7 มี.ค. 2019 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
The Beer Game ที่ช่วยให้คุณเข้าใจธรรมชาติของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งถูกคิดค้นโดย MIT
https://www.technologyreview.com/s/520181/the-beer-game/
อะไรคือ “เบียร์เกมส์” เกมส์ที่อาจจะทำให้คุณมึนเมา
https://msnglnk.com/product/the-beer-game/
เบียเกมส์เป็นการจำลองสถานการณ์ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ผู้ผลิต (Manufacturer)
2. ผู้กระจายสินค้า (Distributor)
3. ผู้ค้าส่ง (Wholesaler)
4. ผู้ค้าปลีก (Retailer)
https://www.researchgate.net/figure/Scheme-of-the-supply-chain-when-working-according-to-the-DBR-methodology_fig1_279202349
กติกาในเกมส์ (Rules)
1. จะให้ผู้เล่นทำการจำลองว่าตนเองจะเป็นบุคคลใดบุคลหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
http://systems.ie.ui.ac.id/2011/10/beer-game-with-new-redesign-board/
2. เมื่อผู้เล่นได้จำลองว่าจะเป็นใคร? จะมีกรรมการซึ่งเปรียบเสมือนลูกค้า (Customer) เปิดคนเปิดคำสั่งซื้อ (Order)
3. โดยให้ผู้เล่นนั่งประจำตำแหน่งของตนที่กระดานเบียร์เกมส์ (Beer Game Board)
4. เริ่มเกมส์โดยลูกค้า (Customer) จะทำการ take order week ที่ 1 จนไปถึง week ที่ 40
5. ผู้เล่นแต่ละคนจะมีหน้าที่ในการ Supply สินค้าให้กับลูกค้าของตนต่อเนื่องกันไปเป็น Chains โดยตนเองจะต้องควบคุมสินค้าคงคลังให้เพียงพอ โดยการคาดการณ์ (Forecast) ความต้องการในสัปดาห์ถัดไป และทำการสั่งซื้อสินค้าจากผู้เล่นก่อนหน้า โดยจะมีระยะในการรอสินค้า (Lead Time) 1 สัปดาห์ ถึงจะได้รับสินค้า
http://systems.ie.ui.ac.id/2011/10/beer-game-with-new-redesign-board/
6. สุดท้ายกรรมการหรือลูกค้า (Customer) จะทำการคำนวณต้นทุน (Cost) ต่างๆ ตลอดทั้ง Supply Chain โดยมีหลักคือ
- ต้นทุนจัดเก็บสินค้าคงคลัง (Stock) 50 บาท/ชิ้น/สัปดาห์
- ต้นทุนสินค้าค้างส่ง (Backlog) 100 บาท/ชิ้น/สัปดาห์
7. โดยการเล่นเบียร์เกมส์ส่วนใหญ่มักจะเล่นกันหลายๆกลุ่มเพื่อหาว่ากลุ่มไหนมีต้นทุนตลอดทั้ง Supply Chain ต่ำกว่ากัน กลุ่มนั้นก็จะเป็น ผู้ชนะ (Winner)
http://systems.ie.ui.ac.id/2011/10/beer-game-with-new-redesign-board/
รับชมตัวอย่างเกมส์ได้ที่ : https://youtu.be/PlXpJhOpeH4
บทสรุป และปรากฎการณ์ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
สิ่งที่ได้จากการเล่นเบียร์เกมส์นั้น เป็นการพยายาม Control สินค้าคงคลังที่มีอยู่ในมือเราให้เพียงพอต่อความต้องการของ Party ใน Supply chain โดยมีจุดประสงค์หลัก
1. ควบคุมสินค้าให้เพียงพอไม่ให้ขาดมือ (Out of Stock) เพราะจะเกิดต้นทุนในการค้างส่ง (Backlog) และในชีวิตจริงจะทำให้เราสูญเสียโอกาสในการขาย (Loss Sale) เนื่องจากลูกค้าอาจเปลี่ยน Supplier หรือเมื่อเจอสถานการณ์แบบนี่บ่อยๆ อาจจะไม่กลับมาซื้อสินค้าเราเลย
2
https://www.bizlearning.asia/block_permission.php?id=129
2. ควบคุมระดับสินค้าคงคลัง (Inventory Level) ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะจะเกิดต้นทุนในการจัดเก็บดูแล (Inventory Handling Cost) ซึ่งในทุกๆ ธุรกิจจะ Concern เป็นอย่างมากเพราะเกิดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินมาบริหารจัดการ และอาจกระทบถึงกำไรสุทธิ และสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท
https://youtu.be/oZTsIF2Li7s
ปรากฎการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)
https://medium.com/@stitchdiary/the-bullwhip-effect-c40751d768ba
Bullwhip Effect เปรียบเสมือนตอนเราสะบัดแส้ม้า ลูกคลื่นที่อยู่ติดกับด้ามจับจะเล็กมาก แต่จะขยายใหญ่ไปเรื่อยๆจนไปสะบัดที่ปลายแส้
https://medium.com/@stitchdiary/the-bullwhip-effect-c40751d768ba
อธิบายถึงปรากฎการณ์ใน Supply Chain ได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อมีคำสั่งซื้อ (Order) จากลูกค้า บุคคลแรกที่จะรู้คือ Retailer ซึ่งจะส่งคำสั่งซื้อที่มีการเผื่อขาดหรือ Buffer stock ต่อไปยัง Wholesaler จากนั้นจะส่งคำสั่งซื้อโดยมีการเผื่อเข้าไปเรื่อยๆไปยัง Distributor และ Manufacturer จะเห็นได้ผู้ที่ต้องรับภาระในการแบกรับสินค้าจำนวนมากนั้นก็คือ ผู้ผลิต (Manufacturer) ซึ่งเป็น Downstream ในการไหลของข้อมูลคำสั่งซื้อ และได้รับผลกระทบที่ต้องแบกรับต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลังเป็นจำนวนมาก
https://sloanreview.mit.edu/article/the-bullwhip-effect-in-supply-chains/
ตัวอย่างสมมติ
หากความต้องการที่แท้จริง (Actual Demand) ของลูกค้าคือ 500 ชิ้น Retailer เกรงว่าสินค้าจะไม่พอขายใน week ถัดๆไป จึงเผื่อไปอีก +100 ชิ้น ซึ่ง Wholesaler จะได้รับคำสั่งซื้อที่ 600ชิ้น เช่นกัน Wholesaler ได้ทำการเผื่อไปอีก 200 ชิ้นเพื่อสำรองไว้ขาย คราวนี้ Distributor จะได้รับคำสั่งซื้อที่ 800 ชิ้น ส่วน Distributor อาจจะกันขาดไว้น้อยหน่อยที่ 50 ชิ้น กลับกลายเป็นว่า Manufacturer ได้รับคำสั่งซื้อที่ 850 ชิ้นซึ่งต่างจากความต้องการจริง (Actual Demand) ถึง 350 ชิ้น
สนใจเล่นเบียร์เกมส์ออนไลน์ที่ :
1
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Logistics Contents 7/3/2562
ฝากติดตามข่าวสารและเป็นกำลังใจให้ Logistics Contents

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา