1 พ.ค. 2019 เวลา 02:54 • ประวัติศาสตร์
"May Day วันกรรมกรสากล"
นับตั้งแตการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 เปนตนมา การผลิตในระบบอุตสาหกรรมสมัยใหมมีสภาพเปรียบเสมือน "โรงสีปศาจ" ชนชั้นแรงงานถูกขูดรีดอยางหนักเพื่อการสั่งสมทุนในระบบทุนนิยม
คนงานตองทํางานหนักถึงวันละ 16-18 ชั่วโมง โดยไมมีวันหยุด ไมมีมาตรฐานความปลอดภัยหรือสวัสดิการใด ๆ ทั้งสิ้นความเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเพื่อปลดแอกตัวเองเกิดขึ้นเปนระยะ ๆ นับครั้งไมถวน การตอสูเรียกรองใหลดชั่วโมงทํางานปะทุขึ้นทั้งในยุโรป ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุนออสเตรเลียและนิวซีแลนด ใน ค.ศ. 1840 ที่อาณานิคมเวลลิงตันในนิวซีแลนด
ชางไมชื่อ ซามูเอล พารเนลลยืนกรานไมยอมทํางานมากกวาวันละ 8 ชั่วโมง พารเนลลเรียกรองใหชางฝมือคนอื่น ๆ สนับสนุนเวลาทํางานแปดชั่วโมงนี้
และในเดือนตุลาคมของปนั้น การประชุมของแรงงานในอาณานิคมเวลลิงตันก็ลงมติสนับสนุนแนวคิดดังกลาว
ใน ค.ศ. 1872 ที่ประเทศแคนาดา ชางพิมพคนหนึ่งในเมืองโตรอนโตลุกขึ้นเรียกรองเวลาทํางาน 54ชั่วโมงตอสัปดาห ในสมัยนั้น ความเคลื่อนไหวของแรงงานเปนสิ่งที่ผิดกฎหมาย
กระนั้นก็ไมทําใหกรรมกรกวา10,000 คน ออกมาเดินขบวนประทวง จนกดดันใหเซอรจอหน แมคโดนัลด นายกรัฐมนตรีของแคนาดาในสมัยนั้น ตองยอมยกเลิกกฎหมายตอตานสหภาพแรงงานในที่สุด
ชวง ค.ศ. 1882 มีการนัดหยุดงานของคนงานรถไฟในกรุงโตเกียว คนงานไรในประเทศรัสเซีย และคนงานเหมืองแรในประเทศฝรั่งเศส ตลอดชวง ค.ศ. 1884-1886 มีการนัดหยุดงานในสหรัฐอเมริกาหลายพันครั้ง
และมีคนงานเขารวมชุมนุมเดินขบวนนับแสนคน ถึงแมจะตองเผชิญการปราบปรามอยางรุนแรงจากรัฐและฝายนายทุน แตขบวนการกรรมกรก็มิไดยอทอ
จุดกําเนิดวันกรรมกรสากล
เหตุการณที่กลายเปนแรงบันดาลใจและตนกําเนิดของวันกรรมกรสากลก็คือเหตุการณที่เรียกกันวา "การจลาจลที่เฮยมารเก็ต" เหตุการณ์ครั้งนี้สืบเนื่องมาจากสหพันธแรงงานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดากําหนดใหวันที่ 1พฤษภาคม ค.ศ. 1886 เปนวันนัดหยุดงานครั้งใหญ และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกรอง "ระบบสามแปด" คือทํางาน 8 ชั่วโมง พักผอน 8ชั่วโมง และศึกษาหาความรู8 ชั่วโมง
การเดินขบวนของแรงงานเกิดขึ้นทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา ประมาณกันวามีผูออกมาชุมนุมประทวงราว 10,000 คน ในนิวยอรก 11,000 คนในดีทรอยต อีก 10,000 คนในเมืองมิลวอกี รัฐวิสคอนซิน แตศูนยกลาง
