2 พ.ค. 2019 เวลา 23:51 • ธุรกิจ
ถ้าเราสามารถยกชาติใดก็ได้เป็นต้นแบบในการพัฒนาประเทศไทย คุณผู้อ่านแต่ละท่านอยากใช้ประเทศใดเป็นต้นแบบกันครับ?.......
ก่อนอ่านบทความนี้ ผมอยากเคลียร์คำว่า
“ต้นแบบในการพัฒนา” ก่อน
เราจะได้เข้าใจตรงกันและอ่านบทความนี้ได้สนุกมากขึ้น
ต้นแบบในการพัฒนาในที่นี้ #พูนศักดิ์ ไม่ได้หมายความว่าเรานำแนวทางนั้นๆมาใช้กับบ้านเราได้เลยนะครับ
แต่การศึกษาแนวทางพัฒนาของประเทศอื่นๆ
เป็นการหาแนวทางในการจัดการเรื่องต่างๆในประเทศนั้นๆและนำมาปรับใช้กับประเทศตัวเองได้อย่างเหมาะสมครับ
ไม่มีประเทศไหนหรอกครับที่กำเนิดเป็นชาติและเป็นประเทศพัฒนาแล้วทันที ก่อนจะพัฒนาทุกประเทศต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆเช่นกัน
แต่เราก็อาจเห็นว่ามีประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่ผู้นำอ้างว่าประเทศตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่เหมือนใคร ต้องใช้การแก้ปัญหาเฉพาะตัว
ทั้งๆที่ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่ชาติพัฒนาแล้วหลายๆชาติได้เผชิญมาก่อนหน้านี้และมีแนวทางการแก้ไขไปในแนวทางเดียวกันซะด้วย
ลองมามองในมุมภาคเอกชนกันบ้างนะครับ
ขอยกตัวอย่าง แอร์เอเชีย(AAV) กับการบินไทย(THAI)
เทียบกันเฉพาะตลาดไทยนะครับ
แอร์เอเชียมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มาเลเซีย
ซึ่งแนวทางทิศทางการดำเนินงาน และระบบการทำงานหลักๆถูกกำหนดจากที่นั่น
สำนักงานแอร์เอเชียในไทยนำทั้งหมดมาปรับใช้ ให้เหมาะกับพื้นที่ ทั้งการจัดการและการตลาด
ผลลัพธ์คือบริษัทได้กำไรแทบทุกปี
ในตลาดที่มีคนบอกว่าไม่เหมือนใคร
แตกต่างกับการบินไทย
ที่บริหารโดยคนไทยแต่กลับขาดทุนแทบจะทุกปี
ไม่ว่าจะเป็นปีที่เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี และที่น่าตกใจคือบรรดาบรรษัทข้ามชาติในไทยกลับพากันตบเท้ามาทำกำไรในตลาดนี้
ในขณะที่บริษัทที่ใช้ระบบบริหารของคนไทย กลับเป็นรองในเกือบทุกอุตสาหกรรมยกเว้นอุตสาหกรรมที่รัฐสงวนไว้ให้เช่น สถาบันการเงิน เป็นต้น
ถ้าอ่านมาถึงจุดนี้หลายท่านอาจจะสงสัยว่าจริงๆแล้ว เราก็เคยลองเอาระบบบริหารจากหลายๆประเทศมาปรับใช้แล้ว
ซึ่งหากลองย้อนดูอดีต เราเคยใช้ระบบการปกครองจากประเทศในโลกเสรีที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันและอเมริกา เป็นต้นแบบในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาบางท่านอาจจะเสนอว่าควรใช้ต้นแบบจากกลุ่มประเทศในเอเชียด้วยกันอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี หรืออินเดียเพราะวัฒนธรรมมีส่วนคล้ายกัน และหลังจากจีนเปิดประเทศได้ไม่นาน บางท่านก็เสนอว่าควรใช้จีนเป็นต้นแบบเพราะอาจเหมาะกับไทยมากกว่า
หลายแนวคิดถูกนำมาปรับใช้ ในการบริหารประเทศจริงครับ แต่มีส่วนหนึ่งที่พูนศักดิ์กลับเห็นว่าภาครัฐแทบจะไม่มีผลงานที่ยั่งยืนในส่วนนี้เลย
นั่นก็คือ “ภาคสังคม”
เพราะหลายๆนโยบายของเราออกมาอย่างฉาบฉวย
จริงอยู่ครับ เรามีสนามกีฬาในชุมชม ห้องสมุดประชาชน นักพัฒนาชุมชนประทุกเขตทั่วกรุงเทพ ในต่างจังหวัดเรามีกองทุนหมู่บ้าน
แต่สิ่งที่ผมกำลังตั้งคำถามในวันนี้คือผลผลิต (Productivity) ที่สังคมได้รับ ตัวอย่างเช่น สนามกีฬาชุมชน สมาคมกีฬาใดได้ประโยชน์จากการมีอยู่ของสนามกีฬาชุมชนบ้าง
อัตราการป่วยของคนในชุมชนลดลงไหมเมื่อมีสนามกีฬา หรือแม้กระทั่งตัวเลขผู้เสพ และผู้ค้ายาเสพติดในชุมชนนั้นๆลดลงหรือไม่ เพราะผมมักจะเห็น VTR ต่างๆ มักจะชอบบอกว่าเมื่อมีสนามกีฬา ปัญหายาเสพติดจะน้อยลง?
