27 ก.พ. 2019 เวลา 09:42 • ประวัติศาสตร์
บางระจัน / การเมือง / เรื่องชาวบ้าน (3)
นายทองเหม็น-ขุนสรรค์-จันหนวดเขี้ยว...สุดกลมเกลียวใจใหญ่ต้านภัยศึก...ไม่อาจต้านปืนใหญ่ใจโหมฮึก...
ถูกข้าศึกตีแตกแลกชีวา!!!
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
//The Chariot
ในบรรดาวีรชนคนบางระจันที่มีคาแรคเตอร์โดดเด่น
มีสีสันที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินนายทองเหม็น
ที่ชื่อว่าเหม็นนี้อาจไม่ได้มีความหมายว่าเป็นนักรบ
ขี่ควายผมเผ้ารุงรังไม่อาบน้ำจนตัวเหม็น!
ด้วอย่างคนในสมัยโบราณมักตั้งชื่อโดยยึดถือ
"คำสร้อย" เพื่อให้ระบุชื่อตัวเอาได้ง่ายๆ
อย่างนายจัน (หนวดเขี้ยว) นายทองแสง (ใหญ่)
ไปจนถึงระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอย่างพระราชโอรส
องค์หนึ่งในสมเด็จพระเจ้าตากสินมาราช
วีรกษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
ก็ยังมีชื่อว่าเจ้าฟ้าเหม็น!
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
ก็เห็นจะเป็นด้วยอุบายของคนสมัยก่อนในการ
ป้องกัน "แม่ซื้อ"
ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีชนิดหนึ่งชอบมาสูบเอาวิญญาณ
ของเด็กทารกไปกินเป็นอาหาร!
คนโบราณจึงพยายามตั้งชื่อบุตรให้สุดขยะแขยงเข้าไว้เพื่อไม่ให้ "โดนผีกิน"!
ยังมีบันทึกในพงศาวดารว่า
สมเด็จเจ้าฟ้าในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระองค์หนึ่ง
ถึงกับมีชื่อว่า "หม่อมเจ้าขี้หมู"
ก็ยังดูเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในสมัยนั้น!
กลับมาที่ค่ายบางระจัน
ในเวลาที่นายทองเหม็น นายจัน และขุนสรรค์
เริ่มมีบทบาท
ก็คือช่วงเวลาเดียวกับที่มีการระบุว่า "นายแท่น"
ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ "รุ่นก่อตั้ง" ต้องกระสุนปืนพม่าเข้าที่หัวเข่าจนต้องเอาแต่นอนบัญชาการศึกอยู่ภายในค่าย
https://mobile.daradaily.com/news/45552
นายจันหนวดเขี้ยวและขุนสรรค์
หัวหมู่ทะลวงฟัน และนายกองซุ่มยิง (sniper) มือฉมังแห่งบ้านระจันจึงทำหน้าที่เป็นผู้นำของชาวบ้านแทน
โดยมีนายทองเหม็น
ซึ่งในประวัติศาสตร์ไม่ได้มีการระบุว่าได้แสดง
ความสามารถในเชิงวางแผนกลศึกมากเท่าใด
แต่มีใจที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว
ควงขวานเคียวเที่ยวรำบนหลังควายสู้ถวายชีวิต
อย่างไม่เกรงกลัวพม่ารามัญ!
ท่านผู้ที่ชื่นชอบนิยายเรื่องสามก๊ก อาจจะพอนึกถึงบุคลิกของ "เตียวหุย"
หน้าคล้ำตัวดำร่ำสุราแล้วก็ไม่พูดไม่จาฝ่าออกสู่
สมรภูมิในทันที!
ซึ่งกลศึกทำนองนี้
ได้ใช้เด็ดหัวขุนศึกพม่าระดับนายกองถึงสองคนมาแล้ว
คืออากาปัญญีและสุรินทจอข่อง
ผู้ที่จ้องจะข่มขวัญชาวบ้านตาดำๆ
ด้วยเสื้อผ้าแพรไหมทำอย่างดีจากพุกามประเทศ!
แต่ชาวบ้านขี่ควายตัวเหม็นอย่างนายทองเหม็น
เห็นเครื่องยศพม่าเป็นเรื่องท้าทาย!
