18 มี.ค. 2019 เวลา 08:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อยากเล่าเรื่องรถไฟฟ้า ภาค 10 : Battery Swap
ถ้านาฬิกาที่บ้านหยุดเดินเพราะถ่านหมด เราซื้อถ่านใหม่มาใส่แทน หรือ แก็สหุงต้มที่บ้านหมดถัง ก็โทรหาร้านแก็สให้เอาถังใหม่ที่อัดแก็สเต็มมาส่ง
แล้วรถไฟฟ้าล่ะ ทำแบบนี้บ้างได้ไหม?
Battery Swap คือ การแลกเปลี่ยนแบตเตอรี่ การสลับแบตเตอรี่ คือ การที่เราถอดเอาแบตเตอรี่ที่พลังงานหมดแล้วออกจากรถ แล้วใส่แบตเตอรี่ลูกใหม่ที่พลังงานเต็มเข้ามาแทน ส่วนแบตเตอรี่ลูกที่หมดพลังงาน ก็จะถูกนำไปชาร์จในสถานีจนแบตเต็ม แล้วเก็บไว้รอเปลี่ยนให้กับรถคันต่อๆไป
ข้อดี
ไม่ต้องรอระยะเวลาการชาร์จ ระยะเวลาในการสลับแบตเตอรี่น้อยกว่าเวลาที่รอชาร์จ และลูกค้าจะได้แบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็ม 100% ทุกครั้ง
แบตเตอรี่จะถูกทิ้งไว้ในสถานีแลกเปลี่ยนแบตเตอรี ซึ่งสามารถบริหารเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จได้ เช่น ชาร์จแบตเตอรี่ในช่วงเวลาที่ค่าไฟถูกกว่าปกติ สามารถออกแบบระบบให้ชาร์จได้ครั้งละหลายๆลูกพร้อมๆกันหรือมีระบบอัตโนมัติการควบคุมการชาร์จ
ปัญหาและอุปสรรคของการสลับแบตเตอรี่
ผู้ผลิตรถต้องกำหนดแบตเตอรี่จำเป็นต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ให้สามารถสลับแบตเตอรี่กันได้ นอกจากนี้ระบบช่องใส่แบตเตอรี่ก็ควรมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อัตโนมัติที่จะใช้ถอดและใส่แบตเตอรี่ได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ผลิตรถไฟฟ้าทุกๆค่ายจะต้องมีการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและเทคโนโลยี่ในการผลิตและเลือกใช้แบตเตอรี่เพื่อให้รถของทุกค่ายใช้แบตเตอรี่มาตรฐานเดียวกัน และควรจำกัดขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถซิตี้คาร์ รถซีดาน รถ SUV ฯลฯ ให้มีไม่มากรุ่น เพื่อให้สถานีสลับแบตเตอรี่ มีแบตเตอรี่พร้อมที่จะให้บริการกับรถทุกประเภท (นึกถึงถังแก็สหุงต้มยังมีแค่ 2-3 ขนาดให้ลูกค้าเลือกใช้ หรือ ถ่านไฟฉายที่ขายกันตามร้านสะดวกซื้อ ก็มีไม่มากรุ่นนัก)
1
ผู้บริโภคต้องยอมรับว่าตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของแบตเตอรี่ เมื่อแบตเตอรี่ในรถของตัวเองถุกถอดออกไปจากรถ จะถูกนำไปชาร์จและสลับให้รถคันอื่น แบตเตอรี่ที่มาสลับใส่รถของเราอาจจะเก่าหรือใหม่กว่า หรือเป็นคนละยีห้อกับแบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับรถตอนที่เราซื้อ
2
ควรมีหน่วยงานที่ตรวจสอบสถาะของแบตเตอรี่ที่นำมาบริการว่าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งานซ้ำ คล้ายๆกับที่โรงอัดบรรจุแก็สหุงต้มจะต้องตรวจสอบคุณภาพของถังแก็สว่าสภาพพร้อมที่นำไปอัดบรรจุใหม่
คลิปแสดงการสลับแบตเตอรี่
สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ไต้หวัน ใช้ระบบการสลับแบตเตอรี่
ระบบสลับแบตเตอรี่ของรถบัสในจีน
ตัวอย่างการใช้รถไฟฟ้าที่สามารถนำระบบสลับแบตเตอรี่มาใช้งาน ได้แก่
1. รถโดยสารสาธารณะ หรือเรือโดยสาร ที่ใช้พาหนะยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แบตเตอรี่มาตรฐานเดียวกัน และวิ่งในเส้นทางประจำ จะสามารถเลือกแบตเตอรี่ให้เหมาะกับขนาดรถและระยะทางวิ่ง และสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่สถานีต้นทาง-ปลายทาง หรือที่สถานีกลาง เช่น เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ อาจจะมีสถานีสลับแบตเตอรี่ที่นครสวรรค์ รถเมล์ไฟฟ้าที่เสิ่นเจิ้น ก็น่าจะใช้หลักการเดียวกันครับ
2. บริษัทขนส่งสินค้า ที่มีเส้นทางวิ่งคงที่จากศูนย์กระจายสินค้าไปยังคลังย่อยๆตามจังหวัดใหญ่ๆ สามารถวางแผนเส้นทางการวิ่ง เลือกขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสม และสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่ตามจุดจอดพักรถ
โฆษณา