21 มี.ค. 2019 เวลา 03:48 • ประวัติศาสตร์
1 กุมภาพันธ์ 1968
บนถนนในกรุงไซง่อน ระหว่างที่สงครามเวียดนามกำลังเดือดถึงขีดสุด ภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งถูกถ่ายขึ้น...
***
ภาพของทหารคนหนึ่ง กำลังจ่อยิงชายคนหนึ่ง ที่ถูกมัดมือไพล่หลังอย่างโหดเหี้ยม ปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ผ่านสายตาของผู้อ่านชาวอเมริกันนับล้าน
เราได้เห็น เสี้ยววินาทีที่กำลังก้ำกึงระหว่างความเป็นและความตาย ในขณะที่กระสุนกำลังเจาะผ่านสมองของชายผู้เคราะห์ร้ายรายนี้
ตอนนั้น ไม่มีใครรู้ว่า บุคคลทั้ง 2 ในรูปนี้เป็นใคร แต่ทุกคนคิดแบบเดียวกันว่า นี่คือ ภาพทหารยิงประชาชนผู้บริสุทธิ์
ช่างภาพของสำนักข่าว AP "เอ็ดดี้ อดัมส์" (Eddie Adams) เป็นผู้ถ่ายภาพภาพนี้ไว้และภายหลังเขาก็ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ( Pulitzer Prizeจากภาพถ่ายภาพนี้
1
ท่ามกลางภาพถ่ายอันโหดร้ายของสงครามเวียดนามนับหมื่นๆ ภาพ ภาพนี้ คือ หนึ่งในภาพที่ได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำมากที่สุด มันกลายเป็นหนึ่งในภาพถ่ายระดับ "ไอคอนนิก" ในประวัติศาสตร์ และทรงพลังจนแม้แต่ตัวอดัมส์เองยังแปลกใจ
ภาพนี้มีส่วนสำคัญ ที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวของหนุ่มสาวชาวอเมริกันนับล้านให้ออกมาเดินขบวนต่อต้านสงคราม จนนำไปสู่การถอนทหารอเมริกันออกจากเวียดนามในที่สุด
.
.
.
นายทหารที่อยู่ในภาพนี้ คือ "นายพลตำรวจ เหงียน ง่อก โลน" (Nguyen Ngoc Loan) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หลังจากถ่ายภาพนี้ไม่นาน นายพลได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้อย่างกล้าหาญ จนต้องสูญเสียขาไปข้างหนึ่ง
ภายหลังจากกรุงไซง่อนแตก เขาได้ลี้ภัยไปอยู่อเมริกา และหวังจะได้ใช้ชีวิตสงบสุขที่นั่น
แต่โลกไม่ยอมให้อภัยกับความโหดร้ายของชายคนนี้และพิพากษาเขาด้วยภาพถ่ายภาพเดียว
นายพลเหงียนกลับมาใช้ชีวิตเฉกเช่นคนธรรมดา เขาแต่งงาน มีลูก และเปิดร้านบะหมี่ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
1
แต่ผู้คนจดจำเขาได้ ต่างพากันขับไล่และสาปแช่ง จนเขาต้องถูกไล่ออกจากร้านของตัวเองในปี 1991
หลังจากนั้น ไม่ว่าเขาจะย้ายไปที่ไหน ครอบครัวของเขาก็ถูกขับไล่ไสสง จนหาความสงบสุขไม่ได้ แม้ในวาระสุดท้ายของชีวิต
1
นายพลเหงียนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี 1998 เมื่ออายุได้ 68 ปี
ก่อนตาย เขาได้เล่าเหตุการณ์ที่อยู่เบื้องหลังภาพประวัติศาสตร์ภาพนั้น
