10 เม.ย. 2019 เวลา 03:01 • การศึกษา
สัมพัทธภาพแห่งความสำเร็จ The Relativity Of Success
ก่อนอื่นขอกล่าวถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (General Theory of Relativity) ซึ่งส่วนมากก็เข้าใจผิดและพูดผิด เป็น สัมพันธภาพ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับความสำเร็จ?
ความสัมพันธ์ (Relation) ก็หมายถึงความเกี่ยวข้องของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่นความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อน พ่อกับแม่ ยายกับหลาน ในบริบทที่คนปกติเข้าใจได้
ส่วนสัมพัทธภาพ (Relativity) หมายถึงการที่เราเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเข้าด้วยกัน
เช่น e=mc2 เป็นการสัมพัทธะ กันระหว่าง พลังงาน มวล และความเร็วแสง ซึ่งเชิงลึกผมไม่ขออธิบายนะครับ (เพราะผมเองก็ไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์)
1
ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องความสัมพัทธะ เพื่อจะนำเข้าสู่สิ่งที่หลายๆคนอาจเห็นว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่จริงๆแล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งไอน์สไตน์ เป็นผู้เปิดมิติที่ชื่อว่า “เวลา” เกี่ยวเนื่องด้วยความเร็วของแสงเป็นตัวสัมพัทธ์กับทุกสิ่งในจักรวาล เพราะแสงเคลื่อนที่เร็วที่สุดในเชิงกายภาพ แต่สิ่งๆหนึ่งที่ ไอน์สไตน์เองก็ยอมรับ ในความเชื่อและหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ว่าสิ่งที่เร็วที่สุดในเอกภพไม่ใช่มีเพียงแสง แต่เป็น “จิตและความคิด” ต่างหาก “จนถึงขั้นกล่าวว่าหากจะมีศาสนาใดที่ข้าพเจ้าเลือกเชื่อถือและศรัทธา ข้าพเจ้าของเลือกศาสนาแห่งจักรวาล” ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพ นี่เองทำให้เราสามารถอธิบายสิ่งที่ไม่เคยอธิบายได้มาก่อน
ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่พบในชีวิตประจำวัน
เคยรู้สึกไหม ว่าช่วงเวลาแห่งความสุขมันช่างผ่านไปรวดเร็ว ส่วนความทุกข์และความอึดอัดนั้นอยู่กับเรานาน นั่นคือจิตใจและความรู้สึกเรา เข้าไปสัมพัทธกับความสุขและความทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่าธรรมชาติของความรู้สึกและความจำคนนั้น เลือกจำสิ่งที่แย่ ลืมสิ่งที่ดี มีแฟนคบกันมาบอกรักกันทุกวัน พอทะเลาะกันวันเดียว สิ่งที่ดีๆลืมไปเสียหมดเลือกจำแต่คำว่า “มึงด่ากู” จำคำนี้ลืมคำนั้น ลืมคำว่ารัก ซึ่งความทุกข์นั้นฝังในความทรงจำได้ดีแพร่กระจายได้รวดเร็ว บางคน จำจนวันตาย
เวลาของแต่ละคน ไม่เท่ากัน
