11 เม.ย. 2019 เวลา 11:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภาพหลุมดำครั้งเเรกในประวัติศาสตร์
เมื่อ​ประมาณ​ 230 กว่าปีก่อน​ มีผู้ให้เเนวคิด​ ดวงดาวที่มีมวลมาก มีความโน้มถ่วงสูงมากจนเเสงจากตัวมันไม่สามารถส่องออกมาได้​ บ่อยครั้งที่เเนวคิดนี้ถูกหัวเราะเยาะกลายเป็นเรื่องขำขัน​ ว่าจะมีดาวประหลาดเช่นนั้นได้อย่างไร​ มันผิดธรรมชาติ​ หากมีจริงมันคงเป็นดาวที่มืดสนิดจนมองไม่เห็น ในศตวรรษ​นั้นมีการเรียกขาน​วัตถุชนิดนี้ว่า​ "ดาวมืด" (Dark Stars)​
จนกระทั่ง​ประมาณ​ 180​ ปีต่อมา​ เทคโนโลยี​ได้ก้าวไปอีกขั้น​ สามารถ​พิสูจน์​ได้ว่า​หลุมดำมีจริงในจักรวาล​ ซึ่งนั่นได้เปลี่ยนมุมมองของเหล่านักวิทยา​ศาสตร์​ในหลายสาขาไปอย่างสิ้นเชิง​ ถึงการมีตัวตนอยู่ของหลุมดำ​ เเม้จะพิสูจน์​ได้ว่าหลุมดำมีจริง​ เเต่ก็ยังไม่สามารถ​ถ่ายภาพวัตถุชนิดนี้ได้​
ที่ผ่านมาเหล่านักวิทยา​ศาสตร์​มีความพยายามในการสร้างภาพเเบบจำลองของหลุมดำขึ้น​ด้วยคอมพิวเตอร์​ จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา​เเละสมการ​ต่างๆบวกเข้าด้วยกัน​ โดยเฉพาะ​ทฤษฎี​สัมพัทธภาพ​ทั่วไปของ​ไอน์สไตน์ ทำให้ได้ภาพจำลองของหลุมดำว่ามีลักษณะ​เป็นเช่นไร
ในวันนี้เทคโนโลยีประสบความสําเร็จ​ไปอีกขั้นหนึ่ง​ เรามีภาพถ่ายของหลุมดำจริงๆเเล้ว​ ที่ไม่ใช่ภาพจำลอง​อีกต่อไป จากความอุตสาหะ​ในความพยายามถ่ายภาพหลุมดำมาเป็นเวลานานหลายสิบปี​ 2 ปีสุดท้าย ก่อนถึงวันที่ 10 เมษายน 2562 บัดนี้ความพยายามนั้นได้ปรากฏ​ต่อสายตายชาวโลกเเล้วเมื่อคืนวันที่​วันพุธที่ 10​ เมษายน ที่ผ่านมา กับภาพถ่ายจริงของหลุมดำ
ความสำเร็จการถ่ายภาพหลุมดำในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง​ 13​ ประเทศ​ เเละกล้องโทรทรรศน์​วิทยุ​อีก​ 8​ เเห่ง​ จนได้ภาพเเรกของหลุมดำในที่สุด​ จากเป็นเพียงเเนวคิดที่ถูกขำ​ กลายเป็นเรื่องจริง​ จากเรื่องจริง วันนี้ได้เห็นภาพจริงของหลุมดำเเล้ว​ วัตถุประหลาดที่ลึกลับทรงพลังเเละเข้าใจยากที่สุดในจักรวาล
อ่านบทความ​ง่ายๆเเบบเต็มๆได้ในบันทึก👇🏼​https://www.facebook.com/notes/thongwan-chaiwong/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/2171697812878030/
ภาพจริงของหลุมดำ / ภาพจากโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ กล้องโทรทรรศน์วิทยุอีเวนต์ฮอไรซัน (EHT)
จากภาพถ่ายหลุมดำที่เห็น ตรงกลางสีดำ คือตัวหลุมดำ เเละรอบๆมีสีส้มเเดง เป็นบริเวณที่เรียกว่า "จานพอกพูนมวล" คือมวลสารหรือก๊าซต่างๆที่ถูกเเรงดึงดูดของหลุมดำดึงไว้อยู่รอบๆ เกิดการหมุนวนด้วยความเร็วสูง มวลสารเสียดสีจนเกิดความร้อนเเล้วเเผ่รังสีพลังงานสูงออกมา เกิดการเปร่งเเสง ก่อนทุกอย่างจะถูกเเรงของหลุมดำดูดกลืนหายเข้าไป เว้นพื้นที่ดำมืดไว้ไร้เเสงใดเล็ดลอดออกมา นั่นจึงทำให้สามารถเห็นลักษณะภายนอกรอบๆที่เเท้จริงของหลุมดำได้
