20 มี.ค. 2019 เวลา 04:30 • ความคิดเห็น
“ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า”
คติสอนหญิงอายุกว่า 2,500 ปี จากตอนหนึ่งในคำสอนทางพระพุทธศาสนา...
เดิม คำสอนนี้ถูกสอนแก่หญิงผู้หนึ่งก่อนออกเรือนเพื่อไปเป็นภรรยา โดยเปรียบเทียบว่า
>> ไฟ คือ ความเดือดเนื้อร้อนใจ สิ่งไม่ดีต่างๆ
โดยในตอนนั้น ผู้สอนต้องการสื่อว่า
>> ไฟในอย่านำออก คือ อย่านำความเดือดเนื้อร้อนใจ สิ่งไม่ดีต่างๆ ภายในบ้านหรือครอบครัว ออกไปเล่า หรือระบายต่อคนภายนอกฟัง
เช่น เราอาจมีปัญหากันในครอบครัว ลูกชายไม่ตั้งใจเรียน สามีเมาเหล้าทุกวัน มีปัญหาทางการเงินผ่อนบ้างไม่ทัน ฯลฯ
เพราะนอกจากเขาจะไม่ช่วยเราแล้ว เขายังจะมองเราไม่ดีต่างๆนาๆอีกด้วย และเราจะถูกมองว่าเป็นคนไม่น่าคบหา ครอบครัวนี้ไม่น่าคบหา เพราะมีแต่จะนำพาเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาสู่เขาผู้ฟังเหล่านั้นอยู่เสมอ
>> ไฟนอกอย่านำเข้า คือ อย่านำเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจจากภายนอกเข้ามาภายในบ้าน หรือในครอบครัว
เพราะบ้านหรือครอบครัว คือที่สงบสุข ร่มเย็น เป็นที่พักผ่อนที่สุดท้าย และเป็นที่ที่อุดมไปด้วยความรัก ความสุขใจ หากเรานำความทุกข์ร้อนต่างๆจากภายนอกเข้ามาภายในครอบครัว
อย่างเช่น ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน บ่นเรื่องรถติด ถูกหักเงินเดือน เศรษฐกิจไม่ดีขายของไม่ได้ ฯลฯ
หากเรานำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในบ้าน
>>จะเหมือนกับเรานำไฟมาเผาบ้านตัวเอง<<
เพราะ จะทำให้คนในครอบครัวเดือดเนื้อร้อนใจกับเราไปด้วย สุดท้ายจะทำให้ทุกคนในครอบครัวเกิดความทุกข์
หากท่านกำลัง “นำไฟในออกและนำไฟนอกเข้า” อยู่
>> จงหยุดเสีย!!
อีกนัยหนึ่ง เราทุกคนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อประโยชน์กับตัวเราเอง โดยการ
>> ไม่นำ “ไฟใน” ออกจากตัวเรา
เช่น การพูดเสียดสีนินทา การต่อว่าด่าทอ การกล่าวโทษแก่ผู้อื่น ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้อื่นที่อยู่รอบตัวเราทุกข์ใจ
จะทำให้เราเป็นคนไม่น่าคบและขาดมิตรในที่สุด
>> ไม่นำ “ไฟนอก” เข้าสู่ตัวเรา
เช่น การเก็บเอาคำพูดไม่ดีของผู้อื่นมาคิดมากเกินไป รับฟังแต่คำพูดเสียๆหายๆ การอยู่ภายในวงนินทา
เพราะจะทำให้ใจเราไม่เป็นสุข เราเสียความสงบในใจ
เพราะเรื่องราวไม่ดีเหล่านั้น
“หากไฟที่ร้อน มอดด้วยน้ำได้ฉันใด จิตใจก็เย็นได้ด้วยความสงบฉันนั้น” - จิตบำบัด
โฆษณา