30 มี.ค. 2019 เวลา 16:45 • ไลฟ์สไตล์
นิสัย ของคน 8 GEN มาดูกัน... คน 8 เจเนอเรชั่น คุณอยู่ในกลุ่มไหนกัน ?
1
อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้หญิงยุคใหม่เป็นเวิร์กกิ้งวูแมนมากขึ้น สนใจเรื่องการทำงานมากกว่าคิดจะมีครอบครัว สาวโสดก็เลยครองเมืองกันเพียบ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างประชากรไทยกำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป และดูเหมือนว่า ในอนาคตเราอาจจะเผชิญกับสภาวะที่ขาดแคลนแรงงานก็เป็นได้
2
อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว โครงสร้างของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจในช่วงนั้นที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และคนในแต่ละยุค แต่ละสมัยก็จะมีพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความรู้ความสามารถ ค่านิยม การบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป ทางสหรัฐอเมริกา และโลกตะวันตก จึงได้จัดแบ่งกลุ่มคนออกเป็นรุ่นต่าง ๆ 8 เจเนอเรชั่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกณฑ์การจัดแบ่งรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันไปทั่วโลกด้วย
...ลองไปตรวจสอบกันดูซิว่า ครอบครัวของคุณ และตัวคุณเอง อยู่ในรุ่นไหนบ้าง และมีอุปนิสัยคล้ายกับข้อมูลต่อไปนี้หรือไม่
1. Lost Generation
ประชากรยุคแรกที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426-2443 หรือในช่วงทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว จึงถูกตั้งชื่อว่า "Lost Generation" เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนยุคนี้ก็คือ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
2. Greatest Generation
Greatest Generation หรือที่รู้จักกันว่า G.I. Generation คนกลุ่มนี้เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2444-2467 คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาจึงกลายมาเป็นกำลังหลักของการต่อสู้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสงบ เกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก คนรุ่นนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง
ผู้คนในยุคนั้นจะมีความเป็นทางการสูง ผู้ชายจะใส่สูทผูกเนคไทเมื่อออกจากบ้าน คนในสังคมจะมีแบบแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความคิด ความเห็น ความเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมั่นรัฐบาล อำนาจรัฐ มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองร่วมกัน
3. Silent Generation
หมายถึงคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 ประชากรรุ่นนี้จะมีไม่มากเท่ารุ่นอื่น ๆ เพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องทำงานหนักในโรงงาน หามรุ่งหามค่ำ คนรุ่นนี้จึงมีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อนายจ้าง และประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มออกมาทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น กระทั่งเวลาผ่านไป เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คนในรุ่นนี้จึงได้รับโอกาสมากขึ้น มีช่องทางการสร้างกิจการของตัวเอง รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นรากฐานจนถึงปัจจุบันนี้
4. เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer)
เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือ Gen-B หมายถึงคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2507 หรือในยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุ ที่เรียกว่า "เบบี้บูมเมอร์" ก็เพราะว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง บ้านเมืองที่ผ่านการสู้รบได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชากรที่เหลืออยู่ในแต่ละประเทศจึงต้องเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็ง แกร่งมั่นคงอีกครั้ง แต่ทว่า...สงครามที่ผ่านพ้นไปก็ได้คร่ากำลังพล และแรงงานไปเป็นจำนวนมาก ประเทศเหล่านี้จึงขาดแรงงานในการขับเคลื่อน ประเทศ คนในยุคนั้นจึงมีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลาย ๆ คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของคำว่า "เบบี้บูมเมอร์" นั่นเอง
ปัจจุบันนี้ คนยุคเบบี้บูมเมอร์คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป และเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา มีความอดทนสูง ทุ่มเทให้กับการทำงานและองค์กรมาก สู้งาน พยายามคิดและทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นเจ้าคนนายคน ถูกครอบครัวสั่งสอนมาให้เป็นคนประหยัด อดออม จึงมีการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง คน ในยุคอื่น ๆ อาจจะมองคนยุคเบบี้บูมเมอร์ว่าเป็นพวก "อนุรักษนิยม" เป็นคนที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คนกลุ่มนี้ถือว่าน่าจะมีจำนวนมากที่สุดในสังคมปัจจุบันเลยทีเดียว
เหตุการณ์สำคัญที่คนในรุ่นนี้เคยประสบ หรือเคยได้ยินก็คือ ข่าวความสำเร็จของการส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ ข่าวการทำสงครามเวียดนาม เป็นต้น
1
5. เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ (Generation X)
หลัง จากยุคเบบี้บูมเมอร์ส่งผลให้เด็กเกิดมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนจึงกลับมานั่งคิดว่า หากไม่ควบคุมอัตราการเกิดไว้ สุดท้ายแล้วคนทั้งโลกก็จะขาดแคลนอาหาร ดังนั้น จึงเกิดเป็นยุค "เจเนอเร ชั่น เอ็กซ์" (Generation X) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Gen-X" ที่เป็นกระแสตีกลับจากยุคเบบี้บูมเมอร์ มีการควบคุมอัตราการเกิดของประชากร อย่างเช่นในประเทศจีนก็มีการรณรงค์ให้คนมีลูกได้เพียง 1 คนเท่านั้น
คนยุคนี้จะเกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522 อาจเรียกอีกชื่อว่า "ยับปี้" (Yuppie) ที่ย่อมาจาก Young Urban Professionals เพราะ เกิดมาพร้อมในยุคที่โลกมั่งคั่งแล้ว จึงใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของวิดีโอเกม, คอมพิวเตอร์, สไตล์เพลงแบบฮิปฮอป และอาจทันดูทีวีจอขาวดำด้วย
ปัจจุบัน คนยุค Gen-X เป็นคนวัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปแล้ว พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ที่เด่นชัดมากก็คือ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work–life balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตาม หลายคนใน Gen-X มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และ ไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นมองว่าการอยู่ก่อนแต่ง หรือการหย่าร้างก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับเรื่องเพศที่ 3 ซึ่งต่างจากกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มองเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องผิดจารีตประเพณี เป็นอย่างยิ่ง
2
6. เจเนอเรชั่น วาย (Generation Y)
ถัดจากยุค Gen-X ก็คือ ยุคเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ ยุค Millennials ซึ่งก็คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523–2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย กับ รุ่นพ่อแม่ แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย
ยุคนี้จะเป็นยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้พ่อแม่ที่ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วจะดูแลเอาใจใส่ลูก ๆ เป็นอย่างดี เด็กยุคนี้จึงมักจะถูกตามใจตั้งแต่เด็ก ได้ในสิ่งที่คนรุ่นพ่อแม่ไม่ค่อยได้ มีการศึกษาดี มีลักษณะนิสัยชอบการแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบถูกบังคับให้อยู่กรอบ ไม่ชอบอยู่ในเงื่อนไข ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีอิสระในความคิด กล้าซัก กล้าถามในทุกเรื่องที่ตัวเองสนใจ ไม่หวั่นกับคำวิจารณ์ มีความเป็นสากลมาก มองว่าการนิยมชมชอบวัฒนธรรม หรือศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องธรรมดา
ปัจจุบัน คนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่น iPad ไปด้วย คุยโทรศัพท์ไปด้วย แถมบางคนยังกินข้าวไปพร้อม ๆ กันด้วยอีกต่างหาก
ในเรื่องการทำงาน คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วย งานอย่างไร และชอบทำงานเป็นทีม ต่างจากกลุ่ม Gen-X ที่ชอบวันแมนโชว์มากกว่า เพราะคนในวัย Gen-X จะถูกฝึกมาแบบนั้น ต่างจากวัย Gen-Y ที่เติบโตมาพร้อมกับการประชุม การระดมความคิดเห็น แต่ทว่าคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยอดทนเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่นัก หวังที่จะทำงานได้เงินเดือนสูง ๆ แต่ไม่อยากไต่เต้าจากการทำงานข้างล่างขึ้นไป คาดหวังในการทำงานสูง ต้องการคำชม กลุ่ม Gen-Y มักจะจัดสรรเวลาให้งานและชีวิตส่วนตัวในจุดที่สมดุลกัน พอหลังเลิกงานอาจไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น ไปเล่นฟิตเนส ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง จะไม่ค่อยหมกมุ่นอยู่กับงานเหมือนกับคนรุ่นก่อน
นอกจากนี้ กลุ่ม Gen-Y จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีใจช่วยเหลือสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับพ่อแม่
7. เจเนอเรชั่น ซี (Generation Z)
