7 มี.ค. 2019 เวลา 04:46 • ความคิดเห็น
ไม่พึ่ง ! ตัวหนังสือ
นาน ! มาแล้ว. . . ....
ในสมัยราชวงศ์ถัง
ซึ่งยุคนั้นปราชญ์ที่มีชื่อว่าท่าน ฮวงโป ก็เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับนับถือมาก เนื่องจากท่านผู้นี้มีวิชาความรู้แตกฉาน เก่งเรื่องปรัชญาอย่างยิ่งยวดท่านทั้งยังเป็นคนเปิดเผย พูดอะไรก็ตรงไปตรงมา และด้วยที่ท่านสูงกว่า 7 ฟุต และมีก้อนเนื้อกลมๆ ดังไข่มุกงอกติดอยู่ตรงหน้าผาก จึงทำให้ท่านฮวงโปผู้นี้ดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง
วันหนึ่งมีอำมาตย์ผู้หนึ่งที่เก่งในเรื่องการศึกษาตามแนวทางนิกายเซน และยังมีชื่อเสียงในวงการราชการ ท่านคิดได้ว่า เรานี่ก็เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวกับเซนไม่น้อย ฉันยังศึกษาค้นคว้าเรื่องเซนมาก็ยาวนาน ปฏิบัติธรรมอย่างเซนมาก็นาน
แต่ก็รู้สึกเสียดายที่ว่าตนไม่มีการจดบันทึก เพื่อรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรู้เรื่องเซ็นของตนเอาไว้เลย ดังนั้นท่านอมาตจึงคิดได้ว่า ตนสมควรรวบรวมความรู้ดีๆ เหล่านี้ให้ออกมาเป็นรูปเล่มเป็นตัวหนังสือ
ท่านอมาตผู้นี้จึงได้เขียนเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเซ็นในรูปแบบฉบับของตน แล้วก็นำมามอบให้ท่านฮวงโปช่วยวิจารณ์ เพื่อหวังว่าจะได้คำชี้แนะอันเป็นประโยชน์ และเมื่ออมาตพระนี้ได้มอบหนังสือของตนกับท่านฮวงโปแล้วก็พบว่าท่านฮวงโปมีท่าทีเครียด และก็ดูไม่สนใจใยดีเลย ถึงขนาดที่นำหนังสือของตนโยนไปบนโต๊ะ
ดังนั้นเมื่อท่านอำมาตย์เห็นเช่นนี้ก็เลยเกิดความรู้สึกว่า ตายแล้ว.....
.
นี่อาจจะเป็นเพราะว่าตนไม่ได้นำของฝากติดไม้ติดมือมาให้หรือเปล่า ท่านฮวงโปเลยคิดว่ามามือเปล่า แล้วไหนเลยท่านจะยอมสนใจดูให้
พอคิดได้ดังนี้ท่านอำมาตย์ ก็...
ถึงกับหน้าเสีย แต่ก่อนที่เรื่องราวจะดำเนินต่อไป ก็ปรากฏว่าท่านฮวงโปได้ชิงพูดเสียก่อนว่า....
" ท่านเข้าใจความหมายที่ท่านทำหนังสือเล่มนี้หรือไม่ "
พ่อท่านฮวงโปพูด....
จบ. 🤔🤔🤔
สำหรับเรื่องนี้.... . .
.
อาจจะจบแบบห้วนๆ อย่างนี้.
ต้อง ! เกิดคำถาม..ต่างๆ ตามมาแน่นอน ? ??
บางท่านอาจจะงงว่า . . . ....
สรุป ! แล้วสิ่งที่ท่านฮวงโปต้องการจะบอกมีเพียงเท่านี้หรือ ? ??
แล้วการที่ท่านอำมาตย์คิดจะรวบรวมสิ่งที่ตนศึกษาเกี่ยวกับเส้นนั้นไม่ดีตรงไหน ?
สิ่งที่ท่านนำมาทำมาผิดมากหรือ ?
เพียงเพรา ท่านอำมาตย์ต้องการที่จะนำสิ่งที่อยู่ในอากาศกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้
เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วมันผิดอย่างไร ?
หากเรามองในแง่ดังที่กล่าวมาก็อาจจะเห็นว่า ไม่ผิดสักหน่อย ก็เหมือนกับการที่คนโบราณท่านนำวิชาความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวบรวมไว้เป็นตำราเป็นหนังสือ เพื่อให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้สืบทอดหาความรู้ และเป็นประโยชน์กันต่อไป
แต่หากเราพิจารณาในสิ่ง ที่..
ท่านฮวงโปกำลังสื่อถึงท่านอำมาต
ว่า.....
" เป็นนั้นเป็นการสืบทอดที่อยู่นอกขอบเขตศาสนา "
ซึ่งเซนไม่พึ่งพิงตัวหนังสือ หรือตัวอักษร แล้วเหตุใด ท่านจึงนำหลักธรรมแห่งเซนมาทำเป็นตัวหนังสือเป็นตัวอักษรนี่จึงเป็นการทำลายหลักธรรมอันแท้จริงของเซนมิใช่
บางทีเราอาจพบว่ามีสิ่งที่แฝงอยู่ในข้อความนี้มากกว่านั้นอย่างน้อยก็ 2 ประเด็น นั่นก็คือ....
