1 มี.ค. 2019 เวลา 05:49 • ความคิดเห็น
เรื่องแรก : นิทาน....เซน
เซียน ! ปฏิบัติธรรม....
🙏🙏🙏
😊 ด้วย ! ความที่....
ศึกษาธรรมะมายาวนาน
จึงทำให้ท่านอาจารย์ว้อหลุน รู้สึกว่า...
"ตนเองเก่งกาจ และเชี่ยวชาญทางธรรมยิ่งนัก "
ดังนั้นท่านอาจารย์ว้อหลุน จึงเดินทางไปพบกับท่านเว่ยหลาง
เพื่อหวังจะทดสอบความรู้ธรรมะของท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้ไปเฉยๆยังบรรจงแต่งโศลกขึ้นมาบทหนึ่ง
ซึ่งมีเนื้อความว่าเรื่องธรรมะนี้
ท่านรู้ลึกรู้แจ้งหมดแล้ว ดังว่า.....
" ว้อหลุนมีวิธีที่ช่วย...
ดับความคิดร้อยแปดได้
สิ่งที่มากระทบจิตไม่เกิด
ต้นโพธิ์เจริญขึ้นทุกวัน "
ซึ่งหากเป็นชาวบ้านอย่างเราๆ อ่านแล้วก็คงไม่มีความคิดอะไร เพราะแปลความหมายไม่ออก คงคิดว่าท่านอาจารย์ว้อหลุนนี้เก่งนัก สามารถมีวิธีจัดการกับความคิดได้ดีนัก
แต่สำหรับท่านเว่ยหลางแล้ว
เมื่อท่านอ่านจบก็ถึงกับสลด
เห็นชัดว่าท่านอาจารย์ว้อหลุนผู้เป็นลูกศิษย์
หาได้มีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมอย่างแท้จริงเลยสักนิด
ซ้ำร้ายหากปล่อยให้เข้าใจผิดอย่างนี้ต่อไป ก็จะยิ่งทำให้เข้าใจ...ผิดๆ
จนปฏิบัติ...ผิดๆไปจนตาย
เนื่องจากท่านอาจารย์ว้อหลุนคิดว่าสิ่งที่มากระทบจิตใจไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรง และอันที่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธะนั้นต้องปฏิบัติแบบพุทธะที่มีชีวิต หาใช่เป็นพุทธะในแบบที่ตายแล้ว และหากเข้าใจไปเช่นนั้นแล้วก็ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากได้ แล้วเช่นนั้นจะมีประโยชน์อันใดเล่าเมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ท่านอาจารย์เว่ยหล่างจึงได้แต่งโศลก
เพื่อ ! เป็นการตอบหรือสอนไปว่า.....
" เว่ยหลางหาได้มีวิธีการ
ช่วยดับความคิดร้อยแปดได้
ร้อยแปดความคิดล้วนก่อตัวไม่หยุด
หากสิ่งที่มากระทบใจย่อมเกิด
แล้วต้นโพธิ์จะเจริญเติบโตได้อย่างไร "
พอท่านอาจารย์เว่ยหลางกล่าวโศลกจบ...
ก็ไม่มีลูกศิษย์คนใดเข้าใจความหมายเลย ดังนั้นท่านจึงอธิบายขยายความว่า...
" การที่กล่าวว่าไม่คิดนั้นไม่ได้
ทุกอย่างล้วนต้องใช้ความคิด
หากไม่คิดแล้วก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย
ดังนั้นจึงไม่ควรไปดับที่ความคิด
และหากไม่มีความคิดเสียอย่างก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนหินก้อนหนึ่ง ซึ่ง...
