28 มี.ค. 2019 เวลา 07:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อยากเล่าเรื่องรถไฟฟ้า ภาค11...
ปัจจุบันยอดขายรถไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในอดีตกว่าจะขายรถไฟฟ้าได้ถึง 1 ล้านคันแรก ต้องใช้เวลานานถึง 20 ปี แต่ล้านที่สองใช้เวลาแค่ 17 เดือนเท่านั้น และยอดขายรถไฟฟ้าปีค.ศ.2017 เพียงปีเดียวก็มากกว่าหนึ่งล้านคัน...
Source : Bloomberg NEF
แม้รถไฟฟ้าจะขายมากขึ้นในแต่ละปี แต่เมื่อเทียบกับยอดขายรถยนต์ รถไฟฟ้ายังขายได้น้อยมาก หลายๆปีก่อน รถไฟฟ้าขายมากในภูมิภาคอเมริกาและยุโรป แต่สองปีที่ผ่านมา ยอดขายรถไฟฟ้าในจีนเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในโลก
รถหนึ่งคันมีอายุการใช้งานที่นานมาก ถ้านับจำนวนที่ใช้งานกันทั่วโลก รถไฟฟ้ามีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของจำนวนรถทั้งหมดที่มี ผู้เชียวชาญประเมินว่า
ปี ค.ศ. 2025 ยอดขายรถ(เครื่อง)ยนต์ทั่วโลกจะลดลง
ปีค.ศ. 2040 รถใหม่ที่ขายกันทั่วโลกมากกว่า 50% จะเป็นรถไฟฟ้า
ปี.ค.ศ. 2040 รถไฟฟ้า จะใช้พลังงานไฟฟ้า 2000 TeraWattHour(TWh) เทียบเท่ากับการลดการใช้น้ำมันดิบ 7.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หมายเหตุ : 1TWh = 1 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ 1 พันล้านยูนิต)
ยอดขายรถไฟฟ้าในประเทศต่างๆในยุโรป นอร์เวย์และไอซ์แลนด์ เป็นสองประเทศที่มียอดขายรถไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับรถยนต์ ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาลที่อุดหนุนให้ใช้รถไฟฟ้า เช่น ในนอร์เวย์ถ้าซื้อไฟฟ้าไม่ต้องจ่าย vat( แวทของนอร์เวย์สูงถึง 25%) ฝรั่งเศสให้เงินอุดหนุนในการซื้อรถไฟฟ้าและขายคืนรถดีเซล
2
นอกจากรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ในครอบครัวแล้ว ยังมียานพาหนะกลุ่มอื่นๆที่มีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น รถมอเตอร์ไซด์ และรถบัสหรือรถเมล์โดยสารในเมือง
รถมอเตอร์ไซด์ทั่วโลกมีมากกว่า 200 ล้านคัน และมีการจำหน่ายรถใหม่ปีละประมาณ 35 ล้านคัน ภูมิภาคที่ใช้รถมอเตอร์ไซด์มากที่สุดคือ ทวีปเอเซีย มีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 80% ของทั่วโลก ในเอเซียรถมอเตอร์ไซด์จะใช้ในชีวิตประจำวัน การเดินทางหรือเป็นรถรับส่งคนหรือสิ่งของในเมืองที่สภาพจราจรติดขัด ในขณะที่ยุโรปหรืออเมริกาจะใช้รถมอเตอร์ไซด์เพื่อการพักผ่อนมากกว่า
รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะในเมืองใหญ่ทั้งควันพิษ PM2.5 และเสียงดังจากการจราจรได้ รถมอเตอร์ไซด์ใช้วิ่งในระยะทางไม่ไกลและความเร็วไม่สูง แบตเตอรี่ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายเมื่อแบตเตอรี่หมด
รถส่งสินค้า เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการเปลี่ยนจากรถยนต์ไปใช้เป็นรถไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากการใช้รถจะมีแผนการวิ่งที่เป็นเส้นทางประจำและรู้ระยะทางล่วงหน้า นอกจากนี้ยังมีการใช้รถรุ่นเดียวกันในจำนวนมากๆ ในต่างประเทศ บริษัทฯขนส่งใหญ่ๆเช่น DHL หรือ TNT มีการนำรถยนต์มา Retrofit เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าแทน (ใช้โครงรถภายนอกเดิมของรถยนต์ แต่เปลี่ยนเครือ่งยนต์และเกียร์เป็นมอเตอร์และแบตเตอรี่แทน) ปัจจุบัน เริ่มมีผู้ผลิตรถยนต์บางค่ายได้ผลิตรถไฟฟ้ากลุ่มนี้เพื่อมาตอบสนองความต้องการของตลาดแล้ว
รถบัสโดยสาร หรือ รถเมล์ เป็นอีกเซกเมนต์หนึ่งที่มีการใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รถเมล์ในเมืองวิ่งด้วยความเร็วไม่มากนัก และรอบการวิ่งของรถมีระยะทางไม่มาก สามารถจอดชาร์จที่อู่หรือสถานีรถได้ และยังช่วยลดปัญหามลภาวะในเมือง
ในเสิ่นเจิ้นรถเมล์ทั้งหมด 100% เป็นรถไฟฟ้า และมีแผนจะเปลี่ยนรถแท็กซี่ทั้งหมดในเมืองเป็นรถไฟฟ้า(ปัจจุบันก็เป็นรถไฟฟ้ากว่า 60%) ปีที่แล้วเริ่มทดลองรถเมล์แบบไร้คนขับ (Autonomous Bus) แต่กม.จีนยังไม่อนุญาติให้รถไม่มีคนขับวิ่งบนถนน บนรถจึงยังมีคนขับอยู่ แต่แค่นั่งเฉยๆไม่ได้บังคับหรือควบคุมรถแม้แต่การนำรถไปจอด ก็ยังเป็นระบบอัตโนมัติ
รถบัสสำหรับนักท่องเทียว เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถพัฒนาไปใช้รถไฟฟ้า แม้ว่าระยะทางการวิ่งอาจมากกว่ารถเมล์ แต่การที่รถจะมีการจอดพักตามสถานที่ท่องเที่ยวเป็นระยะๆ ทำให้คนขับรถสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถในขณะที่นักท่องเที่ยวไปชมสถานที่ต่างๆได้
บ้านเราเริ่มเห็นการขายมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า หลายมหาวิทยาลัยมีรถไฟฟ้าหรือสกูตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าใช้
ในไม่ช้ารถเมล์และรถแท็กซี่น่าจะเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าตามมา
โฆษณา