ประเด็น แรก....
การที่ท่านฮวงโปกล่าวว่า...
" เซนนั้นไม่ได้พึ่งพิงตัวอักษร "
ดังนั้น ! จึงไม่สมควรที่จะนำเซน
มารวบรวมเป็นหนังสือ,เป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า...
โดยเนื้อแท้แห่งเซนแล้ว
เซนถือกำเนิดมาจากธรรมชาติ
จากทุกสรรพสิ่ง
หากเราสังเกตเห็นสิ่งใดในธรรมชาติ
แล้วนำมาเป็นข้อคิด หรือปรัชญาในการดำเนินชีวิตได้
นั่นแหละเซนแล้ว. . . ...
เซนจึงไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ,ตำรับตำรา หรือจากสิ่งที่อาจารย์ท่านต่างๆ รวบรวมเอาไว้เท่านั้น แต่เซนอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งในอากาศ บนดิน บนท้องฟ้า เพียงแต่ผู้นั้นจะมองเห็นและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตหรือไม่
เรื่องของการไม่แนะให้บันทึกเป็นตัวหนังสือหรืออักษรนี้ หากมองในแง่ชีวิตประจำวันก็อาจมองได้ว่า บ่อยครั้งที่เรามักยึดติดกับตำรับตำรามากเกินไป จนมองข้ามความรู้หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เพราะเรามักเห็นว่าเมื่อมีหนังสือที่เขาได้คิดได้ทำออกมาแล้ว ไฉนเลยจะไม่ใช่สิ่งที่ดีเล่า และยิ่งถ้าเป็นหนังสือที่มีคนนิยม เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเขียนหรือให้คำนิยมแล้ว สิ่งนั้นก็น่าจะเป็นสิ่งดีเยี่ยม
ดังนั้นการที่เราอ่าน เราศึกษาก็ถือว่าดี แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ออกไปเห็นไปสัมผัสประสบการณ์นั้นๆด้วยตนเอง ซึ่งบางครั้งเราอาจพบว่าเรื่องที่เรารู้เราอ่านมา ก็มีส่วนทั้งจริงและไม่จริงเช่นกัน เมื่อเราได้ออกมาเห็นของจริง รวมทั้งการสัมผัสกับความจริง สิ่งที่เป็นของจริงยังทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยมีใครได้บันทึกมาก่อน เพราะคนหนึ่งเห็นอีกคนหนึ่งอาจไม่เห็น หรือเห็นกันคนละมุมก็เป็นได้
ประเด็น ที่ 2.....
การที่ท่านฮวงโปกล่าวว่า หากนำเส้นมาบันทึกเป็นอักษรเป็นตัวหนังสือ ก็จะถือว่าเป็นการทำลายแก่นธรรมแห่งเซน และหากไม่ได้มองในแง่หลักธรรมแห่งเซนเท่านั้น แต่มองในแง่สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันก็เท่ากับว่าบางครั้งการทำบางอย่าง จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ก็อาจจะเป็นการทำลายแก่น ที่มีความสำคัญอันแท้จริงของสิ่งนั้นไป
เช่น การที่พระพุทธศาสนาสอนว่า....
" การทำความดีอย่าหวังผลใดๆ แม้แต่เรื่องของบุณก็ด้วย "
การทำบุญต้องทำด้วยใจ
การทำบุญต้องทำให้ตนเองไม่เดือดร้อน
การทำบุญมากน้อยไม่สำคัญ ? ??
สำคัญที่ศรัทธา
หรือแม้แต่มีการบิดเบือนเรื่องการทำบุญไปต่างๆนานา และกลายเป็นว่า. . ...
เรื่องบุญ ใน : " ทุกวันนี้.... "
ทุกวันนี้เรา...
เฝ้าถามหลวงพ่อว่าทำความดีแบบไหนได้บุญสูงสุด
ทุกวันนี้เรา....
ถวายเงินทองเยอะๆเพื่อให้ได้บุญเยอะๆ
ทุกวันนี้เรา.....
พยายามหาเทคนิคว่าจะทำบุญอย่างไรให้ได้บุญร้อยเปอร์เซ็นต์เรียกว่าสักเปอร์เซ็นต์เดียวก็พลาดไม่ได้
ทุกวันนี้เรา.....
กลัวว่าจะไม่ได้บุญ เสียยิ่งกว่ากลัวการทำบาปเสียอีก
ทุกวันนี้เรา.....
ทำบุญทั้งๆที่ตัวเองเดือดร้อนสาหัส
เพื่อหวังว่าจะได้ผลบุญตอบแทน
ทุกวันนี้เรา.....
พิษการทำบุญแบบบริจาคเงินทอง
ทั้งๆที่การทำบุญด้วยการลงแรงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้แต่มักไม่ค่อยนิยมทำกัน
เพราะเห็นว่าจะทำให้ตนลำบาก และไม่น่าจะได้บุญมากนัก
ลองตัวท่านเอง : ได้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง... . . ? ??
การหมกมุ่นอยู่กับการคิดถึง... . .
" ความดี,ความชั่ว "
ก็เท่ากับการติดอยู่ในสวรรค์-นรกเช่นกัน
🙏🙏🙏
Cr.นิทานเซน
โฆษณา