Gen-Z คือ คำนิยามล่าสุดของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป เทียบ อายุแล้วก็คือวัยของเด็ก ๆ นั่นเอง เด็ก ๆ กลุ่ม Gen-Z นี้ จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อม มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้ได้เร็ว เพราะพ่อแม่ใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งหนึ่งที่เด็กรุ่น Gen-Z แตกต่างจากรุ่นอื่น ๆ สมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่ก็คือ เด็กรุ่นนี้จะ ได้เห็นภาพที่พ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ ต่างจากรุ่นก่อน ๆ ที่อาจจะมีพ่อออกไปทำงานคนเดียว ด้วยเหตุผลนี้ เด็ก Gen-Z หลาย ๆ คนจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง
และนอกจาก 7 เจเนอเรชั่นที่บอกไปแล้ว ปัจจุบันนี้ยังมีคำนิยามเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม แต่ไม่ได้จัดอยู่ร่วมกับ 7 เจเนอเรชั่นข้างต้น คือ กลุ่ม "Gen-C" เป็นคำใหม่ที่ Google และ Nielsen บัญญัติ ใช้สำหรับเรียกกลุ่มคนยุคใหม่ที่ไม่ได้แบ่งตามอายุเหมือน 7 เจเนอเรชั่นข้างบน แต่จัดกลุ่มตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ทั้งนี้ คนที่จะถูกจัดเข้ากลุ่ม Gen-C นั้น ก็คือคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง หันมาสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น ไปจนถึงขั้นเสพติดการเชื่อมต่อ แต่ไม่รวมคนกลุ่ม Gen-Y เป็นพวก Gen-C ด้วย นั่นเพราะคนกลุ่ม Gen-Y ปกติก็จะมีการเชื่อมต่อโลกไร้สายเป็นประจำอยู่แล้ว ต่างกับคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่ในอดีตแทบไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีมากขึ้น พฤติกรรมของคนเหล่านี้จึงต้องเปลี่ยนไปตามโลก
สำหรับคน Gen-C นั้น จะมีนิสัยที่เห็นเด่นชัดมาก ๆ คือ จะมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา มีการอัพเดทข้อมูล สนใจข่าวสารที่ได้รับรู้มาในโลกไซเบอร์ พร้อมจะแชร์ต่อทุกเมื่อ ติดตามดูคลิปในยูทูบมากกว่านั่งดูโทรทัศน์ เหมือนกับสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของตัวเองไปแล้ว และคนกลุ่มนี้ก็ยังกลายมาเป็นผู้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ ๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม คนกลุ่ม Gen-C นี้ แม้จะชอบโพสต์ข้อความมากมาย แต่ก็จะโพสต์ด้วยความระมัดระวังกว่าคน Gen-Y ที่อาจจะโพสต์ตามอารมณ์มากกว่า ต่างกับคน Gen-C ที่จะโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ
ถ้าเราลองเหลียวมองไปรอบ ๆ ตัว เราก็จะได้พบกับคนรุ่นต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือ Baby Boomer, Gen-X, Gen-Y และ Gen-Z ซึ่งนักการตลาด นักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากทีเดียว เพราะจะช่วยทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจบุคคลในวัยต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ส่วนตัวเราเอง การได้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว และลดช่องว่างในสังคมการทำงานได้ดีเลยล่ะ ^^
ที่มา : kapook.com
ตามหลักสากล จะมีการแบ่งกลุ่มคนทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม (Generation) คือ Baby Boomer Generation X และ Generation Y ซึ่งแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน
Baby Boomer คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2507 อายุ 44 - 62 ปี จะเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการ ทำงานและองค์กรมาก คนกลุ่มนี้จะไม่เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากมีความ จงรักภักดีกับองค์กรอย่างมาก
Generation X คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 อายุ 29-43 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการให้ความ สำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง
Generation Y คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2543 อายุ 8-28 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่ม เข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และไม่ชอบเงื่อนไข คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการ ทำงานว่า สิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร อีกทั้งยังมีความ สามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
ในบางแหล่งข้อมูล แบ่งแยกออกเป็น 4 กลุ่ม โดยผสานแนวคิด วิธีการ ในการทำงานร่วมกัน "แค่เข้าใจ ... ทุกอย่างก็ลงตัว"
หนึ่งในสาเหตุของความเครียดในที่ทำงาน คือ การที่คนหลายรุ่นหลายวัยหลายความคิด ต้องมาทำงานร่วมกัน ความแตกต่างระหว่างเลขวัยที่สัมพันธ์กับเลขไมล์ของประสบการณ์ มักนำมาซึ่งความไม่เข้าใจกัน..จนก่อตัวเป็นความขัดแย้งในที่สุด
บางทีความแตกต่าง คือ กุญแจแห่งความสำเร็จ เพียงขอให้เปิดใจทำความรู้จักคนแต่ละรุ่นให้ลึกซึ้งก็จะได้พบโลกใบใหม่ที่งดงาม หลากหลาย และหากเลือกที่จะสื่อสารได้อย่างถูกช่องถูกกลุ่ม ก็อาจจะได้อะไรใหม่ ๆ คาดไม่ถึง
