11 มี.ค. 2019 เวลา 04:05 • ธุรกิจ
หมากฝรั่งตรานกแก้วในตำนาน
ใครคือเจ้าของ ?
เชื่อว่าหลายคนในยุคก่อนๆแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักหมากฝรั่งในตำนานอย่างตรานกแก้ว
ซึ่งเป็นหมากฝรั่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานซึ่งเจ้าของผู้ผลิต คือโรงงานลูกกวาดเม่งเซ้ง จำกัด
บริษัท โรงงานลูกกวาดเม่งเซ้ง จํากัด
ตั้งอยู่จังหวัดนครปฐม เริ่มก่อตั้ง พ.ศ 2506 โดยคุณชาญ แต้มคงคา
โดยนําเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อทําการผลิตลูกอม ภายใต้เครื่องหมายการค้า “แพรอท”
นอกจากหมากฝรั่งตรานกแก้วในตำนานแล้วยังมีสินค้าอีก 1 ชนิดที่เป็นตำนานเช่นเดียวกันนั่นคือ หมากฝรั่งคิดคิด กับสโลแกน "คิดคิดเพื่อนเคี้ยว" นั่นเอง และมีบริษัทในเครือทำการผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานต่างๆ
นี่ก็หนึ่งในตำนาน
ปี 2521 เปิดบริษัทนครหลวงกลูโคส จํากัด โดยเป็นผู้ผลิตกลูโคสไซรัป (แบะแซ) จากแป้งมันสําปะหลัง เพื่อทําการผลิตวัตถุดิบที่สำคัญให้กับกลุ่มธุรกิจ เครื่องดื่ม, ขนมหวาน
ปี 2527 เปิดบริษัท เอ็ม.เอส.กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่าย นําเข้าสินค้าจากต่างประเทศและนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตหมากฝรั่ง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “คิด คิด”
1
ปี 2530 เปิดบริษัทไทยกลูโคส จํากัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตกลูโคสไซรัป ฟรุกไซรัส เด็กซ์โตสโมโนไฮเดรต ซึ่งมีลูกค้าที่สำคัญ เช่น บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท เนสท์เล่ไทย จํากัด ฯลฯ
มาดูรายได้ของบริษัทกัน
รายได้ของบริษัทโรงงานลูกกวาดเม่งเซ้ง จํากัด
ปี 2558 รายได้ 33 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 34 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 36 ล้านบาท
รายได้ของบริษัท เอ็ม.เอส.กรุ๊ป จำกัด
ปี 2558 รายได้ 170 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 154 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 163 ล้านบาท
1
รายได้ของบริษัท นครหลวงกลูโคส จํากัด
ปี 2558 รายได้ 596 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 612 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 686 ล้านบาท
1
รายได้ของบริษัท ไทยกลูโคส จํากัด
ปี 2558 รายได้ 832 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 798 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 786 ล้านบาท
📌แล้วกลูโคส Glucose (Glc) คืออะไร ทำไมบริษัทผู้ผลิตถึงมีรายได้สูง
กลูโคสเป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน
เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง
และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร
ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มต้องใช้วัตถุดิบสร้างความหวานในปริมาณมาก อุตสาหกรรมนี้จึงหันมาใช้ ฟรุกโตสไซรัป(Fructose Syrup) หรืออีกชื่อว่า “น้ำเชื่อมข้าวโพด” เพราะให้ความหวานมากกว่า น้ำตาลทรายถึง 6 เท่า
อีกทั้งยังอยู่ในรูปของเหลว ไม่ต้องนำมาทำละลายก่อนเข้าสู่ระบวนการผสมลงในอาหารต่างๆ รวมทั้งราคาที่ถูกกว่า ลดค่าขนส่งประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้หลายเท่าเมื่อเทียบกับน้ำตาลประเภทอื่นๆ
ทุกวันนี้ ฟรุกโตสไซรัป จึงถูกนำมา ใช้แทนน้ำตาลในอุตสาหกรรมอาหาร
1
หากผู้บริโภคใส่ใจอ่านฉลากวัตถุดิบหรือ ส่วนผสมในอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาด
จะพบว่า ฟรุกโตสไซรัปเป็น ส่วนประกอบในอาหารแทบทุกชนิด นับตั้งแต่เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม ไปจนถึงอาหารเสริมสำหรับเด็กทารก
✅ ในสินค้าบางชนิดจะระบุชื่อเรียกว่า "วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล" นั่นเอง
#ลุงแมน
References
กรมพัฒาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์
โฆษณา