การประทวงที่ใหญที่สุดอยูที่เมืองชิคาโก ซึ่งมีกรรมกรออกมาประทวงถึง 40,000 คน และมีกรรมกรโรงงานแปรรูปไมอีก 10,000 คนที่จัดเดินขบวนตางหาก การชุมนุมประทวงครั้งนี้นาจะมีแรงงานชาวอเมริกันเขารวมรวมทั้งหมด 300,000 - 500,000 คน
การประทวงยืดเยื้อมาอีกสองสามวัน วันที่ 3 พฤษภาคม มีการปะทะระหวางเจาหนาที่ตรวจชิคาโกกับขบวนการแรงงาน ทําใหกรรมกรเสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บอีกหลายราย กลุมผูนําแรงงานแนวอนาธิปไตยนัดชุมนุมในวันถัดมาที่จัตุรัสเฮยมารเก็ต ซึ่งในสมัยนั้นเปนศูนยกลางการคาสําคัญของชิคาโก การชุมนุมที่เริ่มขึ้นทามกลางสายฝนปรอย ๆ
ในวันที่ 4 พฤษภาคมดําเนินไปอยางสงบ โดยมีเจาหนาที่ตํารวจวางกําลังไวเปนจํานวนมาก ขณะที่ผูปราศรัยคนสุดทายกําลังกลาวปดการชุมนุมในเวลาราวสี่ทุมครึ่ง ตํารวจก็สั่งใหผูชุมนุมสลายตัว แตทันใดนั้นเอง โดยไมมีใครคาดคิด มีคนโยนระเบิดลูกหนึ่งใสแถวของเจาหนาที่ตํารวจ ทําใหตํารวจนายหนึ่งเสียชีวิตทันที ตํารวจจึงเปดฉากยิง มีคนงานยิงตอบโตบาง เหตุจลาจลครั้งนี้กินเวลานอยกวาหานาทีดวยซ้ํา ถึงแมมีเจาหนาที่ตํารวจหลายนายไดรับบาดเจ็บจากระเบิด แตตํารวจอีกหลายคนที่เสียชีวิตนั้นเปนเพราะการยิงกันเองในหมูตํารวจดวยความผิดพลาดเนื่องจากความมืด การจลาจลครั้งนี้ทําใหตํารวจ 7 นายและกรรมกร 4 รายเสียชีวิต กรรมกรที่บาดเจ็บมีเปนจํานวนมาก แตไมมีตัวเลขแนนอน จํานวนผูเสียชีวิตที่แทจริงของฝายกรรมกรอาจสูงกวานี้ก็เปนได
ลวงมาถึง ค.ศ. 1889 ในการประชุมสมัชชาสังคมนิยมของสภาสากลที่สอง ซึ่งมีตัวแทนจากประเทศตางๆ เขารวมประชุมถึง 20 ประเทศ มีมติใหชุมนุมเดินขบวนเรียกรองเพื่อใหมีการลดชั่วโมงทํางานลงอีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1890และเพื่อเปนการรําลึกถึงเหตุจลาจลที่เฮยมารเก็ต การเดินขบวนครั้งนี้ประสบ
ความสําเร็จอยางยิ่ง จนทําใหชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกพรอมใจกันกําหนดใหวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปเปน "วันกรรมกรสากล"
การแทรกแซงของภาครัฐ
วันกรรมกรสากลจึงกลายเปนวันแสดงพลังของชนชั้นแรงงานทั่วโลก เปนวันนัดพบของทั้งนักสังคมนิยม คอมมิวนิสตและอนาธิปไตย การเดินขบวนของกรรมกรมีการปะทะกับฝายรัฐหลายครั้งในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิเชน ในกรุงเบอรลิน ประเทศเยอรมนีค.ศ. 1929 ขบวนของกรรมกรถูกตํารวจบุกเขาปราบปราม จนมีผูรวมชุมนุมและคนนอกถูกลูกหลงเสียชีวิตถึง 32 ราย และมีอีกอยางนอย 80 รายที่บาดเจ็บสาหัส ตํารวจเมืองเบอรลินยิงกระสุนออกไป ถึง 11,000 นัด
