20 เม.ย. 2019 เวลา 02:42 • การศึกษา
ภาวะอุณหภูมิสูงในแมวไม่ใช่เรื่องตลก!
ชื่อโรค ฮีทสโตรค (heat stroke) ในแมว
นอกจากชื่อเสียงเรื่องการเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย แมวไม่ได้ทนต่อความร้อนไปได้มากกว่ามนุษย์ แมวจะระบายความร้อนด้วยการหอบและมีต่อมเหงื่อเพียงแค่บริเวณแผ่นรองเท้าเท่านั้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นแมวจะทรมาณจากความเหนื่อยล้าและเกิดฮีทสโตรคตามมา หากไม่ลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยเร็ว อวัยวะภายในจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงและส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด
สิ่งที่ต้องสังเกต
อาการเบื้องต้นที่พบทั่วไปในแมวที่มีความเครียดจากความร้อน ได้แก่
พฤติกรรมกระวนกระวาย พยายามหาที่เย็น
หอบ เหงื่ออกที่อุ้งเท้า และพยายามเลียขนมากกว่าปกติเพื่อระบายความร้อน
อุณหภูมิร่างกายที่วัดได้จะอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
และเมื่ออุณหภูมิร่างกายของแมวเริ่มสูงขึ้น อาการของความล้าจากความร้อนจะเริ่มแสดงให้เห็น ได้แก่
ชีพจรเต้นเร็วและหายใจเร็ว
ลิ้นและปากแดง
อาเจียน
อ่อนเพลีย
เดินโซเซ
อุณหภุมิร่างกายที่วัดได้มากกว่า 105°F
หลังจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้แมวหมดสติและอาจมีอาการชักจนเข้าสู่ภาวะโคม่า
สาเหตุหลัก
อุณหภูมิแวดล้อมที่สูงเกินไป โดยความชื้นมากหรือไม่มาก และไม่มีบริเวณที่เย็นและร่ม หรือไม่มีน้ำอยู่ในบริเวณ
การดูแลเบื้องต้น
หากแมวหมดสติในสิ่งแวดล้อมที่มีความร้อนสูง จุ่มแมวให้เปียกทั้งตัวด้วยน้ำเย็น (แต่ต้องไม่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง) ระวังอย่าให้น้ำเข้าจมูกหรือปาก วางถุงน้ำแข็งระหว่างขาและพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
หากแมวยังมีสติแต่แสดงอาการของความเหนื่อยล้าจากความร้อน ให้พาแมวไปที่ ๆ เย็นทันที ทำให้ตัวเปียกและให้ดื่มน้ำเท่าทีต้องการ แล้วพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
หากแมวเริ่มแสดงความเครียดจากความร้อน พาไปอยู่ในที่เย็น เงียบ และมีน้ำเพียงพอสำหรับดื่ม
หากคุณสามารถวัดไข้แมวของตัวเองได้อย่างปลอดภัย ให้วัดไข้
100°-103°F เป็นอุณหภูมิปกติถึงสูงเล็กน้อย
103°-104°F อุณหภูมิเริ่มสูงและควรได้รับการประเมินจากสัตวแพทย์
มากกว่า 105°F เป็นอันตรายต่อชีวิตจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันที
การดูแลโดยสัตวแพทย์
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำได้โดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย (มากกว่า 105°F) ร่วมกับมีประวัติอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศร้อนและมีอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น สัตวแพทย์จะต้องทำการประมินเพื่อให้มั่นใจว่าแมวไม่ได้มีไข้จากการติดเชื้อ
การรักษา
นอกจากให้ใช้น้ำเย็นและน้ำแข็งแบบที่กล่าวไป สัตวแพทย์จะทำการเปิดเส้นเลือดให้น้ำเกลือเพื่อลดโอกาสที่แมวจะเข้าสู่สภาวะช็อค ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากร่างกายมีอุณหภูมิสูง
แมวจะต้องได้รับการติดตามอาการจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง เมื่อลดลงแล้วจะต้องค่อย ๆ ลดการให้ความเย็น เพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่ายกายต่ำเกินไป การปล่อยให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานานละทำให้อวัยวะถูกทำลายและล้มเหลวตามมา โดยเฉพาะสมอง สัตวแพทย์จะให้แมวอยู่ดูอาการจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะคงที่ และจะทำการประเมินความเสียหายของอวัยวะภายในต่อไป
สาเหตุอื่น ๆ❗️
ความเครียด ความกระวนกระวาย หรือการออกกำลังกายมากเกินไปทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงได้ แมวที่มีใบหน้าสั้น (เช่น พันธุ์เปอร์เซีย) หรือแมวที่อ้วนจะทนต่อความร้อนได้ไม่ดีและมีโอกาสเกิดปัญหามากกว่า
การจัดการ🔥
ไม่จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม หากอุณหภูมิร่างกายคงที่แล้ว อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะพบความเสียหายของอวัยวะภายใน หากแมวไม่กลับมาเป็นปกติภายใน 2 - 3 วัน ควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปัญหา และควรปฎิบัติตามคำแนะนำหลังจากรักษาอย่างเคร่งครัด
การป้องกัน😷
ควรมีพื้นที่ที่เย็น มีร่ม และมีน้ำเพียงพอสำหรับแมวให้เข้าถึงได้เสมอ ไม่ควรปล่อยให้แมวถูกขังโดยไม่มีการดูแล หรือในที่ที่แมวไม่สามารถหนีความร้อนหรือแสงแดดได้ ควรให้แมวอยู่ในบ้านในวันที่อากาศร้อนจัด
อย่าไรก็ตามถ้าท่านรักแมวของท่าน ท่านต้องหาวิธีให้น้องแมวของท่านคลายร้อนด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้น้องแมวของเราอยูากับเราไปนานๆ ขอบคุณที่ตั้งใจอ่านนะครับ
By juicy frog
โฆษณา