30 มี.ค. 2019 เวลา 10:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภารกิจอะพอลโล 11 : ก้าวแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์
#สรุปทุกขั้นตอน
ภารกิจอะพอลโล 11 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์เป็นครั้งแรกแล้วนำกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย
ส่วนจุดหมายที่รองลงมาคือ การสำรวจทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคเชิงวิศวกรรม ได้แก่
- การศึกษาองค์ประกอบของลมสุริยะ
-ตรวจจับการสั่นสะเทือนที่ผิวดวงจันทร์
-การนำกระจกพิเศษไปวางไว้บนดวงจันทร์เพื่อระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ด้วยการยิงเลเซอร์ (Laser Ranging Retroreflector)
-เก็บตัวอย่างหินจากดวงจันทร์มายังโลกเพื่อศึกษา
-ถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์
- การถ่ายทอดสัญญาณจากผิวดวงจันทร์มายังโลก
ที่มารูป.http://time.com/5342743/nasa-moon-mars/
16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969
ยานอวกาศในโครงการอะพอลโล 11 พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 3 คนได้แก่ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) และ บัซซ์ อัลดริน (Buzz Aldrin) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศที่ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) แหลม คานาเวอรัล ด้วยจรวด Saturn V ซึ่งเป็นจรวดที่มีความสูงเท่าตึก 36 ชั้น ประกอบไปด้วยจรวดย่อยๆ 3 ท่อน ท่อนแรกใช้สร้างแรงขับถึงความสูง 31 กิโลเมตรจากผิวโลก ท่อนกลางใช้สร้างแรงขับเข้าสู่วงโคจรรอบโลก และท่อนสุดท้ายใช้สร้างแรงขับดันเพื่อส่งยานอวกาศสู่ดวงจันทร์
ที่มารูป.www.nasa.gov/centers/langley/multimedia/road2apollo-22.html
ยานอวกาศแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักได้แก่
1.Command Service Module (ชื่อว่า Columbia) ทำหน้าที่เป็นยานแม่ บรรทุกลูกเรือภายในมีระบบจัดการหลักๆและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทาง
ที่มารูป.https://forum.nasaspaceflight.com
2. Lunar Module (ชื่อว่า Eagle) ซึ่งจะถูกส่งไปลงจอดบนดวงจันทร์พร้อมกับนักบินอวกาศ
ที่มารูป.www.drewexmachina.com
หลังจากที่จรวดและยานอวกาศโคจรรอบโลก ได้ 1 รอบครึ่ง (2ชั่วโมง 44 นาที) จรวดท่อนสุดท้ายก็ทำการจุดระเบิดเพื่อส่งยานอวกาศให้เดินทางสู่ดวงจันทร์ แล้ว Command Service Module หลุดออกจากจรวดแล้วประกอบตัวเองเข้ากับ Lunar Module เพื่อเดินทางต่อ
ที่มารูป.www.youtube.com/watch?v=Ac47IgC39m8
ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1969
ยานอวกาศได้เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ นักบินอวกาศทำการตรวจสอบระบบต่างๆของ Lunar Module จนพร้อม
นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน เข้าสู่ Lunar Module แล้วแยกตัวเพื่อลงจอดบนดวงจันทร์ ส่วนไมเคิล คอลลินส์ นั้นยังอยู่บน Command Service Module ที่โคจรไปรอบๆดวงจันทร์เพื่อดูแลการสื่อสารจาก Lunar Module กลับไปยังโลก
ที่มารูป.www.gettyimages.com/photos/michael-collins-astronaut
เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศเหมมือนอย่างโลกของเรา ขณะที่ Lunar Module ค่อยๆเคลื่อนที่ลงสู่ผิวดวงจันทร์จึงต้องส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟสู่ผิวดวงจันทร์แล้วตรวจจับการสะท้อนกลับมาเพื่อให้รู้ตำแหน่งของตัว Lunar Module เอง
ระหว่างการลงจอด คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ระบุตำแหน่ง ส่วนนักบินอวกาศต้องคอยสังเกตสภาพพื้นผิวที่ลงจอดให้เหมาะสม
ที่มารูป.www.gettyimages.com
ในที่สุด Lunar Module ก็ลงจอดบนดวงจันทร์ในตำแหน่งที่มีชื่อว่า ที่ทะเลแห่งความเงียบสงบ (Sea of Tranquility) ซึ่งเป็นที่ราบที่เกิดจากลาวาที่ไหลท่วมผิวดวงจันทร์เมื่อนานมาแล้ว สองนักบินอวกาศเตรียมการยกเลิกภารกิจหากมีเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเพื่อทะยานกลับสู่ Command Service Module แต่เมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ทำให้ทุกคนรู้ว่า การลงจอดประสบผลสำเร็จ!