ขี่ควายข้ามคลองไปเด็ดหัวแม่ทัพทั้งสองของพม่า
มาเซ่นฝั่งคลองไว้มองดู!!!
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
ถ้าจะพูดถึงอีก 2 คู่หู
คือขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยว
ทั้งคู่นับเป็น "คู่ประสาน" ที่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี
ในขณะที่นายทองเหม็นชอบใช้วิธีพุ่งชนตรงๆ
เอาอย่างบ้าคลั่ง!
ในฝั่งของขุนสรรค์กับนายจันนั้นมักใช้วิธี
"แยกกันเดิน...รวมกันตี"
คนหนึ่งดักซุ่มยิงก่อกวนที่ด้านหน้า
อีกคนถือดาบสองมือคุมพลประจญตะลุยฝ่า
เข้าไปด้านหลัง!
แล้วพร้อมกันทั้งสองทางก็ระดมยิงระดมสับจนพม่า
ที่เข้ามาในเขตคลองสะตือสี่ต้นตั้งตนไม่ติด!
มาทิ้งชีวิตไว้มากเสียหลายราย!
ทั้งจอมควายพุ่งชนกับสองคนคู่ประจัน
สร้างความหวาดหวั่นให้แก่พม่าทุกนาม
จนมีแต่คนครั่นคร้ามมิอยากได้รับมอบหมาย
ให้เป็นนายทัพมาตีค่ายบางระจัน!
ร้อนไปถึงสองแม่ทัพใหญ่มังมหานรธา/ เนเมียวสีหบดี!
ต้องหาคนดีมีฝีมือมารื้อค่ายบางระจัน
ไม่ให้เป็นเสี้ยนหนาม เป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจ
โค่นราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาของพระเจ้ามังระได้
ก็พอดีมีชายนายหนึ่ง
https://mono29.com/program/9238.html
เป็นคนมอญอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยมาช้านาน
ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "สุกี้"
รู้กลอุบายและนิสัยใจคอคนไทยเป็นอย่างดี
จึงรับอาสามาตีค่ายในฐานะ "สุกี้พระนายกอง"
เกี่ยวกับนาย "สุกี้" ที่หักหลังเผ่าพงศ์วงศ์ไทยนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นว่าชื่อ "สุกี้" น่าจะเป็นการเรียกทับศัพท์
มาจากคำว่า "ซุคยี" ที่แปลว่านายกอง
ขณะที่ทางกรมหลวงนรินทรเทวี น้องสาวรัชกาลที่ 1
ที่เกิดทันได้เห็นหน้านายสุกี้ได้อธิบายว่า
พ่อสุกี้ หรือ ซุคยี คนนี้มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า "ทองสุก"
ดังนั้นชื่อทั้งหลายที่บรรดาคนรุ่นหลังตั้งขึ้นมา
จนพ้องกับบุฟเฟต์ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ ณ ขณะนี้!
อาจมีที่มาจากชื่อ "ทองสุก" นี้ก็เป็นได้
นายทองสุก ซึ่งก็คงพอจะได้ "ประเมิน" ผลงานคนบางระจันว่าไม่ควรจัดอยู่ในเกณฑ์ของ
"ชาวบ้านธรรมดา"!
https://m.pantip.com/topic/33297650?
แต่ด้วยว่ามีผู้นำมากหน้าหลายความสามารถ!
ทั้งเก่งฉกาจในเชิงกลยุทธ์!
มีคนน้อยก็เอาสู้คนมากได้!
นายทองสุกจึงตัดสินใจ ไปพร้อมปืนใหญ่!!!
พร้อมอุปกรณ์ตั้งค่ายอย่างครบครันไม่ดูแคลนฝีมือ
ชาวบ้านระจันอีกต่อไป
ณ ชั่วครู่ที่ข่าวการมาของสุกี้เข้าไปถึงหูชาวบ้าน
นายทองเหม็นก็นำกองคาราวาน "ควายเหล็ก"
ข้ามคลองสะตือสี่ต้นออกไปผจญล้างผลาญในทันที!