ชายคนที่ถูกยิงศีรษะ ชื่อ "เหงียน ฟาน เล็ม" ( Nguyen Van Lem) เป็นทหารเวียดกงระดับหัวหน้า
ก่อนเกิดเหตุการณ์ในภาพ
เล็มพากำลังพลของเขา ขับรถถังบุกยึดสำนักงานตำรวจแห่งชาติของเวียดนามใต้่่้ใน Gò Vấp ที่มีที่พักของครอบครัวตำรวจอยู่ด้วย และจัดการสังหารโหด ผู้พัน "เหงียน ทวน" และทั้งครอบครัวของเขา อันได้แก่ ภรรยา ลูกๆทั้ง 6 คน และแม่อายุ 80 ด้วยการเชือดคอ มีเพียงบุตรชายวัย 10 ขวบเพียงคนเดียว ที่รอดชีวิตมาได้ แต่ก็บาดเจ็บสาหัส
1
ทีมของเขา สังหารโหดผู้คนที่อยู่ที่นั่นอีก 34 ชีวิตด้วยวิธีการเดียวกัน ไม่เว้นแม้กระทั่ง ครอบครัวตำรวจที่มีเด็กเล็กๆ อีก 3 คน
ภายหลังเล็มถูกจับได้ นำมาต่อหน้านายพลเหงียน เขาพูดอย่างภาคภูมิใจไม่สะทกสะท้าน ที่สามารถฆ่าคนพวกนี้ได้อย่างเลือดเย็น จึงถูกนายพลเหงียนยิงศีรษะทิ้งในทันที
แล้วภาพประวัติศาสตร์ภาพนี้ก็ถูกถ่ายขึ้น...
ภาพนี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านสงคราม โลกสงบสุขแต่ชีวิตนายพลเหงียนพังทลาย
.
.
.
แม้จะได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ แต่อดัมส์ก็รู้สึกผิดต่อนายพลเหงียนอย่างยิ่ง
ภายหลังเขาไปหาท่านนายพลที่ร้าน แต่ก็ไม่พบ พบแต่เพียงข้อความถูกเขียนอยู่บนผนังร้านว่า "กูรู้ว่ามึงเป็นใคร ไอ้แม่เย็ด!!!" ("We know who you are, fucker")
อดัมส์เขียนลงในนิตยสาร Time ว่า
" ท่านนายพลได้ฆ่าเวียตกง
ผมได้ฆ่านายพลด้วยภาพถ่าย "
ภาพถ่าย เป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดบนโลกใบนี้ ผู้คนเชื่อมันอย่างหมดใจ แม้ว่าจะถูกมันหลอกลวง หรือยังมีความจริงอีกครึ่งนึงที่ไม่ถูกบอกเล่า
สิ่งที่ภาพถ่ายไม่ได้บอก คือ "แล้วคุณจะทำอย่างไร ถ้าคุณเป็นท่านนายพลในเวลานั้น ในวันที่เดือดที่สุดของสงครามอันโหดร้าย และคุณสามารถจับฆาตกรที่สังหารคนบริสุทธ์เป็นจำนวนมากได้"
ภาพถ่ายนี้ ทำลายชีวิตของเขา แต่เขาไม่เคยกล่าวโทษผม เขาบอกแต่เพียงว่า แม้คุณจะไม่ถ่ายมัน แต่ก็จะมีคนอื่นทำอยู่ดี
แต่ผมรู้สึกผิดต่อเขาและครอบครัวเขาเสมอมา ผมส่งดอกไม้ไปให้ เมื่อได้ยินว่าเขาเสียชีวิตแล้ว และเขียนว่า "ผมเสียใจ และร้องไห้อย่างสุดซึ้ง"
เมื่อนายพลเหงียนเสียชีวิต...อดัมส์ได้ไปร่วมงานศพเขา และได้เขียนถ้อยคำสดุดีว่า
"คนนี้ คือ วีรบุรุษที่แท้จริง
ชาวอเมริกันควรจะร่ำไห้ให้เขา
ผมรู้สึกเจ็บใจที่มันกลายเป็นอย่างนี้
โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาเลย
นอกจากเพียงในภาพภาพเดียวเท่านั้น"
.
.
.
โฆษณา