ที่มารูป.http://ksimonian.com
วันที่ 20 กรกฏาคม ค.ศ. 1969
นีล อาร์มสตรอง ก้าวเท้าซ้ายเหยียบดวงจันทร์ แล้วกล่าวคำพูดว่า
" นี่เป็นก้าวเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"
"...one small step for a man, one giant leap for mankind"
3
มีการประมาณการณ์ว่าผู้คนราว 530 ล้านคนทั่วโลกต่างรับชมการถ่ายทอด การก้าวลงบนดวงจันทร์ของเขา
 
แล้ว บัซซ์ อัลดริน ก็ตามออกมาบนดวงจันทร์ แรงโน้มถ่วงบนดวงจันทร์ที่อ่อนกว่าบนผิวโลกของเรา ถึง 6 เท่าทำให้พวกเขาเคลื่อนไหวเหมือนภาพวีดีโอสโลวโมชั่น
ที่มารูป.www.gettyimages.com
พวกเขาปักธงชาติสหรัฐอเมริกาไว้บนดวงจันทร์ แล้วทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์จนบรรลุตามเป้าหมาย พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ ไว้ถึง 23 กิโลกรัม
 
สิ่งที่ทั้งสองทิ้งไว้บนดวงจันทร์คือ แผ่นดิสก์ซึ่งภายในมีข้อมูลข้อความจากประเทศต่างๆทั่วโลก แผ่นป้ายของโลกการอะพอลโล 1 เหรียญจากนักบินอวกาศรัสเซีย และ สัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มารูป.www.gettyimages.com
............................................................
วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1969
3
นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน เดินทางออกจากผิวดวงจันทร์เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ด้วย Lunar Module ส่วนบนซึ่งจะทำการจุดระเบิดสร้างแรงขับดันโดยทิ้งฐานของ Lunar Module ไว้บนพื้นผิวดวงจันทร์( แรงโน้มถ่วงบนผิวดวงจันทร์ต่ำกว่าโลกทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างแรงขับมากมายเหมือนจรวดบนโลก)
จากนั้น Lunar Module ส่วนบนได้เชื่อมต่อกับ Command Service Module ที่โคจรรออยู่แล้วทำการย้ายสิ่งต่างๆที่จำเป็นต้องนำกลับโลก เช่น หินจากดวงจันทร์ มายัง Command Service Module แล้วจึงปลด Lunar Module ส่วนบนให้ตกกลับไปยังผิวดวงจันทร์
จากนั้นทั้งสามก็เดินทางกลับสู่โลก
1
ที่มารูป.www.gettyimages.com
วันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1969
ยานอวกาศในโครงการอะพอลโล 11 เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็ว 11,032 เมตรต่อวินาที การออกแบบชั้นกันความร้อนช่วยให้ยานอวกาศไม่ถูกเผาไหม้ไปเสียก่อน แล้วตกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกอย่างปลอดภัยในที่สุด
ที่มารูป.www.gettyimages.com
ที่มารูป.www.gettyimages.com
ทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของภารกิจอะพอลโล 11
ภารกิจประวัติศาสตร์ที่ส่งมนุษย์ไปยืนอยู่บนดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก
โฆษณา