โศกนาฏกรรมครั้งนี้มีชื่อเรียกขานวา Blutmai หรือ "พฤษภาเลือด"
การสําแดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพทําใหภาครัฐหวาดหวั่น ดวยเหตุนี้ รัฐในหลาย ๆ ประเทศจึง
พยายามเขามาแทรกแซงความหมายของวันกรรมกรสากล อาทิเชน ในสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่ประเทศนี้เปนตนกําเนิดของวันกรรมกรสากล แต"วันกรรมกร" อยางเปนทางการของสหรัฐฯ กลับกําหนดไวที่วันจันทรแรกของเดือนกันยายน การกําหนด "วันกรรมกร"เชนนี้เปนการรวมมือกันของสหภาพแรงงานที่เขาขางรัฐกับประธานาธิบดีโกรเวอรคลีฟแลนด ถึงแมจะถูกสหภาพแรงงานและกรรมกรอเมริกันจํานวนมากคัดคานก็ตาม อยางไรก็ดี ใน ค.ศ. 2006 แรงงานอพยพจากละตินอเมริกาเลือกวันที่ 1 พฤษภาคมเปนวันนัดหยุดงานประทวงครั้งใหญ เพื่อสําแดงใหรัฐบาลสหรัฐฯ รับรูถึงความสําคัญของแรงงานอพยพ
วันกรรมกรสากลในประเทศไทย
ในประเทศไทย มีการจัดงานวันกรรมกรสากลอยางเปดเผยครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ที่สนามหนาสํานักงานสมาคมไตรจักร(สามลอ) พระราชวังอุทยานสราญรมยจัดโดยสมาคมกรรมกรสงเคราะหกรุงเทพรวมกับสมาคมไตรจักร มีผูเขารวมประมาณ 3 พันคน
ปตอมา การชุมนุมวันกรรมกรสากล พ.ศ. 2490 มีขึ้นที่ทองสนามหลวง ภายใตคําขวัญ "กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน" ถือเปนการแสดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพไทยครั้งใหญที่สุด เพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสหพันธกรรมกรระดับชาติแหงแรกใน ประเทศไทย คือ "สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแหงประเทศไทย" วันกรรมกรสากลปนั้นมีผูเขารวมกวาแสนคน
แตแลวเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็เกิดการรัฐประหารยึดอํานาจ รัฐบาลเผด็จการไดหามจัดงานวันกรรมกรสากลอีก
กระทั่งในปพ.ศ. 2499 กรรมกรในประเทศไทยรวมตัวกันเปน "กรรมกร 16 หนวย" มีเปาหมาย
เคลื่อนไหวใหรัฐบาลเรงออกกฎหมายรับรองสิทธิดานตาง ๆ รวมทั้งเรียกรองใหรัฐบาลถือเอาวันกรรมการสากลเปนวันกรรมกรแหงประเทศไทย ใหกรรมกรเฉลิมฉลองในวันนี้ไดรวมทั้งใหกรรมกรทั่วประเทศหยุดงานโดยไมถูกตัดคาแรง
แตผลการเจรจาตอรองกับรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทําใหกรรมกรจําตองยอมรับเงื่อนไขใหเปลี่ยนชื่อจาก "วันกรรมกรสากล" เปน "วันแรงงานแหงชาติ"
จากจุดเริ่มต้นในครั้งนั้น ทําใหวันกรรมกรสากลของไทยถูกแทรกแซงจากรัฐบาลมาโดยตลอด
