องค์การนาซาจึงส่งดาวเทียม WMAP ตามไปในปี 2001 เพื่อศึกษา CMB ให้ละเอียดยิ่งขึ้น และในปี 2009 องค์การอวกาศยุโรป(ESA)ได้ส่งยานอวกาศพลังค์ (Planck spacecraft) ขึ้นสู่อวกาศจนสามารถข้อมูล CMB ที่ละเอียดที่สุดได้
คณะกรรมการรางวัลโนเบลจึงมองรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 2006 ให้กับ จอร์จ สมูท ที่ 3 ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกการตรวจจับ CMB ซึ่งทำให้ฟิสิกส์เข้าสู่ยุคเอกภพวิทยาอย่างเต็มตัว เพราะนักฟิสิกส์รู้แนวทางการตรวจวัดปริมาณต่างๆของ CMB ได้อย่างละเอียด