28 ก.พ. 2019 เวลา 01:14 • ธุรกิจ
เขียนโมเดลธุรกิจอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ กับผู้คิดค้น Business Model Canvas
.
เราจะแข่งขันกับบริษัทอื่นได้อย่างไรในโลกที่หมุนเร็วระดับเสี้ยววินาที
.
ทำไม ‘โมเดลธุรกิจ’ จึงเป็นหัวใจสำคัญของโลกยุคศตวรรษที่ 21
.
ทำไมแค่คุณมีสินค้าหรือบริการที่ดีจึงไม่เพียงพอ แต่ต้องมีโมเดลธุรกิจที่ดีด้วย
.
รู้หรือไม่ว่า Amazon หรือ Apple เป็นยักษ์ใหญ่ของโลกได้จาก ‘โมเดลธุรกิจ’ และพวกเขาทำได้อย่างไร
.
แต่ก่อนโมเดลธุรกิจเป็นสิ่งที่มีไว้ก็ดี แต่ทำไมปัจจุบันมันคือทางรอดเดียวของโลกยุค digital disruption
.
โมเดลธุรกิจที่ดีคืออะไร โมเดลธุรกิจแบบไหนช่วยสร้างนวัตกรรมได้ แล้วคุณจะสร้างโมเดลธุรกิจที่ดีเองได้อย่างไร
ผมพูดคุยกับ Alexander Osterwalder ผู้เขียนหนังสือ Business Model Generation และผู้คิดค้น Business Model Canvas เครื่องมือในการเขียนโมเดลธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ถูกดาวน์โหลดไปใช้มากกว่า 5,000,000 ครั้ง สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกอย่าง Stanford, Harvard หรือ IESE นำไปสอนในห้องเรียน บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกนำเครื่องมือนี้ไปใช้จนประสบความสำเร็จ เช่น Mastercard, Bayer หรือ Batch
.
Business Model Canvas คืออะไร?
.
เครื่องมือรูปแบบใหม่ในการสร้างโมเดลธุรกิจ ใช้วิธีการเขียนคำตอบลงบนผ้าใบแคนวาสจากคำถาม 9 ข้อที่คนทำธุรกิจควรรู้
1. ลูกค้าคือใคร (Customer Segments)
2. คุณจะเข้าถึงลูกค้าด้วยวิธีแบบไหน (Channels)
3. วิธีบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและลูกค้าเป็นอย่างไร (Customer Relationships)
4. รายได้มาจากไหนและจะหาได้อย่างไร (Revenue Streams)
5. คุณค่าขององค์กรคืออะไร (Value Propositions)
6. ต้นทุนมาจากอะไร (Cost Structure)
7. ต้นทุนที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง (Key Resources)
8. กิจกรรมขององค์กรคืออะไร (Key Activities)
9. พาร์ตเนอร์แบบไหนที่ต้องการ (Key Partners)
.
ทำไมการทำโมเดลธุรกิจถึงสำคัญ?
.
ในยุคก่อนเกิด Digital Disruption ‘สินค้า’ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ ถ้าสินค้าและบริการดี ธุรกิจก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันโมเดลธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทมากกว่า เพราะการแข่งขันแค่เรื่อง ‘ราคา’ ไม่เพียงพออีกต่อไป ใครๆ ก็สามารถผลิตสินค้าราคาถูกในคุณภาพใกล้เคียงกันได้ ฉะนั้นการตอบคำถาม 9 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นให้ได้ จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืนและมีโอกาสเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด
.
ทั้งนี้คุณอเล็กซ์ยังเสริมอีกว่า โมเดลธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่มีวงจรอายุชีวิตสั้น ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เพื่อทำให้ธุรกิจไปต่อได้ อยู่รอด และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
.
โมเดลธุรกิจที่ดีเป็นอย่างไร?
.
1. High Switching Cost
ตั้งต้นสร้างโมเดลธุรกิจจากคำถามที่ว่า “มันยากแค่ไหนที่ลูกค้าของคุณจะเปลี่ยนใจไปหาคนอื่น” เช่นเดียวกับตอนที่สตีฟ จ็อบส์ เปิดตัวไอพอด ในมุมมองคนภายนอกสิ่งที่เขาทำคือการปฏิวัติวงการเพลงทั้งหมด คนเปลี่ยนจากการฟังเพลงด้วยแผ่นซีดีมาฟังผ่าน on cloud แต่เบื้องหลังความคิดของเขาคือการสร้างโมเดลธุรกิจ เพราะไม่ว่าคุณจะซื้อไอพอดหรือไอโฟนรุ่นใหม่สักกี่รุ่น เพลงทั้งหมดก็ยังอยู่ในคลาวด์เหมือนเดิม คุณไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากโหลดเพลงใหม่ ทำให้ลูกค้าติดใจและเป็นสาวก Apple ไปตลอดกาล โมเดลธุรกิจที่ดีมักเป็นเช่นนั้น
.