ใครเป็นใครในที่ทำงาน
เราจะแบ่งรุ่นของคนทำงานในที่ทำงานให้ชัดๆ ก่อน โดยจำแนกจากช่วงปีเกิด ซึ่งจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ในช่วงเติบโต ทำให้เห็นยุคสมัยที่หล่อหลอมความคิดของพวกเขาได้ชัดเจนขึ้น
กลุ่มลายคราม : คนที่เกิดก่อนปี 2488
ลาย คราม...ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นพนักงานวัยใกล้เกษียณ คนกลุ่มนี้จะมีผู้คนนับหน้าถือตามากมาย อันเนื่องมาจากประสบการณ์การทำงานอันยาวนานของพวกเขานั่นเอง คนกลุ่มนี้จะเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ จึงเติบโตมาท่ามกลางสภาพบ้านเมืองที่มีทรัพยากรที่จำกัด ทำให้รู้จักคุณค่าของเงิน มักมีคุณลักษณะที่มั่นคงเชื่อใจได้ สู้งานหนัก ใช้จ่ายอย่างรู้คิด และภักดีต่อองค์กรสูง
กลุ่ม Baby Boom : คนที่เกิดช่วงปี 2489 – 2507
หลังสงครามยุติ ประเทศเข้าสู่ความสงบ การรณรงค์คุมกำเนิดยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดพลเมืองตัวน้อย ๆ ขึ้นมากมาย Baby Boom เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกับคนวัยเดียวกันเพื่อให้ได้งาน ยิ่งเมื่อประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ยุคความเป็นอุตสาหกรรม Baby Boom ก็ยิ่งจำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้น เต็มเหยียดวันละ 8 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์
ลูกจ้าง Baby Boom มักเคยชินต่อการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อให้นายจ้างยอมรับในศักยภาพ การจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใหญ่นั้น ต้องใช้เวลาและแรงผลักดันอย่างสูง
กลุ่ม Generation–X : คนที่เกิดช่วงปี 2508 – 2523
Generation–X ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้สำเร็จ ของเล่นสุดฮิตของเด็กรุ่นจึงไม่ใช่ม้าโยก หรือตุ๊กตาหมีอีกต่อไป แต่เป็นวิดีโอเกม เกมกด และ Walkman พวกเขาเติบโตมาในยุครอยต่อของ Analog กับ Digital อยู่ ท่ามกลางเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ ทว่าที่สังคมเปลี่ยนแปลงในทางวัตถุนี้ กลับทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน ความภักดีต่อองค์กรของคนรุ่นนี้จึงคลายลงมาก นำมาสู่การลาออก และเปลี่ยนงานเป็นว่าเล่น
ไม่แปลกที่ชาว Baby Boom ผู้ไม่เคยเกี่ยงที่จะทำโอทีจนดึกดื่น จะอึ้งที่ชาว Generation–X ปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา หรือลาออกไปหางานใหม่หน้าตาเฉยหากไม่พอใจ ทั้งนี้เพราะ Generation–X เชื่อว่างานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต
กลุ่ม Millennium : คนที่เกิดปี 2524 เป็นต้นมา
Millennium คือ กลุ่มคนทำงานหน้าใหม่ไฟแรง แต่ยังอ่อนต่อประสบการณ์ บางคนอาจยังเรียนไม่จบเสียด้วยซ้ำ หรือบางคนมีแผนที่จะเรียนต่อ ชาว Millennium โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการศึกษาที่เริ่มให้ความสำคัญกับการคิดมากกว่าการท่องจำ
ชาว Millennium จะมีพ่อแม่ที่มีความรู้สูง จึงให้การสนับสนุนให้ Millennium ได้เสริมทักษะด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก ฉะนั้น Millennium จึงชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และสนุกกับการทำงานเป็นทีม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และไม่ชอบเงื่อนไข
ในขณะที่ ชาว Generation-X เปลี่ยนงานครั้งที่ 12 เพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงกินเงินเดือนเรือนแสน แต่ชาว Millennium จะลาออกไปเริ่มธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเอง
สลายช่องว่างสร้างความเข้าใจ
เมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า ใครมีค่านิยมในชีวิตอย่างไร ใคร ๆ ก็สามารถสร้างสะพานข้ามช่องว่าง เพื่อข้ามไปหากันได้ สูตรสร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างวัยมีอยู่ 3 ขั้นตอน
1. เข้าใจถึงความแตกต่าง ยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน คนที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติต่อชีวิตไม่เหมือนคุณ เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป
2. ชื่นชมจุดดี แทนที่จะต่อต้าน ให้เราลองมองหาจุดเด่นของคนในแต่ละกลุ่มให้พบ
3. บริหารความแตกต่าง เปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มที่เราต้องทำงานด้วย
ทำงานกับกลุ่มลายคราม
