21 เม.ย. 2019 เวลา 14:31 • การศึกษา
ฮิคิโคโมริ ชื่อโรคที่ฟังดูเท่แต่จริงๆแล้วมันโหดร้ายมากต่อชีวิตของคนญี่ปุ่นมากๆ
มันเป็นโรคขังตัวเองออกจากสังคมภายนอก กลัวคนกลัวเพื่อน กลัวสิ่งรอบข้างโดยที่โลกนี้เกิดขึ้นเฉพาะที่ญี่ปุ่นเท่านั้น!!
1
คนหนุ่มสาวจำนวนมากในญี่ปุ่น ตัดขาดตัวเองออกจากสังคมและเลือกที่จะขังตัวเองอยู่ในห้อง นี่เป็นอาการของโรคฮิคิโคโมริ ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
โรคฮิคิโคโมริ(Hikikomori)หมายถึงเด็กที่แยกตัวออกจากสังคม พวกเขาจะอ่านหนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดูทีวี หรืออาจจะนั่งเฉยๆในห้องส่วนตัว หรือในบ้านเป็นแรมเดือนหรือหลายปี และเกิดขึ้นในเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าญี่ปุ่นมีอะไรที่ชาติอื่นไม่มี
สำหรับ"ฮิเด" ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจไม่ไปโรงเรียน เขากล่าวว่า เขาเริ่มโทษตัวเอง และพ่อแม่ก็โทษเขาที่ไม่ยอมไปเรียนหนังสือ แรงกดันเริ่มก่อตัวขึ้น นีบจากนั้น เขาก็เริ่มกลัวการออกไปนอกบ้านและพบปะผู้คน และในที่สุดก็ไม่ออกจากบ้านอีกเลย เขาตัดขาดการสื่อสารกับเพื่อนฝูงและพ่อแม่ เพื่อไม่ให้เจอหน้ากัน เขาจะหลับในตอนกลางวัน และตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน อาจจะออกจากห้องไปที่ครัวในกลางดึก หรือออกจากบ้านกลางดึกเพื่อไปซื้อเสบียงจากร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมที่พวกเขาทำขณะตื่นกลางดึก ก็คือดูทีวีไปเรื่อยๆ ท่องไปในโลกไซเบอร์ เล่นเกม และอ่านการ์ตูน
1
ฮิเดะกล่าวว่า ภายในใจของเขาเต็มไปด้วยอารมณ์ในด้านลบ ความปรารถนาที่จะออกไปข้างนอก กวามโกรธเกรี้ยวต่อสังคมและพ่อแม่ ความเศร้าที่ต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้ ความกลัวต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และความริษยาต่อผู้คนที่มีชีวิตปกติ
ทามากิ ไซโตะ จิตแพทย์ กล่าวว่า สมัยที่เขาเป็นจิตแพทย์ใหม่ๆ เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว เริ่มมีพ่อแม่มาขอความช่วยเหลือ เนื่องจากลูกๆไม่ยอมไปโรงเรียน และหลบหน้าคนในบ้านนานหลายเดือนหรือเป็นปี เด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชนชั้นกลาง ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และมีอายุเฉลี่ย 15 ปี
1
หลายคนอาจมองว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมความขี้เกียจธรรมดาของเด็กวัยรุ่น แต่สำหรับไซโตะแล้ว นี่คือการแสดงออกต่อความหวาดกลัวสังคมอย่างรุนแรง และจิตใจเต็มไปด้วยความทรมาน แม้คนเหล่านี้จะอยากออกไปข้างนอก อยากไปเที่ยวกับเพื่อน อยากมีแฟน แต่ก็ทำไม่ได้ คนไข้หลายรายมีอาการที่ต่างกันไป ในบางรายมีพฤติกรรมรุนแรงสลับกับพฤติกรรมแบบเด็กๆ บางรายมีอาการหมกมุ่น วิตกจริต และภาวะซึมเศร้า
ในช่วงที่ไซโตะทำการวิจัยใหม่ๆนั้น โรคฮิคิโคโมริยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นอาการที่เกิดจากปัญหาทั่วไปอื่นๆ มากกว่าเป็นอาการที่เกิดจากรูปแบบของพฤติกรรมที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยเช่นนี้ราว 200,000 คน แต่ผลการสำรวจเมื่อปี 2010 ของสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น พบว่าตัวเลขสูงถึง 700,000 ราย ขณะที่ไซโตะคาดว่าอาจสูงกว่า 1 ล้านคน ขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ เพิ่มขึ้นจาก 21 ปี เป็น 32 ปี ในปัจจุบัน
แล้วทำไมพวกเขาจึง"ถอนตัว"ออกจากสังคม?