2. Recurring Revenue
ลองหาจุดที่ทำให้รายได้กลับมาอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกัน Nespresso ที่ทำเครื่องชงกาแฟแคปซูล ซึ่งต้องใช้แคปซูลกาแฟจากแบรนด์นี้เท่านั้น ทำให้รายได้ไม่จบอยู่แค่การขายเครื่องชงกาแฟ แต่คนยังต้องซื้อแคปซูลกาแฟอยู่เรื่อยๆ
.
3. ไม่มีโมเดลธุรกิจไหนที่เพอร์เฟกต์ ทุกโมเดลธุรกิจที่ดีต้องถูกพัฒนาเสมอ
.
ปัญหาที่เจอในการเขียนโมเดลธุรกิจ
.
1. คนส่วนใหญ่เมื่อทำธุรกิจไปสักพักมักติดกับดักแห่งความคุ้นเคย ทำวนอยู่แต่สิ่งเดิมๆ ลืมมองธุรกิจของตัวเองจากสายตาคนภายนอก
2. คนบางประเภทกลัวความผิดพลาดจนไม่ได้มีโอกาสเริ่มต้น ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะดูโง่บ้าง ผิดพลาดบ้าง เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ
3. องค์กรที่ไม่มีการแบ่งงานชัดเจน มักก่อให้เกิดปัญหาทางธุรกิจตามมา ยกตัวอย่างหน่วยงานที่เริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม แต่ยังขาดการแบ่งงานที่เป็นสัดส่วน บางคนทำงานประจำแต่ก็ยังต้องมาดูเรื่องนวัตกรรมด้วย ทำให้ไม่สุดไปสักทาง ข้อแนะนำที่ดีควรสร้างทีมเฉพาะให้ชัดเจนดีกว่า แล้วค่อยให้มาร่วมงานกันแค่บางส่วนก็พอ
.
หัวใจในการสร้างนวัตกรรมไม่ใช่คน แต่เป็นกระบวนการและตัวชี้วัด
.
เราจะวัดผลคนที่เข้ามาพัฒนานวัตกรรมจากอะไร ยังคงใช้เครื่องมือตัดสินจากโมเดลธุรกิจเดิมๆ เหมือนที่ใช้กับแผนกอื่นอยู่หรือเปล่า
.
อเล็กซ์บอกว่า การทำเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เพราะการพัฒนานวัตกรรมคือการทดลอง และการทดลองเกิดความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าองค์กรอยากพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ กระบวนการและตัวชี้วัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
.
กระบวนการ
ผู้นำต้องอนุญาตให้คนในทีมเกิดความผิดพลาดได้ โดยต้องระบุว่าจะเป็นความผิดพลาดแบบไหน ผิดพลาดได้ขนาดไหน ในระยะเวลาเท่าไหร่ และจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไรให้ไม่ผิดซ้ำ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องออกแบบและทำให้เกิดขึ้นได้จริง
.
ตัวชี้วัด
ต้องสร้างตัวชี้วัดที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ เพราะหลายครั้งการสร้างนวัตกรรมไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาในการบรรลุเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เช่น อยากสร้างนวัตกรรมเสร็จภายใน 1 ปีและต้องทำให้เกิดยอดขายได้ทันทีสิ่งนี้เป็นไปได้ยาก เพราะมันอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้นถึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ฉะนั้นลองเปลี่ยนตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับตัวงาน ลองกำหนดเป้าหมายของแต่ละขั้นตอนจาก 1-10 แล้วดูว่าในเวลาที่ผ่านมา งานสามารถเดินหน้าไปได้ตามขั้นตอนที่คิดไว้หรือไม่
.
ย้ำอีกทีครับ! นวัตกรรมไม่ได้ต้องการเงิน เทคโนโลยีสูงส่ง แต่ต้องการความเข้าใจในการถามคำถามที่ถูกต้อง เขียน business model ให้เข้ากับยุคสมัยศตวรรษนี้ และลงมือทำ อย่ากลัวความล้มเหลว
.
ฟังได้ที่นี่ครับ https://youtu.be/w9gFBipsXF8
.
พิเศษสุด!
พบกับ อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์ พร้อมเวิร์กช็อปที่ให้ความรู้เน้นๆ เรื่อง Competing with Business Model Canvas & Value Proposition Design ได้ที่งาน Corporate Innovation Summit 2019 ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2562
.
สำหรับแฟน THE STANDARD
กรอกรหัส “THESTANDARD”
รับส่วนลดบัตรเข้างานทันที 300$ จากราคาเต็ม
ก่อนวันที่ 1 มีนาคมนี้
ซื้อบัตรได้ที่ https://cis.riseaccel.com/buy-ticket
7
โฆษณา