แต่หากเราลองไปดูในชุมชนจริงๆ
สนามกีฬากลับมีการจัดการน้อยมากบางที่ปล่อยรกร้างด้วยซ้ำ
อ่าแล้วส่วนนี้ ควรเป็นหน้าที่ของใคร ภาครัฐควรดูแล หรือภาคประชาชนควรช่วยกันรักษา หรือสมาคมกีฬาควรเข้ามาช่วยสนับสนุน วันนี้เราลองมาดูการจัดการดีๆในแบบเดนมาร์คกันดีกว่าครับ
“เดนมาร์ค” เป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาในหลายๆมิติเช่น เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และที่สำคัญระบบการปกครองของเดนมาร์คก็ใช้ระบบการปกครองแบบ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คล้ายกับเมืองไทย
โดยเดนมาร์คเป็นประเทศเล็กๆในยุโรปเหนือ
หรือที่เรามักจะเรียกกันว่าสแกนดิเนเวีย
หากเราจะเทียบให้เห็นภาพ
ขนาดของเดนมาร์คทั้งประเทศจะใกล้เคียงกับภาคตะวันตกของไทยเท่านั้นเอง
แม้จะมีทรัพยากรณ์ในประเทศไม่มาก
แต่ GDP เฉลี่ยต่อหัว ของคนเดนมาร์คกลับสูงเป็นอันดับต้นๆในยุโรปเลย
ไม่เพียงเท่านั้นเดนมาร์คยังเป็นประเทศที่มี สมดุลชีวิต ดีที่สุดในยุโรปจากการสำรวจของ Totally Money
โดยทำงานเพียงวันละ 6.6 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 32.9 ชั่วโมงเท่านั้น โดยเงินเดือนเฉลี่ยของคนเดนมาร์คอยู่ที่ เดือนละ 3,270 ยูโรหรือราวๆ 120,000 บาทเท่านั้นเอง
 
แน่นอนครับ เมื่อประชากรส่วนใหญ่มีรายได้สูง
(แม้ว่าค่าครองชีพจะสูงเช่นกัน
ประกอบกับคนมีเวลาดูแลกันมากขึ้นจึงไม่แปลกครับที่เดนมาร์คจะมีอันดับการเกิดอาชญกรรมต่ำที่สุงเป็นอันดับ 5 (1. สิงคโปร์ 2.ลักเซมเบริก 3. ญี่ปุ่น)
ซึ่งต้องบอกว่าจริงๆแล้วเดนมาร์คก็เป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มก่อการร้ายสากลอย่าง อัลไคด้า
แต่จนถึงปัจจุบันเดนมาร์คก็ยังไม่มีเหตุวินาศภัยแต่อย่างใด ซึ่งต้องยกเครดิตส่วนนี้ให้กับหน่วยข่าวกรองของทางเดนมาร์คเอง
1
ดังนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่ โคเปเฮเก้น จะเป็นเมืองหลวงที่มีดรรชนีความสุขเป็นอันดับต้นๆของโลก
ทีนี้เราลองมาการพัฒนาสังคมของเดนมาร์คบ้าง
ถ้าเรามองดูโครงสร้างเบื้องต้น
จะพบว่าเดนมาร์คได้มีการกระจายความรับผิดชอบออกไปจากรัฐบาลกลางไปสู่สภาชุมชน โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 5 ภูมิภาค 98 ชุมชน
ซึ่งแต่ละชุมชนจะเลือกตัวแทนที่จะบริหารสภาชุมชน จากคนที่รัฐบาลกลางส่งมาให้ทุกๆ 4 ปี
โดยสภาชุมชนมีบทบาทในการ กำหนดสวัสดิการในชุมชน บริหารงานของชุมชน และจัดเก็บภาษีชุมชนโดยสามารถกำหนดอัตราภาษีในท้องถิ่นตั้งแต่ 28%- 23% (2011)
โดยอัตราภาษีที่แตกต่างกันแต่ละชุมชนก็จะได้รับการบริการที่แตกต่างกันตามภาษีที่จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ใช้กับ บริการสาธารณะส่วนใหญ่คิดเป็น 60% ของGDP ทั้งหมด