กาเเล็กซี่ M87 / ภาพจาก องค์การนาซ่าและทีมฮับเบิล (์NASA) เเสดงถึงความปั่นป่วนรุนเเรง เเละลำของไอพ่นพลาสม่า
ภาพถ่ายหลุมดำในครั้งนี้​ เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดในใจกลางกาเเล็กซี่ Messier 87 (M87) อยู่ห่างออกไป 55 ล้านปีเเสง ในกลุ่มดาวหญิงสาว ตัวหลุมดำมีมวล 6.5 พันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (ลองจินตนาการถึง ดวงอาทิตย์ 6,500 ล้านดวงอัดเเน่นรวมกันเป็นดวงเดียว) ความใหญ่โตของหลุมดำเเห่งนี้มีขนาดประมาณ 40,000 ล้านกิโลเมตร
ภาพประกอบเพื่อความเข้าใจ จากหนังสือ THE SCIENCE OF INTERSTELLAR
ขยายความเพิ่มเติมในส่วนของหลุมดำ
อันที่จริงเเล้ว หลุมดำไม่ได้มีลักษณะเป็นหลุมดั่งชื่อ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "เเบล็คโฮว" (Black​ hole) ความจริงเเล้วหลุมดำมีลักษณะเป็นทรงกลมเหมือนดาวดวงหนึ่ง ที่มีเเรงโน้มถ่วงสูงมากเป็นอนันต์ ไม่มีเเสงส่องออกมาเหมือนกับดาวฤกษ์ทั่วไป หรือต่อให้หลุมดำมีเเสง เเสงภายในหลุมดำก็ไม่อาจส่องออกมาให้เห็นได้ ด้วยเเรงโน้มถ่วงมหาศาลที่เเม้เเต่ความเร็วของเเสงยังไม่อาจเอาชนะความโน้มถ่วงของหลุมดำได้
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังถือไฟฉายเเล้วเข้าไปอยู่ในหลุมดำ จากนั้นคุณเปิดเเสงไฟฉายส่องออกมาจากหลุมดำ เเต่ผู้ที่สังเกตอยู่ภายนอกหลุมดำจะมองไม่เห็นเเสงจากไฟฉายของคุณเล็ดลอดออกมาเลยเเม้เเต่น้อย สิ่งที่ผู้สักเกตการณ์ที่อยู่ภายนอกจะเห็นคือมีเพียงสีดำมืด ในขณะที่ตัวคุณซึ่งอยู่ภายในหลุมดำที่กำลังส่องไฟฉายอยู่นั้น ลำเเสงของไฟฉายจะตกวกกลับลงมาด้วยเเรงโน้มถ่วงของหลุมดำ กล่าวคือลำเเสงจากกระบอกไฟฉายไม่สามารถวิ่งหนีพ้นออกมาจากขอบเขตที่เรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์” ได
ภาพประกอบเพื่อความเข้าใจจากหนังสือ THE SCIENCE OF INTERSTELLAR
เเต่ถ้าหากคุณอยู่ภายในหลุมดำที่ยังไม่พ้นเข้าเขตขอบฟ้าเหตุการณ์ ลำเเสงจากไฟฉายของคุณ จะถูกเบี่ยงเบนออกไปกับกาลอวกาศที่บิดโค้งอย่างรุนเเรงด้วยเเรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของหลุมดำ สิ่งที่ผู้สังเกตภายนอกจะเห็นคือ เเสงที่กำลังบิดโค้งเเละใหลอยู่บริเวณรอบๆหลุมดำ
เเละในความเข้าใจผิดอีกข้อหนึ่ง หลุมดำไม่ได้เเบนเป็นรูปวงกลมหรือครึ่งวงกลมเเต่อย่างใด สิ่งที่เห็นจากภายนอกหรือจากผู้สักเกตที่กำลังมองอยู่ ภาพที่เห็นเป็นผลจากความโน้มถ่วงของหลุมดำที่บิดเบือนกาลอวกาศบริเวณโดยรอบ คล้ายกับปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “เลนส์ความโน้มถ่วง”
สมมุติให้กล้องคือผู้สังเกตที่อยู่ภายนอกหลุมดำ สีเหลืองคือจานพอกพูนมวลที่วนรอบหลุมดำ สีเเดงคือเเสงที่บิดโค้งจากการโค้งงอของอวกาศรอบหลุมดำ
ภาพประกอบเพื่อความเข้าใจ​ จากหนังสือ​ THE​ SCIENCE​ OF​ INTERSTELLAR​
