตเตอรี่ พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์นำไปขับมอเตอร์เลย และรถที่มีทั้งแบตเตอรี่และ FUEL CELL ทำงานร่วมกัน
2
ข้อดีของ FCEV คือ สามารถเติมไฮโดรเจน เหมือนกับเราเติมก๊าซ NGV ใช้เวลาในการเติมน้อยการชาร์จแบตเตอรี่ เหมาะกับรถที่ต้องวิ่งระยะทางไกลๆ และต่อเนื่อง ส่วนข้อเสียคือ ก๊าซไฮโดรเจนมีก๊าซที่ไวไฟมาก หากมีการรั่วไหลจะสามารถติดไฟได้ง่ายมาก
ลุงสรุปเป็นรูปให้ดูว่ารถแต่ละชนิดใช้พลังงานจากที่ไหนบ้างนะ
วันนี้ลุงขอเล่าเท่านี้ก่อนนะครับ
ลุงขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันเสนอความคิดเห็นและช่วยกันตอบแทนลุงนะครับ
สวัสดีครับ...
โฆษณา