จงให้เกียรติและให้ความเคารพอย่างสูงต่อพวกเขา เมื่อคุณให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติคุณ แล้วถ้าบังเอิญคุณมีตำแหน่งสูงกว่าพวกเขา จงแสดงความชื่นชมต่อเขาในด้านการเป็นเสาหลักขององค์กร และจงรับฟังเมื่อพวกเขาถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต การต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจนผ่านพ้นความยากลำบากมาได้ เพราะสิ่งนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มี และไม่รู้จัก อย่ามองว่า..กลุ่มลายครามคือ หมาล่าเนื้อไม่มีที่ไป แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณนั้น เป็นเพราะพวกเขา เชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และถือความซื่อสัตย์เป็นที่สุด
ทำงานกับกลุ่ม Baby Boom
จงแสดงความนับถือ รับฟัง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Baby Boom แล้วพยายามปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจแค่ไหน หรือคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใด คุณก็ยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะ Baby Boom ให้ความสำคัญต่อหลักการทำงาน ยึดถือวัฒนธรรมองค์กร และเห็นคุณค่าต่อการทำงานอย่างทุ่มเท หากต้องทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งบริหารงานโดย Baby Boom ควรพยายามเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรเสียก่อนว่ามีการเจริญเติบโตมาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ Baby Boom
ทำงานกับกลุ่ม Generation–X
ต้องพูดให้กระชับ ชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะ Generation–X ชอบความตรงไปตรงมา คุณสามารถใช้ Email กลับคนกลุ่มนี้ได้ หากคุณสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย หากเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ควรพูดต่อหน้า เพราะ Generation–X ไม่ชอบถูกบงการ ผู้ใหญ่แค่ให้นโยบายกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด ส่วน Baby Boom ควรลดความคาดหวังต่อ Generation–X ในการทำงานหนักอย่างหนักโดยไม่มีวันหยุด หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ อย่างรุ่นตน เพราะ Generation–X ต้องการชีวิตที่สมดุล ไม่ชอบการอยู่ติดที่
ทำงานกับกลุ่ม Millennium
ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ ๆ Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขา ก็จะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน Millennium ชอบให้คุณแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก
แค่เข้าใจ..ทุกอย่างก็ลงตัว
ที่มา # Adecco Thailand​
พนักงานรุ่นใหม่ในที่นี้ ขอพูดถึงพนักงานออฟฟิศและฝ่ายผลิตทั่วไป ที่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม ไม่นับเด็กอีลิทอินเตอร์ จุฬาฯ หรือ ธรรมศาสตร์
ความคาดหวัง ในฐานะเจ้านาย เราคาดหวังได้หลายอย่างจากเด็กรุ่นใหม่ ทั้งความทุ่มเท ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยเฉพาะความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งอย่างหลังนี้ ผู้เขียนมีความชอบเป็นการส่วนตัว เพราะทำให้พนักงานกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าพูด และ กล้าทำสิ่งที่คิดว่าดีโดยไม่ต้องเกรงใจระบบ หรือ พนักงานรุ่นใหญ่กว่า ที่บางครั้งทำให้การทำงานของบริษัทเราล้าหลัง
การเลือกพนักงาน คุณธนินทร์พูดเสมอ ว่าซีพีประสบความสำเร็จได้ เพราะรู้จักใช้คนทำงานผู้เขียนเห็นความสำคัญของการ casting พนักงานเข้ามาทำงานเป็นอย่างมาก บริษัททุกแห่งจึงควรมี HR ที่มองพนักงานออก หรือ มีผู้บริหารหรือผู้จัดการที่มีความสามารถในการมองคน เข้าใจลักษณะของพนักงาน เพื่อหาบุคลากรที่มีความสามารถพอที่จะพัฒนาบริษัทในยุคที่คุณภาพสำคัญกว่าราคา และ ค่าแรงแพงยิ่งกว่าทองคำ
มาเข้าเรื่องกันเลย การทำงานกับเด็กรุ่นใหม่…
1. เด็กรุ่นใหม่เข้าใจทุกอย่างฉลาดเฉลียวมีไหวพริบและก็เด็กเกินกว่าจะมองเห็นข้อเสียของตัวเอง
พวกเค้าจะไม่คิดว่าการตักเตือนเป็นเรื่องปกติ แต่คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ การเตือนจึงควรทำที่หน้างาน เมื่อเกิดความผิดพลาดให้เตือนขณะนั้นด้วยน้ำเสียงเรียบไม่อธิบายยืดยาวแนะนำว่าควรทำอย่างไรจึงจะดีกว่า แล้วจบด้วยรอยยิ้ม
2. พูดง่าย ๆ ว่าเค้ากล้าเถียง แต่ไม่ชอบถูกว่าถูกเตือน คุณสามารถทดลองได้ด้วยการเตือนเมื่อเค้าทำผิด และดูปฏิกริยาหลังจากนั้น หากมีการหยุดงาน พูดคุยน้อยลง อารมณ์เสียใส่เพื่อนร่วมงาน หรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่เคยทำให้ถูกตำหนิ แสดงว่าพนักงานคนนั้นรับการเตือนไม่ได้ หากคุณเตือนหรือว่าหลาย ๆ ครั้ง ไม่นานเค้าจะลาออก
3.เสริมแรงในด้านที่เค้าถนัดพนักงานวัยรุ่นเหล่านี้ไม่เกี่ยงงานเพิ่ม ต้องเป็นการงานที่เค้ารู้สึกว่าได้ใช้ความสามารถและเค้าทำได้ดี จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้จัดการหรือผู้ประกอบการได้มาก เพราะพวกเค้ามีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ มากกว่าพนักงานอาวุโสที่เคยชินกับการทำงานในกรอบ มากนัก
