21 ก.พ. 2019 เวลา 13:20 • กีฬา
รู้หรือไม่ 18 ทีมในเจลีก พวกเขามีใครเป็นแบ็กอัพอยู่เบื้องหลัง แต่ละทีมจริงๆแล้วคือตัวแทนขององค์กรอะไร วิเคราะห์บอลจริงจัง จะเล่าเรื่องของ 18 ทีมให้ฟังก่อนเจลีกจะเริ่ม
แนวทางการก่อตัวของสโมสรในประเทศญี่ปุ่น มีแนวคิดต่างจากฟุตบอลยุโรป
สโมสรในยุโรป จะมีจุดเริ่มต้นจากการที่ประชาชน ตั้งทีมฟุตบอลประจำเมืองขึ้นมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงความรู้สึกของคนในท้องถิ่น
แต่ทีมในเจลีก จุดเริ่มต้น คือทีมขององค์กร แทบทุกสโมสร ล้วนมีแบ็กอัพเป็น บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น
บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น เริ่มต้นจากมีทีมฟุตบอลภายในองค์กร แต่พอเข้าสู่ปี 1992 สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น ก่อตั้งเจลีกขึ้น ทำให้ทีมในองค์กร ต้องไปผูกรวมกับ เมืองต่างๆในญี่ปุ่น
ดังนั้นทีมฟุตบอลในเจลีก ไม่ได้เป็นตัวแทนของเมืองเท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรด้วย
ถ้าหากทีมชนะในสนาม ก็เหมือนองค์กรนั้น ชนะคู่แข่งบริษัทอื่นด้วยกัน ถือเป็นความสำเร็จทางอ้อม
เราไปดูกันว่า ในเจลีก ฤดูกาล 2019 ทั้ง 18 สโมสร คือตัวแทนขององค์กรใดบ้าง
ต่อจากนี้ไป แฟนบอลชาวไทย ดูบอลเจลีก เราจะได้นึกภาพออกอย่างชัดเจนมากขึ้น ว่ามันเป็นสงครามของสินค้าอะไรสู้กับอะไรอยู่
1) ซานเฟรซเช่ ฮิโรชิม่า
- มาสด้า (ผู้ผลิตยานยนต์)
- มาสด้ามีสำนักงานใหญ่ที่เมืองฮิโรชิม่า
- ปัจจุบัน Edion (เอดิออน) ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าดัง เป็นหุ้นใหญ่ของสโมสร ส่วนมาสด้ายังมีหุ้นอยู่ส่วนหนึ่ง
1
2) คาวาซากิ ฟรอนตาเล่
- ฟูจิตสึ (ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์)
- บริษัทฟูจิตสึ ก่อตั้งที่เมืองคาวาซากิ
- คาวาซากิในที่นี้ เป็นชื่อเมืองในจังหวัดคานางาวะ ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ คาวาซากิ
3
3) ชิมิสุ เอส-พัลส์
- ไม่มีเริ่มต้นด้วยการมีองค์กรใหญ่เป็นแบ็กอัพ
- ชาวเมืองชิมิสุ และธุรกิจท้องถิ่น รวมตัวกันเพื่อสร้างทีมฟุตบอลในจังหวัด
- ในปี 1998 สโมสรมีปัญหาเรื่องการหางบประมาณในการรันสโมสร ทำให้ บริษัท สึซึโย (Suzuyo) บริษัทขนส่ง ขนาดใหญ่ของประเทศที่มีฐานอยู่ที่ชิมิสุ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
- ปัจจุบัน เอส-พัลส์ มีผู้ถือหุ้นหลายเจ้า ทั้ง สึซึโย, สมาคมหนังสือพิมพ์เมืองชิสึโอกะ และ บริษัทชิสุโอกะ แก๊ส เป็นต้น
4) นาโกย่า แกรมปัส
- โตโยต้า (ผู้ผลิตยานยนต์)
- สำนักงานใหญ่ของโตโยต้า อยู่ในจังหวัดไอจิ อยู่ห่างจากนาโกย่าแค่ 35 นาทีเท่านั้น
5) เวกัลตะ เซนได
- บริษัทไฟฟ้า แห่งโทโฮคุ
- ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า จัดจำหน่ายให้กับ 6 จังหวัดในภูมิภาคโทโฮคุ
- สำนักงานใหญ่ของบริษัทไฟฟ้าแห่งนี้ อยู่ที่เมืองเซนได
6) ซากัน โทสุ
- ยางบริดจ์สโตน
- สำนักงานใหญ่ของบริดจ์สโตน ในอดีตอยู่ที่จังหวัดฟุกุโอกะ ซึ่งมีพรมแดน ติดกับเมืองซากะ ที่ตั้งของสโมสรซากัน โทสุ
- บริดจ์สโตน เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ตั้งแต่ก่อตั้งทีม และยังเป็นสปอนเซอร์อยู่จนถึงวันนี้
7) โชนัน เบลมาเร่
- โทวะ รีลเอสเตท บริษัทอสังหาริมทรัพย์
- ขายหุ้นทั้งหมด ให้กับ บริษัทฟูจิตะ คันโค เจ้าของเครือโรงแรมที่ญี่ปุ่น
- เจ้าของโรงแรมโฟร์ซีซั่นที่โตเกียว , โรงแรมวอชิงตันโฮเท็ล และอีกหลายแห่ง
8 ) คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
- นิปปอน สตีล & สุมิโตโมะ เมทัล(ผู้ผลิตเหล็กใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก)
- นิปปอน สตีล & สุมิโตโมะ เมทัล มีหุ้นส่วนรวม 92.4% ส่วนสภาเมือง คาชิม่า และเมืองข้างเคียง มีหุ้นสโมสร 7.6%
- ส่วนหน้าอกเสื้อของคาชิม่า คือ Lixil ผู้ผลิตเครื่องใช้ในบ้าน เป็นแค่สปอนเซอร์ ไม่มีหุ้นส่วน
9) เซเรโซ่ โอซาก้า
- ยันมาร์ (ผู้ผลิตเครื่องจักรดีเซล)
- สโมสรเริ่มต้นจากทีมพนักงานบริษัทยันมาร์ดีเซล ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นเซเรโซ ในปี 1993
- ยันมาร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โอซาก้า
- ปัจจุบัน ยันมาร์ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่อีกแล้ว แต่มี 12 บริษัทร่วมถือหุ้น โดยหุ้นใหญ่คือ นิปปอน แฮม บริษัทผลิตอาหาร ที่มีฐานในโอซาก้าเช่นกัน
10) จูบิโล่ อิวาตะ
- ยามาฮ่า (มอเตอร์ไซค์ และยานยนต์)
- ยามาฮ่า มอเตอร์ส มีสำนักงานใหญ่ ที่เมืองอิวาตะ จังหวัดชิสึโอกะ
11) อุราวะ เรด ไดม่อนด์
- มิตซูบิชิ (ยานยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่)
- มิตซูบิชิถือหุ้นใหญ่สุดของสโมสร (50.625%) , นิสสันมอเตอร์ส ถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 34%
12) โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
- นิสสัน มอเตอร์ส (ยานยนต์)
- สำนักงานใหญ่ของ นิสสัน ตั้งอยู่ที่เมืองโยโกฮาม่า
- ปัจจุบัน นิสสัน มีหุ้น 74% ของมารินอส ส่วนผู้ถือหุ้นอันดับ 2 20% คือ ซิตี้ฟุตบอลกรุ๊ป เจ้าของเดียวกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้
13) คอนซาโดเล่ ซัปโปโร
- โตชิบ้า (ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า)
- โตชิบ้า ได้ขายหุ้นทั้งหมด และตัดสินใจไม่ทำทีมฟุตบอลต่อไป
- ทำให้กลุ่มบริษัทห้างร้านในเมืองซัปโปโร ได้ร่วมกันซื้อหุ้น และเป็นเจ้าของสโมสรร่วมกัน