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปกับ บริการสาธารณะสุข ตลาดแรงงาน และงานบริการชุมชน
โดยงานบริการชุมชนเพียงอย่างเดียวก็จัดไป 17.5% ของ GDP ทั้งหมด
โดยแรงงานของเดนมาร์ค 30% เป็นข้าราชการ
โดยที่ข้าราชการ 75% ทำงานอยู่ในสภาชุมชนและสภาภูมิภาค
โดยรายจ่ายหลักๆของงานบริการชุมชนจะอยู่ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กอ่อน, บ้านพักสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ สวัสดิการเงินได้ผู้สูงอายุ เงินได้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ สวัสดิการสำหรับเด็ก สวัสดิการพักฟื้น และสวัสดิการการศึกษา
จะเห็นได้ว่าเดนมาร์คใช้ทรัพยากรทั้งเงินและมนุษย์เพื่อ ดูแลและพัฒนาคนในชาติอย่างจริงจัง โดยมีการนโยบายเพื่อเด็กและครอบครัวอีกด้วย โดยชุมชนจะช่วยวางแนวทางเพื่อให้แต่ละครอบครัว มีชีวิตครอบครัวที่ดี
อย่างที่พูนศักดิ์กล่าวไปข้างต้นนะครับ
ว่ารายจ่ายรัฐส่วนใหญ่ใช้ไปกับงานบริการชุมชน
ซึ่งศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อนนั้นรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่ 0-2 ขวบ
โดยที่ศูนย์นี้ไม่ได้รับเลี้ยงเด็กอย่างเดียว แต่จะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านพัฒนาการคอยช่วยดูแลเด็กๆในชุมชนให้เติบโตได้อย่างเหมาะสม
โดยจะมีทั้งการเล่นควบคู่กับการเรียนรู้ตามแผนกิจกรรมของเด็กๆในแต่ละห้อง ซึ่งจะถูกออกแบบจากการพิจารณา และสังเกตุพฤติกรรมของเด็กๆ
โดยผู้ผู้ดูแลจะวางแผนส่วนนี้ร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กๆพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับอนุบาลต่อไปครับ
การวางแผนบริการการเพื่อสังคมของเดนมาร์คนอกจากจะวางแผนเพื่อเด็กแล้วยังต่อเนื่องไปยังวัยรุ่น ครอบคลุมไปถึงผู้พิการ การบำบัดผู้ติดยา ผู้ป่วยทางจิต ฟื้นฟูคนไร้บ้าน การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุ บริการที่ปรึกษาทางการเงิน และหน่วยงานที่ดูแลคนในชุมชนด้านต่างๆ
เมื่อรัฐดูแลประชาชน มีกลไกที่พัฒนาชุมชนอย่างสม่ำเสมอและแข็งแกร่งจึงไม่แปลกครับที่เราจะเห็นคนเดนมาร์คทำงานน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง และมีรายได้เฉลี่ยสูง
ส่งผลให้รัฐสามารถเก็บภาษีในอัตราสูงได้เช่นกัน
ผลประโยชน์ก็กลับมาต่างตอบแทนกันอย่างยั่งยืน
แตกต่างกับรัฐที่มุ่งเน้นการใช้งบประมาณไปในเรื่องของความมั่นคง
ผลประโยชน์อาจตกลงกับคนบางกลุ่มในระยะสั้น ประชาชนถูกทอดทิ้ง ดูแลกันเองตามบุญตามกรรม
ถ้าคุณอยากรู้ว่าสังคมแบบนั้นจะเดินต่อไปทางไหน ลองเปิดหน้า New Feed ของท่านดูสิครับ
ด้วยรัก
#พูนศักดิ์(Dark)
แหล่งข้อมูล
โฆษณา