4. เด็กรุ่นใหม่พูดตรงไม่ได้พูดเผื่อได้ ดังนั้น สิ่งที่เค้าเอ่ยปากกับ HR หรือผู้ใหญ่ ขอให้นำไปพิจารณาอย่างจริงจัง พนักงานที่ทำงานดีมีความรับผิดชอบไม่ได้หาง่าย ๆ ขอให้รักษาไว้ด้วยความรับผิดชอบ และยุติธรรมเช่นกัน
5. ส่วนเด็กรุ่นใหม่ที่ blank blank มีมาก ไม่รู้จักคิด ทำงานให้ผ่านไปวัน ๆ ก็ขอให้ปล่อยผ่านไปไม่จำเป็นแม้แต่จะรอให้พ้นทดลองงาน ไม้สมัยนี้จะอ่อนจะแก่ก็ดัดยากเหมือน ๆ กัน
6. สิ่งที่คาดหวังไม่ได้ คือคาดหวังให้เค้าเป็นเหมือนคนรุ่นก่อน ๆเช่น เคารพผู้ที่อาวุโสกว่า(ด้วยใจจริง) เด็ก ๆ เคารพสิ่งที่เข้าใจได้ว่าทำไมต้องเคารพ สิ่งที่ลึกซึ้งอย่างความอาวุโส จึงเป็นเรื่องยาก อย่าไปคิดเปลี่ยนเค้า เพราะมันยากเกินไป
7. สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ เงิน และ สวัสดิการ ที่ตรงกับความต้องการของพนักงาน เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด
พนักงานสมัยนี้หายากมาก ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่าท่านที่ได้อ่านแล้ว จะได้รับประโยชน์และนำไประสบการณ์ส่วนตัวนี้ไปใช้ได้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ
เมื่อวานนี้เขียนถึงเรื่องราวของปัญหาในการบริหารคนรุ่นใหม่ ที่เรียกกันว่า Gen Y แล้ว วันนี้ก็เลยเอางานวิจัยที่หลายๆ สำนักได้ทำไว้เกี่ยวกับพฤติกรรมของ Gen Y มาให้ดูกัน ว่าเด็กรุ่นนี้ส่วนใหญ่แล้ว เขาต้องการอะไรกันบ้าง เพื่อที่องค์กรจะได้หาแนวทางในการตอบสนองความต้องการให้ทันกับเด็กรุ่นนี้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะบริหารจัดการในเชิงของการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
คุณลักษณะของ Gen Y มีดังนี้
เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก และมีความเป็นตัวเองสูงมาก ไม่ค่อยแคร์คนอื่นเท่าไหร่ อยากทำอะไร หรือไม่อยากทำอะไรก็จะทำตามใจที่ตนเองอยากทำ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิด หรือรู้สึกอย่างไร นี่เองอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาคิดอยากจะมาทำงานก็มา ไม่อยากมา ก็ไม่มา ไม่อยากรับโทรศัพท์ ก็ไม่รับ ฯลฯ ซึ่งก็ทำให้คนทำงานแบบเราๆ รู้สึกไม่ค่อยดีนักเวลาพบกับเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือพูดง่ายๆ ว่าอยากเป็น Manager ตั้งแต่อายุ 25 ปี เวลาเข้าทำงานที่ไหน ก็มองหาแต่ความก้าวหน้า และอยากรู้ว่าตนเองจะสามารถเติบโตไปไหนในองค์กรได้บ้าง ซึ่งถ้าองค์กรไม่สามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้ของเขาได้ เขาก็จะไปอยู่ที่อื่นแทน ที่ที่ทำให้เขาเติบโตได้อย่างรวดเร็วดังใจที่เขาต้องการนั่นเอง
ไม่ชอบกฎระเบียบ มองว่ากฎระเบียบเป็นเรื่องโบราณ การใช้ชีวิตสมัยใหม่นั้น มีแต่ความอิสระ กฎระเบียบที่มีนั้นไม่จำเป็นเลย ก็เลยทำให้ Gen Y ไม่ค่อยชอบทำงานกับองค์กรที่มีกฎระเบียบยุบยับ และขยับตัว หรือจะทำอะไรตามใจตัวเองไม่ได้
ไม่เคารพผู้อาวุโส แต่จะให้ความนับถือกับคนที่เขารู้สึกเป็น Idol หรือ คนที่เขาชื่นชมมากกว่า ดังนั้นการที่ผู้อาวุโสมองว่า Gen Y ไม่มีสัมมาคารวะ หรือไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง นั่นก็เพราะผู้อาวุโสท่านนั้นไม่ได้รับการชื่นชมจากเขานั่นเอง
คุ้นเคยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ Gen Y จะมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาก เพราะเกิดมาก็แวดล้อมด้วย internet เวลาเรียนหนังสือ ก็ใช้ internet เป็นห้องสมุด และมักจะมีเครื่องมือต่างๆ ที่สะท้อนความทันสมัยทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น iphone ipad บางคนก็มีแทบทุกอย่างในตัว เวลาไปไหนมาไหนก็จะถามหาแต่ wifi เพราะต้องการเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา
แล้ว Gen Y ต้องการอะไรในการทำงานบ้าง ก็มีงานวิจัยที่แสดงออกมาให้เราเห็นความต้องการของ Gen Y ดังนี้ครับ
ต้องการค่าตอบแทนที่ดี Gen Y ต้องการค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินมากกว่าพวกสวัสดิการต่างๆ ดังนั้นการที่เราจะดึงดูดและรักษา Gen Y ให้ได้ จะต้องมีระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือนที่เน้น package ไปที่ตัวเงินมากกว่า ค่าตอบแทนประเภทอื่นๆ
ต้องการความอิสระในการทำงาน ดังนั้นการออกแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น จึงสามารถที่จะจูงใจ Gen Y ให้สนใจทำงานได้ดีกว่า การให้เขาทำงานในกรอบที่แน่นอน องค์กรที่ต้องการดึงดูดและรักษา Gen Y ก็มักจะสร้างระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นมากขึ้น มีเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น ไม่ตายตัว
ต้องการความชัดเจนในเรื่องของเส้นทางความก้าวหน้าทางสายอาชีพ ดังนั้นการที่เราจะทำให้ Gen Y อยู่ทำงานกับเราไปนานๆ นั้นองค์กรจะต้องจัดให้มีเรื่องของระบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพอย่างชัดเจน และต้องสื่อสารให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เขามองเห็นว่าตนเองจะสามารถเติบโตไปไหนได้บ้าง ด้วยเงื่อนไขอะไร
ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน เนื่องจากเป็นคนที่ขี้เบื่อก็เลยต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นนโยบายในเรื่องของการโอนย้ายการทำงาน ก็น่าจะเข้ามามีส่วนช่วยได้มาก โดยผูกเรื่องของการโอนย้ายงานกับเรื่องของความก้าวหน้าทางสายอาชีพไว้ ก็จะทำให้เขารู้สึกไม่เบื่อที่จะทำงานในองค์กรเดียวไปนานๆ
ต้องการให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองเป็นคนเก่ง ดังนั้นการที่เราจะรักษา Gen Y ให้ได้นั้น คนที่เป็นหัวหน้าของเขาจะมีความสำคัญมาก ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแบบพี่น้อง มากกว่าแบบเจ้านายกับลูกน้อง Gen Y ชอบที่จะได้รับ Feedback จากหัวหน้าว่าตนเองทำงานได้ดี หรือไม่ดีอย่างไร พร้อมทั้งอยากได้กำลังใจจากหัวหน้าด้วย เหมือนกับเป็นคนขาดความอบอุ่น ถ้าหัวหน้าสามารถให้ความอบอุ่นได้ด้วย เป็นพี่ที่ดีเข้าใจเขา รับฟังเขาอย่างเข้าใจ เราก็จะสามารถซื้อใจ Gen Y ได้ไม่ยาก
สิ่งที่เขียนมานั้นเป็นการสรุปจากงานวิจัย และข้อเขียนต่างๆ ที่ได้เคยอ่าน และเคยประสบมา รวมทั้งจากประสบการณ์ตรงที่มีลูกน้องเป็น Gen Y ก็คงต้องกลับไปพิจารณา และลองทำดูนะครับ และถ้าเราสามารถที่จะหาทางรับมือกับ Gen Y ได้ การทำงานในองค์กรก็จะราบรื่นยิ่งขึ้น และไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับพฤติกรรมที่เราไม่ค่อยชอบใจ ก็ขอให้เราเข้าใจ และปรับตัวเองให้เข้ากับคนรุ่นนี้ได้ ก็จะทำงานด้วยกันได้ไม่ยาก
ที่มา : Casanovee Lady
นิตยสาร Secret ฉบับที่ 28 ปีที่ 2
“ขี้เกียจ เห็นแก่เงิน สมาธิสั้น โลกส่วนตัวสูง...” เหล่านี้เป็นคำซุบซิบเกี่ยวกับมนุษย์งาน เจ็นวาย
(Generation Y หมายถึงคนที่เกิดระหว่างปี 2521 – 2533) ที่มีให้ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆทำให้ผู้บริหารพยายามลดอายุหรือหามาตรการทำให้เรื่อง “งาน” กลายเป็นเรื่อง “เล่น” เพื่อเอาชนะใจพวกเขา แต่ทว่า บรูซ ทุลแกน (Bruce Tulgan) เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลแห่งสหรัฐอเมริกา นักพูด และนักเขียนชื่อดัง ได้เปิดตัวหนังสือ Not Everyone Gets a Trophy บอกเล่าถึงวีธีการบริหารมนุษย์งาน Gen Y ที่พลิกความเชื่อเก่า ๆ ได้หมดจด ถึงขนาดที่ว่ากันว่า นี่เป็นหนังสือเล่มแรกที่ Gen Y ยอมรับว่าเข้าใจพวกเขามากที่สุด ที่สำคัญ หนังสือเล่มนี้ทำให้ผู้บริหารรุ่นเก่าได้รู้ว่า จะบริหารมนุษย์งานที่มีศักยภาพสูงกลุ่มนี้ได้อย่างไร
1 ส่ง Gen Y ขึ้นสู่รันเวย์
Gen Y เป็น คนที่ต้องการความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนรุ่นไหน ๆ พวกเขาพร้อมทำงานหนัก เพื่อเหินฟ้าขึ้นสู่ความสำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่บริษัทต้องการอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารควรทำคือ เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของ Gen Y และพูดคุยตกลงกันตั้งแต่เริ่มแรกในหัวข้อต่อไปนี้
O ต้องทำให้ Gen Y รู้ว่าบริษัทพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งหรือเพิ่มสวัสดิการจากผลงาน มิใช่เส้นสาย ประวัติชีวิต ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขอื่น ควรแจ้งให้เขารู้เพื่อที่เขาจะได้เตรียมปรับปรุงตัวเอง
O ต้องทำให้ Gen Y ควบคุมตารางงานของตัวเองได้ โดยบอกเส้นตายและหลักในการพิจารณาที่ชัดเจน
O ต้องยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงาน เช่น ปล่อยให้เขาจัดโต๊ะทำงาน เล่นอินเทอร์เน็ต เปิดเพลงเบา ๆ เข้างานสาย หรือแม้แต่ทำงานที่บ้านได้ ตราบใดที่ผลงานยังคงยอดเยี่ยม
O ต้องเติมความรู้ให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่ Gen Y กลัวมากที่สุด คือ ความล้าสมัย บริษัทจึงควรเตรียมคอร์สอบรมหรือเน้นย้ำให้เพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ถ่ายทอดวิชาให้
O ต้องทำให้ Gen Y เข้าถึงตัวบอสใหญ่หรือคนที่มีอำนาจในการแก้ปัญหาได้ เพราะ Gen Y ต้องการคำตอบที่แก้ปัญหาได้จริงและทันท่วงที
O ต้องให้เครดิต เพราะ Gen Y เชื่อว่า ความสำเร็จแต่ละอย่างคือขั้นบันไดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่า Gen Y ไม่แคร์ว่าบันไดนี้จะทอดยาวขนาดไหน แต่พวกเขาต้องการให้มีคนเห็นว่าพวกเขาง่วนอยู่กับการก่อขั้นบันไดตลอดเวลา
O ต้องให้อำนาจแก่ Gen Y เต็มร้อย เรื่อง ใดที่อยู่ในขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกน้อง เจ้านายต้องให้อำนาจแก่พวกเขาเต็มที่ เพื่อให้พวกเขาควบคุมความสวยสดงดงามของผลงานได้อย่างแท้จริง
O ต้องให้ Gen Y มีอิสระภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ไม่จำเป็นต้องทุกเรื่อง เรื่องใดที่เขาไม่มีสิทธิ์ เจ้านายควรบอกให้ชัดเจนด้วย