ทำอะไรไม่ได้เลย และแม้ขณะที่เราฟังธรรมะเราก็ยังต้องอาศัยการใช้ความคิดร่วมด้วย
ขณะเดียวกันการมีความคิดนั้นดี แต่หากความคิดนั้นไม่ยึดติดกับรูปลักษณ์ใดๆ ก็เช่นเดียวกับไม่มีความคิด และในส่วนของต้นโพธิ์ ก็คือการเป็นตัวแทนของจิตเดิมแท้ๆพุทธะ
ดังนั้นจิตเดิมแท้ๆ แห่งพุทธะจึงไม่มีลดไม่มีเพิ่มแม้เพียงนิด แม้จะปฏิบัติจนได้เป็นพุทธะแล้ว พุทธะเองก็ยังเท่าเดิม
แล้วจะมาบอกว่าเติบโตเจริญขึ้นได้อย่างไรกัน "
ดังนั้นสิ่งที่ท่านอาจารย์ว้อหลุนเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่ผิดถนัด
- - - - - - - - - - - - - - - - -
นิทานเซนเรื่องนี้จะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นเรื่องแรกที่น่าสนใจมาก คือ....
การที่คนเราจะเข้าถึงอะไรสักอย่าง
โดยเฉพาะความสุขสงบ หรือเรื่องแห่งจิตนั้น
บางคนคิดว่าเราต้องระงับดับความคิดให้ได้ถึงที่สุด อย่าให้ความคิดนำพาไป
แต่อันที่จริงแล้วการจะเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องเข้าหามันด้วยความเข้าใจ
หาใช่ไปกดมันไว้ อุปมาก็เหมือนกับการที่เราจะสอนสุนัขให้สงบนิ่งไม่ลอกแลก ไม่ตื่นเต้นตูมตามจนเกินไป หากเราใช้วิธีกดมัน ข่มมัน อาจจะด้วยคำพูด หรือการกระทำใดๆ เพื่อฝืนไม่ให้มันออกอาการรุนแรง เจ้าสุนัขนั้นก็อาจจะสงบ แต่ก็เพียงชั่วครู่เท่านั้น
แต่หากเราปล่อยใจของเราให้สบาย ส่งความสุขสงบผ่านใจเราไป ไม่ต้องพะวงหรือกดอารมณ์ตนเองนัก ความรู้สึกสงบของเราก็จะส่งผ่านเจ้าสุนัขนั้น และสุนัขก็จะสงบในที่สุด โดยที่เราเองก็ไม่ต้องพยายามอะไรมากนักเลย ดังนั้นเรื่องของการปล่อยใจสงบเองก็เป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งบางคนก็อาจจะแย้งว่าเราจะปล่อยใจไปได้ยังไง ก็ใจเรามันนิ่งเสียที่ไหน เผลอแป๊บเดียวก็คิดไปนั่นไปนี่ ตอนแรกก็ยังดูสงบดี แต่เพียงแค่มีอะไรมากระทบนิดหน่อย ใจเราก็เตลิดเปิดเปิงไปแล้ว แล้วเราจะกล้าปล่อยใจไปได้อย่างไร
ความคิดขัดแย้งนี้จะว่าไปก็ถูก....
แต่ ! ก็ยังผิดตรงที่การปล่อยใจนี้
หาใช้ ! ให้ปล่อยไปแบบปล่อยหมาปล่อยปลา ให้มันเตลิดเปิดเปิงไปเอง...
แต่ ! เป็นการทำให้ความคิดเราปลอดโปร่งสบายใจ ไม่คาดคั้นคาดหวัง กับความต้องการของเรา เช่น.....
เมื่อเราหวังว่าจิตใจเราจะสงบสุข เราอาจคาดหวังได้
แต่ ! อย่าถึงกับคาดการณ์ว่า....
มันจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ให้ได้
เพราะ เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนั้นแล้ว
จิตใจเราก็ย่อมจะเกิดทุกข์ เกิดปัญหา
แม้ว่าปัญหาของเราจะดูเหมือนกุศลกรรม แต่หากทำผิดก็ทำให้จิตใจขุ่นมัวได้เช่นกัน
- - - - - - - - - - - - - - -
ได้อะไรบ้างจาก เรื่องนี้.... ? ??
" การเดินตามแบบแผน และยึดติดในกฎเกณฑ์ เท่ากับเป็นการผูกมัดตัวเองแม้ปราศจากเชือกรัด "
ปล.อ่านแล้วก็ ปล่อยไป ไม่ยึดติด
คิดได้ก็คิด คิดไม่ได้ก็ปล่อยมันไป
😁😁😁
Cr : จากหนังสือ " นิทานเซน "
ขอบคุณที่..ติดตามกันครับ
🙏🙏🙏
โฆษณา