21 เม.ย. 2019 เวลา 09:11 • ประวัติศาสตร์
พิธีตั้งเสาหลักเมือง!
21 เม.ย. // วันดวงเมือง!!
เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานเสาหลักเมืองนั้นมีอยู่มากมาย แต่น้อยคนที่จะรู้ถึงพิธีการตั้งเสาหลักเมืองที่แท้จริง
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_172786
การกระทำพิธีการตั้งเสาหลักเมืองนั้น
จัดอยู่ในหมวดหมู่สำคัญ
ของตำราพระโหราจารย์ทั้งฝ่ายพราหมณ์
และพุทธแต่กาลก่อนมา
ด้วยว่าสยามประเทศมีขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่ยึดถือในทางพระราชพิธีมาช้านาน
การกระทำพิธีที่มีความสำคัญกับดวงเมืองนั้น
จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกับสังคมไทยในสมัยโบราณ
ที่แยกเรื่องการบ้านการเมืองกับจิตศาสตร์
ออกจากกันไม่ได้
พิธีการตั้งเสาหลักเมืองมีขึ้นในวันอาทิตย์
ที่ 21 เม.ย. พ.ศ. 2325 เวลา 06.45 น.
การฝังเสาหลักเมืองนั้นมีตำราว่าด้วยพิธีรีตรอง
ที่เรียกว่า "พระตำราพระราชพิธีนครสถาน"
2
กำหนดให้ใช้ไม้ชัยพฤกษ์มาทำเป็นเสาหลักเมือง
และกำหนดให้ความสูงของเสาเมื่อโผล่พ้นดิน
อยู่ที่ 108 นิ้วส่วนที่อยู่ในดิน 79 นิ้ว
ชุมนุมมหายันต์ : พระครูใบฎีกาสิงหรักษ์
ภายในล้วงไว้เป็นช่องสำหรับ
บรรจุพระชันษาพระนคร
โดยดวงพระชันษาพระนครนี้ทำมาจากแผ่นโลหะ
จะเป็นแผ่นทองคำ นาค หรือเงินก็ได้
เอามาแผ่ให้ยาวด้านละ 12 นิ้วแล้วจารึกดวง
พระชันษาพระนครลงไป แล้วนำไปบรรจุภายในตัวเสา
จากนั้นให้มีการเอายันต์โสฬสมหามงคลมาปิด
ที่ต้นเสาและปลายเสาด้านละแผ่น
เมื่อใกล้เวลาพิธีจึงให้มีการขุดหลุม
ที่รอบหลุมนั้นจัดให้มีศาลเทวดาจตุโลกบาล
ประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ และให้มีศาลพระอินทร์ที่ตรงกลาง
ไม่ไกลจากบริเวณนั้นให้มีการตั้งศาลพิธีพราหมณ์
เพื่อเป็นผู้ดำเนินการ
โดยพราหมณ์เหล่านั้นจะมีการไปขุดดินจากทั้งสี่ทิศ
ของพระนครมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เท่าลูกนิมิต
กำหนดการประกอบพิธีมีกำหนดเอาไว้
เป็นเวลา 3 วันด้วยกัน
ในระหว่างนั้นจะมีการอันเชิญพระสงฆ์มาสวดพระปริตร
ทั้งสามวันเพื่อบรรจุพระคาถาไว้ในดวงเมือง
ชุมนุมมหายันต์ : พระครูใบฎีกาสิงหรักษ์
โดยมีคู่สวด 4 สำรับๆ ละ 5 องค์
สวดจตุภาณวาร 3 องค์
สวดนครถานปริตร 2 องค์
รวมเป็น 20 รูป โดยมีพระราชาคณะนั่งปรก 15 รูป
สิริรวมพระสงฆ์ทั้งหมด 35 รูป
ถึงเวลาประกอบพิธีให้มีการประโคมปี่พาทย์
ฆ้องชัยและแตรสังข์
แล้วพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีจะนำก้อนดินที่มีการมาปั้นเป็นลูกนิมิตมาลงยันต์ทั้ง 4 ก้อนมายืนสี่ทิศที่ปากหลุม
ครั้นได้เวลาพระฤกษ์
จึงให้โหรผู้ใหญ่ยืนแปรหน้าไปสู่บูรพาทิศ
แล้วร้องทักว่า
ท่านกำลังถือสิ่งใด
โหรผู้ประจำบูรพาทิศจะร้องตอบว่า
ข้าพเจ้าถือดินก้อนนี้ คือปฐวีธาตุสารวัฒนะ อาจจะยังสรรพธัญญาหารและพืชผลพฤกษาลดาชาติต่างๆ ให้ผลิตผลงอกงามบริเวณทั่วพื้นภูมิภาคในพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น
โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ทักษิณทิศ
แล้วร้องถามดังเดิม
โหรผู้ประจำทักษิณทิศจะร้องตอบว่า
ข้าพเจ้าถือดินก้อนนี้ คืออาโปธาตุมหาวัฒนะ อาจจะยังห่าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลเป็นอุปการะแก่สรรพธัญญาหาร และพืชผลลดาวัลย์ สรรพมัจฉาชาติให้บริบูรณ์ทั่วราชอาณาจักร
https://m.pantip.com/topic/34895513?
โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ปัจฉิมทิศ
โหรผู้ประจำปัจฉิมทิศจะร้องตอบว่า
ข้าพเจ้าถือดินก้อนนี้ คืออัคคีธาตุ
อาจจะยังเสนามาตย์จตุรงค์โยธาการทั้งปวงให้มีเดชานุภาพ ปราบอริราชไพรีให้ปราชัย
มิได้มาย่ำยีบีทาในบริเวณพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น
โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่อุดรทิศ
โหรผู้ประจำอุดรทิศจะร้องตอบว่า
ข้าพเจ้าถือดินก้อนนี้ คือวาโยธาตุอลังการ อาจจะยังพ่อค้าพาณิชในนานาประเทศ ให้นำมาซึ่งสำเภานานาบรรทุกสรรพวัตถุเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ มาเป็นของประดับพระนคร
เสร็จแล้วจึงโยนก้อนดินทั้งสี่ก้อนลงไปในก้นหลุม
ตามลำดับกัน
แล้วจึงมีการนำผ้ายันต์พระโสฬสมหามงคล
สำหรับรองหลักเสาหลักเมืองวางลงไปบนดินทั้ง 4 ก้อน
ชุมนุมมหายันต์ : พระครูใบฎีกาสิงหรักษ์
จึงค่อยเชิญเสาหลักเมืองวางลงไปในหลุม
แล้วกระทุ้งดินบริเวณนั้นให้แน่น
จึงให้ประโคมดุริยางค์ แตรสังข์ ฆ้องชัย
ยิงปืนใหญ่ทั้ง 4 ทิศ
แล้วจึงนำน้ำมาประโปรยทราย เอาผ้าแพรสีชมพู
ผูกห้อยทำขวัญเสาหลักเมือง
แล้วเจิมดินด้วยแป้งหอม น้ำมันหอม
ห้อยพวงดอกไม้อาราธนาเทพยดาให้เข้าสิงในหลัก
เพื่อบันดาลให้เกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลแก่พระนคร ปราศจากศัตรูหมู่อมิตรทุกประการเป็นอันเสร็จพิธี
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_2019416
อ้างอิง
โหราศาสตร์ในวรรณคดี : เทพย์ สาริกบุตร
คู่มือพระคณาจารย์ : รวมคาถาบทสวด
ตำราพรหมชาติ : ฉบับหลวง
เรียบเรียงใหม่โดย
//The Chariot
โฆษณา