การที่เด็กผู้ชายปล่อยให้ห้องนอนรกรุงรังอาจเป็นผลมาจากการอกหักหรือผลการเรียนไม่ดีแต่การถอนตัวออกจากสังคมนั้น อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการบอบช้ำทางจิตใจอย่างรุนแรง และเมื่อประกอบกับแรงกดทางสังคม อาจทำให้พวกเขาไม่อยากไปไหนอีก
โดยแรงกดทางสังคมลำดับแรก เรียกว่า "sekentei" หรือการได้รับการยอมรับในสังคม และแรงกดดันที่ผู้ป่วยต้องการอยากทำให้ผู้อื่นประทับใจ และยิ่งผู้ป่วยโรคฮิคิโคโมริห่างจากสังคมนานเท่าใด พวกเขาก็ยิ่งรับรู้ความล้มเหลวทางสังคมมากขึ้นเท่านั้น คนเหล่านี้จะสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเองและวามมั่นใจที่มี และยิ่งทำให้การออกจากบ้านเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่นยิ่งขึ้น
ส่วนปัจจัยทางสังคมที่สองได้แก่ amae หรือการพึ่งพา ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวญี่ปุ่น ที่ผู้หญิงจะต้องอยู่กับพ่อแม่กระทั่งแต่งงาน และผู้ชายจะไม่ย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ แม้กว่าครึ่งของผู้ป่วยฮิกิโกโมริ มักแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อพ่อแม่ แต่ครอบครัวส่วนใหญ่ก็ไม่คิดจะไล่ลูกๆออกจากบ้านแต่อย่างใด แต่หลังจากที่ต้องดูแลลูกมานานหลายปี พ่อแม่เองก็คาดหวังให้ลูกๆรู้จักเคารพ และเติมเต็มหน้าที่ทางสังคมด้วยการออกไปทำงานนอกบ้าน
มัตสึ ป่วยเป็นโรคฮิคิโคโมริ หลังจากทะเลาะกับพ่อแม่เรื่องงานและคณะในมหาวิทยาลัย เขากล่าวว่า เดิมทีเขาเป็นคนที่ปกติมาก แต่พ่อแม่ผลักให้เขาไปในทางที่ไม่อยากเป็น พ่อของเขาเป็นศิลปินและมีธุรกิจเป็นของตนเอง และอยากให้เขาเป็นแบบนั้นบ้าง แต่เขากลับอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ในบริษัทใหญ่ๆ และเป็นมนุษย์เงินเดือน พ่อเขาจึงบอกว่าสังคมแบบนี้จะหายไปในอนาคต และไม่อยากให้เป็นมนุษย์เงินเดือน
มัตสึเป็นเหมือนผู้ป่วยโรคฮิคิโคโมริทั่วไป เขาเป็นลูกชายคนโต และต้องแบกรับความคาดหวังของพ่อแม่ไว้เต็มบ่า เขารู้สึกโกรธที่เห็นน้องชายได้ทำในสิ่งที่ต้องการ จากนั้นเขาก็เริ่มแสดงอารมณ์รุนแรง และแยกตัวจากพ่อแม่ในที่สุด
ยูริโกะ ซูซุกิ นักจิตวิทยาจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติกรุงโตเกียว กล่าวว่า จิตวิทยาแบบญี่ปุ่นถือเป็นการจัดกลุ่มเฉพาะ คนญี่ปุ่นไม่ต้องการทำตัวโดดเด่นจากกลุ่ม แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ พวกเขากลับต้องการการดูแลและเอาใจใส่แบบปัจเจกบุคคล
ในญี่ปุ่นจะมีคำว่า Freeter มาจากคำว่า Freebiter ซึ่งมาจากการรวมกันของคำว่า "freelance" และคำว่า"arbeiter"ในภาษาเยอรมัน หมายถึงบุคคลที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 34 ปี ที่ไม่ใช่แม่บ้าน และนักเรียนนักศึกษา ที่ทำงานที่ไม่ผูกพันระยะยาวกับองค์กรใด พวกเขาต้องการเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ไม่ต้องการทำงานสไตล์ดั้งเดิม คนเหล่านี้จะทำงานแบบพาร์ทไทม์ กับหลายองค์กร หรือทำงานอิสระ และยังหมายรวมถึงคนว่างงานที่พยายามหางานที่มีลักษณะแบบพาร์ทไทม์ ทำด้วย
 