ลักษณะที่ผู้สังเกตเห็นไม่ว่าจะมองในมุมใด ก็จะเป็นดั่งภาพนี้​ ทำให้รู้สึกว่าหลุมดำมีลักษณะ​เเบนเเล้วเป็นหลุมยุบ​ ซึ่งความจริงหลุมดำมีลักษณะ​เป็นดวง​รูปทรงกลม
(ภาพจำลองเเสดงการบิดโค้งงอของอวกาศรอบหลุมดำ)
จะสังเกตเห็นได้ว่า ภาพหลุมดำของจริงที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุในครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับพวกภาพจำลองทางคอมพิวเตอร์อยู่มาก นั่นหมายความว่า เเบบจำลองที่เกิดจากข้อมูลร่วมกับสมการ ผลที่ได้ออกมามีความเเม่นยำพอสมควรใกล้เคียงกับความเป็นจริง ที่สามารถบอกถึงลักษณะของวัตถุที่มองเห็นได้ยากอย่างหลุมดำได้
อีกทั้งความสำเร็จในครั้งนี้ ยิ่งทำให้ทฤษฎีของไอน์สไตน์มีความหนักเเน่นมากขึ้นไปอีก ในเรื่องของเวลาเเละอวกาศหรือที่เรียกว่า “กาลอวกาศ” (Spacetime) ชื่อของผู้ชายคนนี้ไม่เคยตายไปจากวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์เลยจริงๆ มิหนำซ้ำทฤษฎีของเค้ายังถูกพิสูจน์ว่าเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ เเม้ตัวผู้ให้ทฤษฎีจะลาโลกไปนานเเล้วก็ตาม
(ภาพสองพี่น้องใช้เครื่องร่อนที่ร่วมกันประดิษฐ์ขึ้นhttps://southernboating.com/destinations/us-atlantic/flight-anniversary/)
หากถามว่า "ศึกษาหลุมดำเเล้วได้ประโยชน์อะไร?" ถ้าให้ตอบตอนนี้บอกได้คำเดียวว่า "ไม่รู้" เเต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคำตอบ
เมื่อ 116 ปีก่อน ชายสองพี่น้องตะกูลไรต์ชาวอเมริกาคู่หนึ่ง พยายามสร้างเครื่องร่อนที่คนสามารถขึ้นไปนั่งได้ เค้าถูกมองว่าเพ้อเจ้อวันๆทำเเต่เรื่องไร้สาระ ลองดูทุกวันนี้ เครื่องบินกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไปยังที่ต่างๆทั่วทุกมุมโลก ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จากเดิมในอดีตที่ต้องเดินทางผ่านเรือข้ามมหาสมุทรกินเวลาเเรมเดือนกว่าจะถึงเป้าหมาย นั่นคือสิ่งที่สองพี่น้องร่วมกันสร้างเครื่องร่อนจนสำเร็จ เเม้คนในยุคนั้นยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะถูกนำมาพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นเครื่องบินในปัจจุบัน หลุมดำก็เช่นกัน อาจยังไม่มีคำตอบที่ดีพอสำหรับวันนี้ เเต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันจะไร้ประโยชน์สำหรับอนาคต วันนี้เราเพิ่งจะได้เห็นภาพเเรกของหลุมดำ ที่อาจดูพร่ามัวบ้าง เเต่ในอนาคตอันไกล มีความหวังว่าจะได้ภาพหลุมดำที่มีความคมชัดมากขึ้น เเละจงเชื่อเถอะว่า การสำรวจศึกษาเเละการค้นพบอะไรใหม่ๆในจักรวาล การลงทุนลงเเรงไปกับเทคโนโลยีด้านอวกาศ ไม่มีอะไรสูญเปล่า เเม้บางอย่างต้องเเลกมาด้วยความสูญเสีย ก่อนที่มนุษย์คนเเรกของโลกจะเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ได้
โฆษณา