28 มี.ค. 2019 เวลา 16:50 • ธุรกิจ
แกะรอยโมเดลธุรกิจ กับ Biz’Man
หลังจากที่ผ่านการเลือกตั้งและนับคะแนนกันเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าผลจะออกมาถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็อยากให้คิดว่า เราต่างกันได้แต่ไม่แตกแยกกันนะครับ
วันนี้ Biz’Man ขอแกะโมเดลธุรกิจที่ถือว่าต้องใช้ “ความกล้า” บวกกับ “คิดนอกกรอบ” เข้ามาใช้ในการสรรค์สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้นมาในธุรกิจเดิม
โดยอาศัยการเปลียน “จุดแข็ง” เป็น “จุดอ่อน” ตามหลักวิชาป้องกันตัวแบบ “Aikido” นั่นเอง จึงเรียกโมเดลธุรกิจแบบนี้ว่า
EP 12 : Aikido Business Model
Aikido business model
โมเดลธุรกิจแบบ “ไอคิโด” อาศัยหลักการโดยเปลี่ยนความแข็งแกร่งให้เป็นความอ่อนแอในการต่อสู้ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจก็คือ “สร้างความแตกต่าง” ด้วยเงื่อนไข 2 สิ่ง คือ
• สินค้า/บริการ
• ราคา
เช่น
- คู่แข่งในอุตสาหกรรมเขามีรูปแบบอย่างไร เราก็คิดให้แตกต่างจากคู่แข่ง
- โครงสร้างราคาของคู่แข่งเป็นอย่างไร ก็คิดให้แตกต่างจากกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน
เมื่อ สินค้าและราคา แตกต่างจากคู่แข่ง เกิดโมเดลการแข่งขันใหม่ ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ(ถ้าโมเดลที่คิดสามารถตอบโจทย์ได้)
ซึ่งสามารถดูได้จาก Business model pattern จากรูปด้านล่าง
Aikido Business Model
รูปที่ 1 : คู่แข่งทำการขายสินค้าและบริการที่เหมือนกันเรา
รูปที่ 2 : Aikido Business Model จะทำการคิดนอกกรอบด้วยปัจจัย 2 สิ่ง คือ สินค้าและราคา
ในบ้านเรา..โมเดลธุรกิจที่เห็นได้ชัดเลย คือ อิชิตัน
ก่อนที่อิชิตันจะเข้ามาในตลาด พบว่า ตลาดชาเขียวมีแบบกล่อง 10 บาท กับ ขวดใหญ่ 20 บาท
ดังนั้น ถ้าอิชิตันเข้าตลาดเดิมด้วยขนาดและราคาสินค้าเท่ากันกับคู่แข่งจะต้องเกิดการปะทะจุดแข็งของคู่แข่งโดยตรง
ดังนั้น อิชิตันทำการเปลี่ยนขนาดลงมาให้ขวดมีขนาดเล็กลง เพื่อเปลี่ยนราคาให้อยู่ถูกลง คือ 15 บาท
เป็นการเปลี่ยนจุดแข็งของคู่แข่งกลายเป็นจุดอ่อนทันที คือ ลูกค้าอยากกินเยอะกว่ากล่อง 10 บาท แต่ก็ไม่อยากซื้อด้วยราคา 20 บาท
โมเดลธุรกิจที่อิชิตันใช้ก็คือ “Aikido Business Model”
Ichitan green tea โดยใช้โมเดลธุรกิจแบบ Aikido
Biz’Man กำลังมองหาตัวอย่างของธุรกิจที่ใช้หลัก Aikido Business Model ก็เห็นโฆษณาของปั้มน้ำมัน PT
ปั้มน้ำมัน PT จะไม่ตั้งอยู่ในถนนเส้นหลัก แต่เป็นการตั้งถนนเส้นรอง และใช้หลักการควบคุมต้นทุนที่มี Hub น้ำมันไม่ไกลจากกัน และใช้สถานที่ที่เคยเป็นปั้มเดิมแล้วใช้วิธีเช่าแทนการซื้อ
ซึ่งเข้าหลักการของ Aikido Business Model คือ
• ต้องกล้าและคิดนอกกรอบ
• ต้องคิดสินค้า/บริการที่ต่างจากคู่แข่ง
• โครงสร้างราคา ต้องไม่เหมือนคู่แข่ง : การควบคุมต้นทุนจาก Logistic และใช้กลยุทธ์เช่าแทนการซื้อ
PT fuel station กับ Aikido business model
จึงทำให้ปั้มน้ำมัน PT สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการเข้าใจรูปแบบโมเดลธุรกิจมีความจำเป็นมากๆในโลกธุรกิจ ซึ่งผู้ใดศึกษาและเข้าใจโมเดลธุรกิจมากกว่าย่อมได้เปรียบกว่านั้นเอง
ซึ่งทาง “แกะรอยโมเดลธุรกิจ กับ Biz’Man” อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ในตอนนี้แต่เมื่อใดก็ตามที่จะต้องใช้ ก็กลับมาอ่านได้ทุกเมื่อครับ
ดังนั้นอย่าลืม Follow Blockdit เพื่อติดตามโมเดลธุรกิจต่างๆหรือทาง Biz’Man จะนำแบรนด์ต่างๆ มาแกะรอยกันครับ
โปรดติดตามได้ทุกวันจันทร์-พฤหัสครับ
ขอขอบคุณ สปอนเซอร์ใจดีจาก โรงงานอบ บด ผสม บรรจุ วัตถุดิบอาหารผง ของ SPF Powder ที่เป็นกำลังใจดีๆตลอดมาครับ และได้ข่าวว่าจะให้ยืมใช้สถานที่เพื่อทำการ Coaching Business Model โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
ขอบคุณมากครับ
โฆษณา