จนกระทั่งปจจุบัน เนื้อหา และรูปแบบของการจัดงานมักถูกควบคุมโดยรัฐบาลและบริษัทเอกชนที่เปนผูใหการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งเนนไปในเรื่องกิจกรรมบันเทิงสนุกสนาน ไมมีการสะทอนปญหาและวัฒนธรรมของผูใชแรงงาน
การยื่นขอเรียกรองตอรัฐบาลในวันที่ 1พฤษภาคม ก็ไมไดมีการเคลื่อนไหวติดตตามอยางจริงจัง ทําใหขอเรียกรองของผูใชแรงงานกลายเปนเพียงพิธีการประกอบเทานั้น อีกทั้งในบางปยังใหนายกรัฐมนตรีมาเปนประธานในพิธีเปดงานเพื่อใหโอวาทอบรมดวย
กาวใหพนประเด็นคาแรงและชั่วโมงการทํางาน
ผูไดรับอานิสงสจากการตอสูของชนชั้นกรรมาชีพ สวนใหญกลับเปนมนุษยเงินเดือนชนชั้นกลางทั้งหลาย
ไมวาชั่วโมงการทํางาน 8 ชั่วโมง สวัสดิการตาง ๆ ทั้งที่ไดจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งศักดิ์ศรีของการเปน "คนทํางาน" ลวนแลวแตเปนผลพวงมาจากการตอสูอยางอดทนของแรงงานทั้งสิ้น
ทวาชนชั้นแรงงานเองกลับไมไดรับผลประโยชนอยางเต็มเม็ดเต็มหนวย ยิ่งในยุคปจจุบันที่ระบบทุนนิยมขับเคลื่อนดวยแรงงานเหมาชวงและแรงงานนอกระบบ ชนชั้นแรงงานก็ยิ่งตกเปนฝายเสียเปรียบมากขึ้นทุกที
กระนั้นก็ตาม ชนชั้นแรงงานในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกยังคงเคลื่อนไหวอยางเขมแข็ง รวมทั้งสรางสรรคแนวทางใหมๆ ที่จะขามพนการเปนเพียงผูรองขอเศษเดนจากระบบทุนนิยม โดยเฉพาะในละตินอเมริกา ในอารเจนตินา มีสถานประกอบการหลายแหงที่แรงงานเขากอบกู ดวยการผลิต บริหารและขายเอง โดยไมตองมีชนชั้นผูจัดการ ทั้งยังประสบความสําเร็จอยางดีดวย
ในอีกหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในเวเนซุเอลา เรามักไดเห็นขบวนพาเหรดของชนชั้นแรงงานในวันกรรมกรสากลถือปายผาที่มีขอความวา "หากปราศจากการรวมบริหารงาน ก็ไมมีการปฏิวัติ" หรือ "การรวมบริหารงานคือการปฏิวัติ"
การรวมบริหารงาน หรือในภาษาสเปนเรียกวา autogestion หมายถึงการที่แรงงานมีสิทธิ์ตัดสินใจในการบริหารสถานประกอบการ มิใชปลอยใหเจาของทุนหรือชนชั้นผูจัดการตัดสินใจเพียงฝายเดียว
หากแรงงานสามารถเขามารวมบริหารงานในสถานประกอบการได เปาหมายของการผลิตก็จะเปลี่ยนไปจากการผลิตเพื่อทํากําไรสูงสุด มาเปนเปาหมายของการผลิตเพื่อรับใชชุมชนและสังคม
เปาหมายที่กํากับการผลิตควรกําหนดขึ้นมาดวยกระบวนการประชาธิปไตย ทั้งในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อใหการผลิตนั้นตอบสนองความตองการของชุมชนอยางแทจริง
เปาหมายนี้จะบรรลุไดก็ดวยการเปดโอกาสใหชนชั้นแรงงานมีสิทธิ์ในการรวมบริหารงานเทานั้นดวยสมองและสองมือ
ชนชั้นแรงงานไมจําเปนตองพิชิตโลก แคสรางโลกใบใหมที่มีเปาหมาย ใหมนุษยทุกคนมีโอกาสพัฒนาเปนมนุษยเต็มคนเทานี้ก็เพียงพอแลว
โฆษณา