- ร้านค้าท้องถิ่นมีหุ้นคนละนิดละหน่อยตัวอย่างเช่น บริษัทช็อคโกแลต อิจิยะ มีหุ้น 9.53% , ห้างมารุอิ มิตสึโคชิ มีหุ้น 5.94% เป็นต้น
14) วิสเซล โกเบ
- บริษัทค้าขายออนไลน์ ราคุเท็น (Rakuten)
- ในอดีต วิสเซล โกเบ มีแบ็กอัพเป็นผู้ผลิตเหล็กกล้า คาวาซากิ สตีล ในแต่ปี 2015 ราคุเท็น ซื้อหุ้นทั้งหมด 100%
- ส่วนชื่อสนาม โนเวียร์ (Noevir) เป็นผลิตภัณฑ์ความงาม แต่เป็นแค่สปอนเซอร์เท่านั้น ไม่มีหุ้นกับสโมสร
15) เอฟซี โตเกียว
- โตเกียว แก๊ส (บริษัทจัดส่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น)
- มีรายงานว่ามีถึง 374 องค์กร ที่มีหุ้นส่วนรายย่อยในสโมสรเอฟซี โตเกียว
16) กัมบะ โอซาก้า
- มัตสึชิตะ อีเล็คทริก เปลี่ยนชื่อเป็น พานาโซนิค ในภายหลัง
- พานาโซนิค เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ มีหุ้นกับสโมสร 70%
- โอซาก้าแก๊ส 10% , เวสต์เจแปนเรลเวย์ 10% และ คันไซ อีเล็คทริก 10%
- สำนักงานใหญ่ของพานาโซนิคตั้งอยู่ที่โอซาก้า
17) โออิตะ ทรินิต้า
- ไม่มีองค์กรใหญ่เป็นแบ็กอัพ ทีมฟุตบอลเริ่มก่อตั้งในปี 1994 หลังจากชาวเมืองต้องการให้มีทีมฟุตบอลลงแข่งในระดับเจลีก
- สภาเมือง และหอการค้าของเมืองโออิตะ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของสโมสร
- สปอนเซอร์แทบทั้งหมด เป็นแบรนด์ท้องถิ่น หน้าอกเสื้อเป็น รถยนต์ไดฮัทสุ สาขาคิวชู , ด้านหลังเป็นสมาคมหนังสือพิมพ์จังหวัดโออิตะ, ชื่อสนามเป็น โออิตะ แบงค์ ส่วน โลโก้ที่แขนเสื้อเป็นมิโดริมิลค์ ผลิตภัณฑ์นมที่ มีฐานอยู่ที่เมืองโออิตะ
18) มัตสึโมโตะ ยามากะ
- สโมสรก่อตั้งในปี 1965 ก่อนไปจ้างบริษัทชื่ออัลวิน สปอร์ตส มาบริหารทีมในปี 2004
- ในปี 2011 สภาเมืองมัตสึโมโตะ เลิกจ้างอัลวิน สปอร์ตส แล้วตั้งบริษัทชื่อมัตสึโมโตะ ยามะ เพื่อมาบริหารทีมโดยตรง
- หุ้นส่วนของสโมสร คือสภาเมืองมัตสึโมโตะ, สภาเมืองชิโอจิริ, สภาเมืองอาซุมิโนะ, สภาเมืองโอมาจิ, หมู่บ้านอิเคดะ และ หมู่บ้านยามากาตะ
- สปอนเซอร์หลักของสโมสรคือ บริษัท Epson ผู้ผลิตอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์ ที่มีฐานอยู่ที่จังหวัดนากาโน่ ระยะห่างจากสโมสรเพียง 70 กิโลเมตร
นี่ล่ะครับ ครบทั้ง 18 ทีมแล้ว จากนี้ไป เราก็จะพอนึกแบ็กกราวน์ออก ว่า แต่ละสโมสรมีใครคอยเป็นท่อน้ำเลี้ยงอยู่เบื้องหลัง
อย่างแมตช์ที่ โยโกฮาม่า มารินอส พบ นาโกย่า แกรมปัส จึงไม่ใช่การเจอกันของสองทีมนี้เท่านั้น แต่เบื้องหลังคือการสู้กัน ของโตโยต้า กับ นิสสันด้วย
1
เจลีก เป็นลีกที่น่าสนใจครับ ไม่ใช่แค่ เพราะมีสตาร์นักเตะไทยลงแข่งเท่านั้น แต่ด้วยเรื่องราวเบื้องหลัง มันมีความสนุกซ่อนอยู่เยอะไปหมด
ถ้าจะมีสักลีกในเอเชีย นอกจากไทยลีก ที่น่าติดตามแล้วล่ะก็ แน่นอน ว่าคำตอบเดียวคือเจลีก
#JLeague
โฆษณา