1.คำสั่งทางปกครองใดๆ ที่ลงนามโดยหัวหน้าคณะคสช. เป็นคำสั่งทางปกครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่? และใครต้องรับผิดชอบ? 2.คำสั่งทางปกครองในกรณีข้อพิพาทรัฐไทย-บริษัทเหมืองทองอัครา ออสเตรเลีย โดย เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะ คสช.ได้มีคำสั่งทางปกครอง (ในฐานะอะไรยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน) ให้ระงับใบอนุญาตการทำเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัทอัครา ในเครือ บริษัท คิงส์เกต คอนโซเดเต็ด ลิมิเตด สัญชาติออสเตรเลีย และในคำสั่งฉบับนี้ ให้บริษัทหยุดดำเนินการโดยทันที
3.ทางบริษัทเหมืองทองอัคราได้ขอเจรจาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จึงได้นำปัญหาเข้าสู่ขบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ตัดสินยุติข้อพิพาททางแพ่ง โดยบริษัทอัครา เรียกค่าเสียหายที่ไทยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ประมาณ 30,000 ล้านบาท 4.รัฐบาลไทยมีโอกาส 99% ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย 30,000 ล้านบาทนี้เหตุผลทางกฏหมายเป็นดังนี้คือ
(ก) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ คสช. ผู้ออกคำสั่ง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 98(15) (ตามที่วิษณุ+รักษเกชา..ว่าไว้) การออกคำสั่งทางปกครองให้ปิดกิจการทำเหมืองทองจึงไม่มีกฏหมายรองรับการให้อำนาจคำสั่งทางปกครองนี้จึงเป็นคำสั่งทางปกครองเถื่อน(ตามหลักสากล)ท่านรักษเกชา แฉ่ฉาย ในฐานะเลขาของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน น่าจะทำการตรวจสอบความชอบด้วยกฏหมายของคำสั่งทางปกครองนี้ ว่ามีกฏหมายอะไรรองรับการทำหน้าที่ของ คณะ คสช. (รธน.ม.230)
(ข) หลัก Pacta Sunt Servanda ความหมายคือหลักสัญญาต้องเป็นสัญญา เป็นหลักการที่กฎหมายระหว่างประเทศยึดถือประดุจดั่งกฎเหล็ก ในทำนองว่าข้อตกลงในสัญญาย่อมเหนือกว่าข้ออ้างของทั้งสองฝ่าย และในสัญญาสัมปทานทำเหมืองทองระหว่างไทยและบริษัทอัครา เป็นการดำเนินการตามหลักสุจริต good faith การที่ฝ่ายใดไม่ชำระ (obligation) หรือปฏิบัติตามสัญญาให้ลุล่วงไปนั้น ให้ถือว่า ผิดสัญญา (breach of the paet) ดังได้บัญญัติไว้ใน ข้อ 26 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties)
เพราะเหตุที่กฎหมายภายในประเทศของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ในการทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศในสัญญาสัมปทานจึงต้องยึดหลักการให้คู่สัญญาระงับข้อพิพาททางแพ่งโดยใช้หลักสัญญาอนุญาโตตุลาการ (arbitrator agreement)โดยให้ทั้งสองฝ่ายคัดเลือกบุคคลที่เป็นกลางและทั้งคู่เห็นว่าเหมาะสมเข้าเป็นผู้ระงับข้อพิพาท เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตาม ม.44 ออกคำลั่งทางปกครอง ที่ 72/2559 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ให้ระงับใบอนุญาตและให้หยุดกิจการทำเหมืองทองอย่างสิ้นเชิง ถือว่ารัฐไทยไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้ลุล่วง น่าจะถือว่ารัฐไทยผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าเสียหาย 30,000 ล้านบาท
5.หากอนุญาโตตุลาการยึดหลักการ pacta sunt servanda ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่เป็นการละเมิดทำให้บริษัทเหมืองทองอัคราได้รับความเสียหายในทางแพ่ง ต้องรับผิดชอบเต็มๆ 6.ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่ไปทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหาย (จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม) ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่ตนได้ทำละเมิด ตาม "พระราชบัญญัติทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 4 จึงมีทางเลือก 2 ทาง (1) บุคคลใดที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและมีหน้าที่ตามกฎหมายได้ออกคำสั่งทางปกครองจะโดยตั้งใจโดยสุจริตหรือประมาททำให้บุคคลใดได้รับความเสียหาย ผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั้นต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายกระทรวงการคลังจะชดใช้ค่าเสียหายแทน (ม.5 ว่าด้วยการละเมิดของเจ้าหน้าที่ราชการ) ดังนั้น กรณีนี้ 30,000 ล้าน พล.อ ประยุทธ์ ไม่ต้องจ่ายเอง แต่ ต้องยอมรับว่าตนในฐานะหัวหน้า คสช. เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถลงสมัคร cadidate นายกรัฐมนตรีได้
(2) ตาม ม. 6 พ.ร.บ.ทางละเมิด บอกว่า ถ้าบุคคลที่ออกคำสั่ง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นแต่ไม่มีอำนาจที่จะทำได้ ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง งานนี้หนัก พล.อ.ประยุทธ์ ต้องจ่าย 30,000 ล้านเอง ถ้าปฏิเสธว่าตนในฐานะหัวหน้า คสช. ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ(และมีคุณสมบัติลง cadinate นายกรัฐมนตรีได้ ทั้ง 2 ทางอันตรายสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกไม่น่าจะนาน ต้องถูกฟ้องล้มละลายจาก 30,000 ล้านบาทที่ออกคำสั่งทางปกครองซี้ซั้ว
จะคอยดูว่า เมื่อถึงเวลาต้องชดใช้ค่าเสียหาย 30,000 ล้าน(โดยประมาณ) ดร.วิษณุ เครืองาม จะบอกว่า หัวหน้า คสช. เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อให้กระทรวงการคลังรับผิดทางละเมิดแทน หัวหน้า คสช.ตาม ม.5 หรือบอกว่าไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ม. 98(15) รัฐธรรมนูญ เอ้อ...ฤทธิ์เดชของกฏหมายนอกจากให้ความยุติธรรมแล้วยังใช้พันคอให้คนบางคนตายได้ครับ เชิญใช้สิทธิเลือกให้เต็มที่ ถึงวาระคุณแล้วครับ..ขุนจัน พันนา]
เนื่องจากเป็นเรื่องเทคนิคทางกฎหมายที่ซับซ้อน ผมจึงให้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้อ่านตัดสินถูกผิดเอง"