ทฤษฎีสัมพัทธภาพยังกล่าวถึงเรื่องเวลาอีกด้วย “หากเราเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เวลาของเขาจะช้าลงจนแทบหยุดนิ่ง เช่นหากมีคนสองคน อายุเท่ากัน คนหนึ่งออกเดินทางออกจากโลกด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง อีกคนบนโลก หากคนบนยานมองลงมาเห็นคนบนโลก จะพบว่าคนบนโลกนั้นแก่แล้วในขณะที่ตัวเขารู้สึกว่าเวลาผ่านไปแค่ไม่กี่วันและเขาไม่ได้แก่ลงเลย
เรื่องนี้ก็อธิบายเรื่องปาฏิหาริย์หลายๆอย่างบนโลกได้ รวมทั้งชีวิตประจำวันของคนด้วยเช่นกัน คนหนึ่ง รู้สึกว่าวันแต่ละวันมันผ่านไปอย่างช้าเหลือเกิน เพราะชีวิตเขาไม่ได้สัมพัทธ์กับสิ่งอื่นมาก คือว่างนั่นเอง วันๆตื่นมากินข้าวเล่นเกมส์ฟังเพลงเที่ยวเตร่ ส่วนอีกคนอยากให้วันนึงมีซัก 25-26 ชั่วโมงเพื่อจะได้ทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะจิตใจเขาสัมพัทธ์กับหน้าที่ การงาน ความสำเร็จ ภารกิจ เวลาสำหรับเขา สัมพัทธ์ไปกับเรื่องที่ต้องทำมากกว่า คนที่คิดว่าวันนี้จะทำอะไรดี
พลังงานไม่มีทางหายไปจากเอกภพ แต่ถูกเปลี่ยนไปด้วยความสัมพัทธะ จากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง ซึ่งสองอย่างอาจไม่เกี่ยวข้องกันในเชิงกายภาพเลย
สิ่งที่เราทำในแต่ละวันก็เช่นกัน หากเราคิดว่าเราทำอะไรแล้วรู้สึกสูญเปล่า หรือเราทำชั่วแล้วไม่เห็นได้รับผลของความชั่วนั้น ทำดีไม่เห็นได้ดี แสดงว่าเรากำลังเข้าใจผิดเสียแล้ว
บางคนคิดว่าเราตั้งใจทำงานมากทุ่มเทมาก ทำไมเรายังไม่รวยซะที ความเป็นจริงความขยันและความตั้งใจ อาจยังไม่สัมพัทธกับเงินทองและฐานะในทันทีแต่อาจไป สัมพัทธกับความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยและเพื่อนร่วมงานของเรา อาจจะมาร่วมงานกับเราในอนาคตและประสบผลสำเร็จตอนนั้นก็ได้ หรือแม้กระทั่งเส้นทางที่เราเลือกเดินมันไม่ได้สัมพัทธะ กับความสัมเร็จของเรา แต่ดันไปสัมพัทธะกับความสำเร็จของคนอื่น อันนี้น่าคิด
แค่เพียงเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้นไม่มีวันหายไปจากโลกนี้ มันแค่กำลังก่อปฏิกริยากับส่วนประกอบของชีวิตเราที่ละน้อยจนบางครั้งเราแทบไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงต่างหาก เพราะฉะนั้นหากวันนี้เรายังไม่ประสบความสำเร็จ ก็ขอให้อย่างน้อยเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำในวันนี้ มันเป็นประโยชน์และสัมพัทธะกับตัวเราเองในอนาคตก็พอ
การทำความชั่วก็เช่นกัน บางคนเราเห็นว่าเขาทำชั่วมามากมาย แต่ไม่เห็นได้รับการลงโทษ ความชั่วเขาสูญเปล่า นั่นเพราะเราไปคาดหวังให้ความชั่วสัมพัทธกับสิ่งที่เราอยากให้เขารับกรรมในแบบของเรา แต่ปัจจัยชั่วของเขาอาจส่งผลแล้วในทางจิตใจหรือชีวิตของเขาในรูปแบบอื่นก็ได้ แม้ยังไม่ส่งผลตอนนี้ ก็อาจส่งผลไปยังอนาคต ไม่ส่งที่เขา ก็อาจส่งถึงครอบครัวเขาก็เป็นได้ เขาอาจไม่ตายหรือวอดวาย แต่รับความทุกข์ที่ไม่มีอาจลืมในจิตใจขนาดที่ว่าให้ฉันตายเสียดีกว่า ก็ยังมีให้เห็น
พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องกฎแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องลึกลับ เกื้อหนุนกันอย่างกลมเกลียวจนยากเกินสติปัญญาคนธรรมดาจะเข้าใจ พระองค์ทรงไม่ตรัสสอนและอธิบายถึงกฎเกณฑ์เชิงทฤษฏี บอกเพียงแต่ว่ากรรมนั้นส่งผลให้แก่คนนั้น เพราะเหตุนั้นเขาจึงมีชีวิตเช่นนี้ แต่ทรงสอนให้เราน้อมทำส่วนของตัวเองให้ดี ให้ละชั่ว ทำดี และทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นแก่ใจ มากกว่าจะไปเพ่งโทษมองคนอื่นว่าผิดหรือถูก ทรงเน้นเรื่องการสร้างเหตุ มากกว่าให้ร้องขอแต่ผล
ผมเชื่อเหลือเกินว่าในขณะที่เรากำลังอ่านบทความนี้อยู่ ลึกๆตัวเราเองต้องการความสำเร็จในชีวิต น้องๆบางคนอยากเป็นหมอ ก็ตั้งใจอ่านหนังสือตังใจเรียน มันไม่ได้หมายความว่าทำวันนี้แล้วพรุ่งนี้เป็นหมอได้เลย หรือลงทุนวันนี้พรุ่งนี้รวยเลย มันไม่มีอะไรเร็วดั่งใจของเราหรอกครับ เพราะใจเรามันเร็วที่สุด ดังนั้นให้เวลาสิ่งที่เป็นกายภาพทำงานบ้าง
ความสม่ำเสมอเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ
โปรดจำไว้ว่าในโลกนี้หมดยุคคนฉลาดแต่ขี้เกียจแล้ว แต่มันเป็นยุคของคนฉลาดและอึดที่สุดต่างหาก ที่ประสบความสำเร็จ วันนี้เราอ่านหนังสือเพื่อทำข้อสอบในวันพรุ่งนี้ ผลคือเราได้คะแนนสูงในวิชานั้นแล้วเราก็ทิ้งมันไป เลิกอ่านแล้ว เพราะได้เกรดแล้ว กับอีกคนได้คะแนนไม่สูงหรอกแต่กลับบ้านมานั่งอ่านนั่งเรียนซ้ำจนตัวเองรู้ว่าตรงไหนที่เราผิดพลาด คำถามคือสองคนนี้ใครจะเป็นคนประสบความสำเร็จก่อนกัน ..เลือกครับ?
เคยเล่นเกมส์ออนไลน์ไหมครับ (ตอนเด็กๆผมเล่นบ่อย) คนที่เก่งที่สุดคือใครครับ ไม่ใช่พวกที่ปั๊มเวลตันตั้งแต่เดือนแรก เติมเงินไม่ยั้ง อัดออฟชั่นสุดๆในช่วงพีคของเกมส์ สักพักพวกคนเหล่านั้นก็จะหายไปตามสำนวน มาเร็วไปเร็ว แต่คนที่เล่นวันละนิดวันละหน่อยอย่างสม่ำเสมอ ไม่เลิกไปเสียก่อนต่างหาก ที่เป็นเทพตัวจริง อยู่ยาวๆนั่นแหละของจริง
เส้นทางความฝันและความสำเร็จ ก็เช่นเดียวกัน ใครเลิกก่อนเป็นผู้แพ้!!
สุดท้ายนี้ขอให้กำลังใจทุกๆคนว่า สิ่งดีๆที่เราทำ ความมีน้ำใจ ความกตัญญู ความขยัน อดทน สม่ำเสมอ รักการเรียนรู้ และการเป็นผู้ให้ ฯลฯ ของเรา มันอาจยังมองไม่เห็นเค้าของความสำเร็จเลย แต่ขอให้จงเชื่อมั่น ว่าสิ่งดีๆที่เราได้ทำในวันนี้ มันได้สัมพัทธภาพกับความสำเร็จของเราในอนาคต เรียบร้อยแล้ว
โฆษณา