14 มี.ค. 2019 เวลา 09:43 • สุขภาพ
" ให้ยาห่วยมาก "
วันนี้บังเอิญไปให้ภาพนี้ใน Facebook ของคุณหมอท่านหนึ่งครับ เลยอยากมาแชร์ให้เพื่อนๆชาว Blockdit
มีใครเคยเป็นไหมครับเวลาไปโรงพยาบาล คลินิก หรือร้านยาแล้วได้ยากลับมาแค่ "ยาพารา" ?
แล้วเคยสงสัยไหมครับทำไมถึงเป็นเช่นนั้น วันนี้ในเภสัชกร Youcare มีคำตอบจากใจบุคลากรทางการแพทย์มาให้ทุกคนได้เข้าใจกันครับ
การจ่ายยาให้ผู้ป่วยทึกครั้งแพทย์ เภสัชกร จะดูจากสาเหตุและอาการเป็นหลักครับ ซึ่งอาการบางอาการหรือการเจ็บป่วยบางอย่างสามารถหายเองได้โดยไม่ใช้ยา หรือหายเองได้แต่ต้องใช้ยาบรรเทาอาการ
การได้รับยาบางอย่างเกินความจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยต้องการยา " Amoxycilin " ซึ้งเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ในการลดอาการปวด อักเสบ เจ็บคือ ซึ่งหากไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้ เพราะหากใช้โดยไม่มีความจำเป็นอาจส่งผลต่อความเสี่องของการเกิดเชื้อดื้อยาได้ ซึ้งประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาสูงถึงปีละประมาณ 30,000 คน
เชื้อดื้อยาแล้วจะตายได้ยังไง ? ทำไมถึงตายได้
คำตอบคือเมื่อคุณดื้อต่อยาฆ่าเชื้อหลายชนิดแล้ว เมื่อคุณเจ็บป่วยรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อ ยาฆ่าเชื้อที่คุณดื้อจะไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาเลย ทำให้ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อนั้นได้และอาจทำให้เสียชีวิตในที่สุด
แล้วให้แค่พารามาจะหายหรอ ?
อาการเจ็บคอ ปวดเนื้อปวดตัว รวมถึงมีไข้ อาจเป็นอาการของไข้หวัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถหายเองได้ เพียงใช้ยาบรรเทาตามอาการและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยยาพาราสามารถลดไข้และแก้ปวดได้ ดังนั้นยาพาราจึงถือเป็นยาตัวเลือกแรกสำหรับรักษาอาการไข้หวัดจากเชื้อไวรัส แต่หากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้รับยาต้านเชื้อไวรัสซึ่งจะพิจารณาเป็นรายๆไป ส่วนยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่าง Amoxycillin นั้นไม่มีความสามารถเลยในการฆ่าเชื้อไวรัส จึงจะใช้สำหรับเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
ยามีทั้งคุณและโทษ แพทย์ที่ดีจะมองทั้งประโยชน์และโทษของมันเสมอ และการรักษาที่ดีที่สุดคือการให้ยาที่เหมาะสม ปลอดภัย ครอบคลุมอาการโดยใช้ยาให้น้อยที่สุด เพราะยาคือสารเคมีได้รับพอดีจะมีประโยชน์แต่หากได้รับมากเกินไปย่อมเกิดโทษแน่นอน
ดังนั้นยาที่ดีจึงเป็นยาที่ "เหมาะสม" กับผู้ป่วยแต่ละราย
ยาที่ดีไม่ใช่ "ยาฆ่าเชื้อ" "ยาแก้อักเสบ" กลับกันยาเหล่านี้หากใช่ไม่ถูก จากยาที่ดีในความคิดของคุณ อาจกลายเป็นยาพิษที่คอยทำร้ายร่างกายคุณอยู่ก็เป็นได้
มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ :)
ภก.กฤษณ์ พรหมปัญญา
Youcare Pharmacist
Youcare #wecareyou #เภสัชBlockdit
โฆษณา