ตั้งแต่ปี1990 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างยาวนาน จนจำนวน Freeter เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ภาพลักษณ์ของ Freeter ที่ติดมาจากยุคฟองสบู่ คือการเป็นคนรักอิสระ เป็นตัวของตัวเอง แสวงหาความพอใจจากการไม่ทำงาน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบที่บรรพบุรุษญี่ปุ่นทำกันมา สิ่งเหล่านี้มีนัยของการเป็นคนแปลกแยก (Non-Conformist) ที่เป็นลักษณะตรงข้ามของสังคมญี่ปุ่น
1
Neet นั้นย่อมาจาก Not in Education, Employment or Training หรือกลุ่มคนในวัยแรงงานที่ไม่อยู่ในระหว่างศึกษา ทำงาน และอบรมใดๆ Neet แพร่หลายมากในประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกับ Freeter เป็นกลุ่มคนที่มีอายุ 15-34 ปี ที่ยังไม่แต่งงาน ยังพึ่งพ่อแม่ในเรื่องที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
คำว่า Freeter Neet และ Hikikomori จึงอาจเป็นคำที่ใช้อธิบายคนรุ่นใหม่"ที่ไม่มีดีอะไร" ที่ถูกมองว่าเหลือบไรของสังคม ดังนั้นคนในรุ่นยุค 1960 และ 1970 ที่มีกรศึกษาดีและการงานมั่นคง จึงไม่สามารถเชื่อมโยงใดๆกับคนกลุ่มนี้ได้
พ่อแม่บางรายอาจจ้างบริษัทหรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเพื่อเข้าไปพูดคุย หรือกระทั่งนำตัวผู้ป่วยออกมาจากห้อง โดยคาซุฮิโกะ ไซโต ผู้อำนวยการแผนกจิตวิทยาโรงพยาบาลโกฮอนไดในจังหวัดชิบะ กล่าวว่า การจู่โจมในลักษณะเช่นนั้น แม้จากเจ้าหน้าที่ที่เป็นมืออาชีพ ก็อาจก่อให้เกิดหายนะได้ เขากล่าวว่าในหลายกรณี ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมรุนแรงใส่เจ้าหน้าที่หรือพ่อแม่ ต่อหน้าแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา หรือหลังจากที่ผู้ให้คำปรึกษาจากไปแล้ว เขากล่าวว่า ทุกครั้งเขาจะต้องแจ้งข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซึ่งผู้ป่วยเองก็ทราบดีว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาเยี่ยม
และในหลายกรณี การเข้าหาผู้ป่วยโดยไม่แสดงการกระทำใดๆก็ไม่ได้ผล ทามากิ ไซโตะ เปรียบเทียบว่าฮิคิโคโมริ เหมือนผู้ติดแอลกอฮอล์ ที่จะไม่มีวันหายขาด หากปราศจากเครือข่ายการสนับสนุน
การเข้าหาผู้ป่วยของเขาจะเริ่มต้นจากการรื้อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพ่อแม่ขึ้นมาใหม่และสร้างกลยุทธ์การสื่อสารให้แก่พ่อแม่และเมื่อผู้ป่วยอาการดีพอที่จะเดินทางมาพบแพทย์ได้ก็จะได้รับการรักษาด้วยยาและการบำบัด แม้การบำบัดแบบกลุ่มจะถือเป็นรูปแบบใหม่ของจิตวิทยาของญี่ปุ่น แต่การบำบัดด้วยตนเองก็จะกลายเป็นวิธีการหลักในการนำผู้ป่วยฮิกิโกโมริเข้าสู่สังคมได้
สำหรับทั้งฮิเดะและมัตสึเส้นทางการรักษาของทั้งคู่ได้รับความช่วยเหลือจากการเดินทางไปยังองค์กรการกุศลเพื่อเยาวชนในกรุงโตเกียวที่เรียกว่า "ibasho" ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการนำผู้ป่วยเข้าสู่สังคม หลังการรักษา มัตสึ ถูกเรียกสัมภาษณ์งานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์อย่างที่ต้องการ และฮิเดะได้ทำงานพาร์ทไทม์ เขาคิดว่าการเริ่มพูดคุยกับพ่อแม่อีกครั้ง ทำให้ทั้งครอบครัวสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้
Hikikomori
โฆษณา