สุกี้ไม่ใช้วิธีรบซึ่งหน้าแสร้งถ่วงเวลาให้ทั้งคนทั้งควายเหนื่อยอ่อนจนน้ำลายฟูมปาก!
จากนั้นจึงรุมกันเข้าไป "ทุบ" ด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่านายทองเหม็นนี้ "หนังเหนียว"
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
ทนต่อเขี้ยวงาและศาสตราทุกชนิด!
นายทองเหม็นสิ้นชีวิตอย่างสุดแสนจะชอกช้ำ!
ช้ำทั้งภายนอก คือบาดแผลฉกรรจ์จากค้อนอันใหญ่
ที่นายสุกี้มอบไว้ให้!
และแผลภายใน ที่คนในแผ่นดินไทยมาตลบหลังไทยด้วยกันเอง!!!
เพลงยุทธ์ตำรับ "คู่ประสาน" ของขุนสรรค์
และนายจันหนวดเขี้ยว
ก็ถูก "เคี้ยว" จนแหลกด้วยแผนการ "แยกกันซุ่มรุมกันตี" ของสุกี้ที่เตรียมการมาอย่างพร้อมสรรพ
กองทะลวงฟันของนายจันถูกกระสุนรุมยิงพรุน
อย่างไม่เลือกที่และไม่นับ!
ในทางกลับกันกองซุ่มยิงของขุนสรรค์ก็ถูกตลบหลัง
รุมสังหารในระยะประชิดแบบไม่ทันได้เหนี่ยวไก!
ก็ด้วยความรู้นิสัยและชำนาญในพื้นที่ผืนดินไทย
ของนายสุกี้ จึงทำให้การณ์เป็นเช่นนี้ได้นั่นเอง!
เมื่อสิ้นขุนสรรค์ นายจัน และนายทองเหม็นไปแล้ว
ก็ใช่ว่าค่ายบางระจันจะสิ้นคนดี!
ยังมีพันเรืองและนายทองแสงใหญ่
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
ขึ้นมานำคนในหมู่บ้านในลำดับถัดไปเป็นผู้นำชุดที่สาม
แต่ว่าความหายนะก็ได้เริ่มเข้ามาจนคนในหมู่บ้าน
ตั้งตัวแทบไม่ติด!
เสียงปืนใหญ่จากค่ายสุกี้ที่ระดมยิงอย่างต่อเนื่อง
ทำเอาชาวบ้านหลายรายใจหายขวัญหนีดีฝ่อไปตามกัน
ที่ทยอยออกจากหมู่่บ้านไปนั้นก็มีมาก
แต่ที่ยังยืนหยัดตรากตรำทำศึกก็ยังพอมี
"กรุงศรี" จึงเป็นที่พึ่งสุดท้าย!
ที่ชาวบางระจัน หมายจะให้เป็นที่ฝากความหวัง
เหมือนตะเกียงริบหรี่ ที่ต้องการน้ำมันมาเติมไฟ
แต่พายุศึก หรือจะสู้ พายุการเมือง!
เรื่องราวภายในกรุงศรีเป็นที่โจษจันท์กันมาแต่
รุ่นปู่ย่าตายาย
ว่าฆ่ากันตายเพื่อแย่งชิงอำนาจกันเสียมากกว่า
ศึกที่พม่าบุกมาด้วยซ้ำ!
การตรากตรำเดินทางมาขอปืนใหญ่ มิวายถูก
"ผู้หลักผู้ใหญ่" ในเมืองระแวงพาคิดไปว่า
อาจเป็นการประเคนของให้พม่าเสียระหว่างทาง!
แถมยังมีบางท่านคิดเห็นเป็นว่าชาวบางระจัน
จะทำตนซ้ำรอยเมืองพระพิษณุโลกสมัยพระเฑียรราชา
https://m.pantip.com/topic/32132673?
ที่จะเอาปืนใหญ่ไปใช้ร่วมกับพม่าหันมายิงกรุงเสียเอง!
คำขอปืนใหญ่ไร้ผล!