2 สอนงานอย่างเร่งด่วน
จากการวิจัย Gen Y มากว่า 20 ปี ทุลแกน ยืนยันว่า Gen Y เป็นคนที่มีความกระตือรือร้นสูงลิบ หัวหน้างาน ควรสอนงานและบอกเล่าสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานให้ Gen Y เข้าใจอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้เขาทำงานของตัวเองได้โดยลำพัง เพราะถ้าหัวหน้างานอ้างว่า “ไม่มีเวลาสอน” พวกเขาจะโต้กลับทันทีว่า “การที่คุณไม่สอนต่างหากที่ทำให้ฉันเสียเวลา”
3 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร
ทุลแกน เรียกบรรยากาศนี้ว่า Loco Parentis หมายถึง บรรยากาศ ของความห่วงใยที่ผู้ใหญ่มีให้คนที่อ่อนวัยวุฒิกว่า หัวหน้างานควรเข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของลูกน้องแต่ละคน คุณอาจเริ่มให้ความใส่ใจพวกเขาด้วยการทักทายกันเมื่อพบหน้า และจบบทสนทนาด้วยคำแนะนำที่มีประโยชน์ ให้ความจริงใจ อีกทั้งต้องพูดคุยปรึกษากับพวกเขา หรือตั้งรางวัลพิเศษสำหรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง
4 แก้ปัญหาการปรับตัว
ปัญหาที่ Gen Y มักพบในที่ทำงานคือ การปรับตัว เนื่องจาก Gen Y จะใช้ ความเป็นเพื่อนในการปฏิสัมพันธ์กับคน และไม่สนใจลำดับขั้นหรือสายการบังคับบัญชา ดังนั้นเจ้า นายจึงควรสอนวิธีการปรับตัวและวิธีเอาตัวรอดในที่ทำงานให้พวกเขา เริ่มตั้งแต่การพิจารณาบทบาทและหน้าที่ของตนเอง การทำงานร่วมกับคนอื่น การแก้ปัญหาโดยไม่ต่อสายตรงถึงเจ้านายของเจ้านายในทันทีทันใด แต่ให้มีการเปิดประชุมย่อยที่มีเขา มีคุณ และบอสของคุณเข้าร่วมด้วย เป็นต้น
5 ปลูกฝังการบริการ
ประโยคเด็ดที่หัวหน้างานควรบอกลูกน้อง Gen Y คือ “ในที่ทำงานนั้น นอกจากตัวเองแล้ว ให้ถือว่าคนอื่นเป็นลูกค้า” วิธีนี้นอกจากจะสามารถเอาชนะใจลูกค้า ซึ่งเป็นคนที่สำคัญที่สุดสำหรับบริษัท (แต่ Gen Y มักมองไม่เห็น) แล้วยังทำให้พวกเขาสามารถแก้ปัญหาการปรับตัวในที่ทำงานอย่างได้ผลด้วย
6 สอนวิธีบริหารตัวเอง
Gen Y ชอบผนวกไลฟ์สไตล์เข้ากับชีวิตการทำงาน และมักมีปัญหาด้านการบริหารเวลา ทุลแกน จึงสรุปว่า “ของ ขวัญที่ดีที่สุดที่หัวหน้างานจะให้ได้คือ การสอนให้เขารู้จักแยกแยะสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ออกจากกัน อีกทั้งต้องสอนวิธีกำจัดการใช้เวลาอย่างไร้ประโยชน์ออกไป” เช่น สอนการวางแผน การทำเช็คลิสต์ การประเมินตนเอง การตัดสินใจ โดยใช้เหตุผลรอบด้าน ฯลฯ
7 เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง
ลูกน้อง Gen Y ของคุณควรรู้ว่าเขากำลังทำงานอยู่ภายใต้หัวหน้างานที่
O โปร่งใส อย่าบ่นว่าทำไมลูกน้องไม่ทำสิ่งที่ควรทำ แต่ให้บอกพวกเขาไปตรงๆ ว่าคุณต้องการอะไรบ้าง
O เด็ดขาด เมื่อออกกฎใดๆ มาแล้ว คุณต้องรักษากฎอย่างเคร่งครัด ไม่ลำเอียง และจำไว้ว่า การเชิญพนักงานที่ไม่เอาไหนออกหนึ่งคน จะทำให้พนักงานที่เหลืออยู่ขยันมากขึ้นทันตาเห็น
O โฟกัสที่วิธีการแก้ปัญหา ไม่ใช่ที่ตัวปัญหา
8 เก็บรักษาลูกน้องคนเก่ง
Gen Y มักโดนค่อนขอดว่า “เปลี่ยนงานบ่อย” แต่ หารู้ไม่ว่าพวกเขาจะลาออกก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าทำงานแล้วไม่มีความสุข หรือทำงานหนักไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นต่างหาก ดังนั้นถ้าหัวหน้างานไม่อยากปล่อยให้พนักงานเก่ง ๆ หลุดมือไป ควรหาวิธีเก็บพวกเขาไว้ด้วยการหาช่องทางหรือโอกาสใหม่ๆ ในการทำงานเพื่อดึงดูดคนพวกนี้ไว้ เป็นการเพิ่มผลประโยชน์แก่บริษัท ในขณะเดียวกับที่ได้เพิ่มผลประโยชน์ให้พนักงานด้วย
9 ปั้นดาวดวงต่อไป
คุณควรส่งเสริมลูกน้องที่มีแววอย่างสุดตัว โดยมอบหน้าที่ด้านการบริหารและอำนาจที่แท้จริง อีกทั้งต้องทำให้ผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ทราบว่า เขา หรือ เธอ คือคนเก่งของคุณ นอกจากนี้คุณควรให้เวลาดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และหมั่นปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
ไม่ว่า Gen Y จะทำให้บรรดาหัวหน้างานลำบากใจแค่ไหนก็ตาม แต่เราอย่าลืมว่า คนรุ่นนี้คือ หัวหน้างาน เจ้านาย หรือ บอส ซึ่งจะขับเคลื่อนสังคมรุ่นต่อไปนั่นเอง และ.... คนไฟแรงอย่างพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากผู้นำที่เข้มแข็งและใส่ใจเช่น “คุณ”
ความเชื่อที่ดูเหมือนใช่ : Gen Y ไม่เห็นแก่หัวหงอกหัวดำ
ความจริง : ไม่มีคนรุ่นไหนอีกแล้วที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเท่ากับGen Y จึง เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะไม่เคารพผู้ใหญ่ อย่างไรก็ดี พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ต่างให้ความชื่นชมและเห็นความสำคัญของพวกเขามาก ดังนั้นผู้บริหารรุ่นเก๋า จึงไม่ควรมองข้ามความเห็นของพวกเขา ด้วยเหตุผลเพียงว่าพวกเขาผ่านโลกมาน้อยกว่า
ที่มา # นิตยสาร Secret เล่มที่ 28 ปีที่ 2
โฆษณา