จนจวนเจียนจะสิ้นวาระสุดท้าย
ซึ่งพงศาวดารได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่า
"...ฝ่ายชาวบางระจันหาที่พึ่งมิได้ ด้วยมิมีใครช่วยอุดหนุน ก็เสียใจย่อหย่อนอ่อนฝีมือลงเห็นจะสู้รบต้านทานพม่าไม่ได้..."
"...แต่ตั้งต่อรบพม่ามาแต่เดือน ๔ ปลายปีระกา สัปตศก ครั้นถึง ณ วันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือนแปด ปีจอ อัตศก..."
"...พม่าก็ยกเข้าตีค่ายใหญ่บางระจัน ฆ่าคนเสียเป็นอันมาก ที่จับเป็นไปได้นั้นก็มาก..."
"...ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น
ไทยตายประมาณพันเศษ..."
อีก 9 เดือนต่อมาไทยก็เสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า
บรรดาช้าง ม้า ทรัพย์สินเงินทองทยอย
ถูกส่งกลับกรุงอังวะ
ในจำนวนนั้นมีการระบุว่าเป็นปืนใหญ่ที่ยังใช้การได้ดีกว่าถึง 1,200 กระบอก!!!
เกี่ยวกับชะตากรรมของพ่อ "สุกี้" คนดีที่หันไปสวามิภักดิ์กรุงอังวะช่วยพม่าตีบางระจันนั้น
มีกล่าวถึงในพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขาว่า
https://cklanpratoom.wordpress.com/tag/เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์-ที่เ/
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รวมกำลังจากเมืองจันทบุรีกลับมาตีค่ายโพธิ์สามต้นนั้น
พ่อสุกี้ได้รบจนตัวตายเสียในค่าย!
แต่ในฉบับพันจันทนุมาศ
ได้มีการกล่าวไว้เป็นอีกแบบ คือ
"...พระนายกองสะดุ้งตกใจ ออกมาถวายบังคม
ขอสวามิภักดิ์ ขอเป็นข้าใต้ฝ่าละออง ทูลเชิญ (เจ้าตาก) เสด็จพระราชดำเนินเข้าไป..."
"...เห็นขัตติยวงศาบุราณเสนาบดีอนาถาได้ทุกขเวทนาลำบาก ก็พระราชทานทรัพย์เสื้อผ้าต่างๆ..."
"...แก่พระนายกองแลเสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยเป็นอันมาก แล้วจึงให้เชิญเสด็จพระบรมศพพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์..."
"...แห่แหนมา ณ โพธิ์สามต้น ถวายพระเพลิง
แล้วพระราชทานศักดิ์เสนาบดีให้คงที่อยู่กับ
พระนายกองดังเก่า..."
ที่เป็นดังนี้...ก็ด้วยภายหลังกรุงแตกแล้ว
http://huexonline.com/knowledge/14/149/
พ่อสุกี้ได้เที่ยวไปตระเวนหาสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
จนไปพบเข้าในสภาพร่างที่มีเพียงลมหายใจโรยริน!
พ่อสุกี้ก็ยังพยายามนำกลับมาปฐมพยาบาล
ตามมีตามเกิด!
สุดท้ายแม้จะยื้อชีวิตไว้ไม่ได้!
แต่ก็ตกแต่งพระศพอย่างสมพระเกียรติ
แล้วจึงมีหนังสือไปยังเมืองจันทบุรี
ให้มาสวามิภักดิ์ต่อตน ณ ค่ายโพธิ์สามต้น!
หวังจะชิงขึ้นเป็นใหญ่ตัดหน้า "เจ้าตาก"
แต่ดันเดินหมากช้าไปหนึ่งก้าว!
ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นดั่งพระราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตเลขา หรือฉบับพันจันทนุมาศ
แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่า
พ่อ "สุกี้" คนนี้ช่างรู้ใจคนไทยดีเสียนี่กระไร!!!
http://www.bansansuk.com/travel/bankrachan/
เนื้อหาเดิมจาก
พระราชพงศาวดาร : ฉบับพันจันทนุมาศ
การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี : นฺิธิ เอียวศรีวงศ์
100 ชื่อลือนามสงครามไทย-พม่า : ชูชาติ ชุมสนิท
เรียบเรียงใหม่โดย
//The Chariot
โฆษณา